สัมปยุตตธรรม และวิปปยุตตธรรม

 
Vijit
วันที่  2 เม.ย. 2550
หมายเลข  3276
อ่าน  15,068

สัมปยุตตธรรม และวิปปยุตตธรรม ต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 เม.ย. 2550

สัมปยุตต์ แปลว่า ประกอบพร้อม หมายเอาเฉพาะนามธรรมที่เป็นสภาพรู้เท่านั้น ลักษณะสัมปยุตต์ มี ๔ คือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เกิดวัตถุเดียวกัน

วิปปยุตต์ แปลว่า ไม่ประกอบทั่ว อธิบายว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่ดับพร้อมกัน ไม่รู้อารมณ์เดียวกัน ได้แก่ นามและรูปที่ไม่ปะปนกัน บางนัยหมายถึง วิปปยุตต์โดยความไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 4 เม.ย. 2550

สัมปยุตต์ หมายถึง ประกอบพร้อม เช่น จิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียว กัน เป็นต้น

วิปปยุตต์ หมายถึง ไม่ประกอบ เข้ากันไม่ได้ เช่น จิตตชรูป รูปที่เกิดจากจิต (รูป นาม เข้ากันไม่ได้)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 4 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 3 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sea
วันที่ 28 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
กัญญารัตน์
วันที่ 12 ก.ค. 2565

รบกวนยกตัวอย่าง สัมปยุตต์ ที่มีลักษณะ เกิดวัตถุเดียวกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ส.ค. 2565

สัมปยุต​ต​ธรรม​​เป็น​ลักษณะ​ของ​นามธรรม คือ จิต​และ​เจตสิก​ที่​เกิด​ดับ​ร่วม​กัน​และ​รู้​อารมณ์​เดียวกัน สภาพธรรมที่เป็นสัมปยุตตธรรมนั้นต้องเป็นสภาพธรรมที่ร่วมกันสนิทโดยเป็นนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ที่เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ดับพร้อมกัน และเกิดดับที่เดียวกัน คือ เกิดดับที่รูป (วัตถุ) ตามประเภทของจิตนั้นๆ

สัมปยุตต์

สํ (พร้อม) + ป (ทั่ว) + ยุตฺต (ประกอบ)

ประกอบทั่วพร้อม หมายถึง การประกอบร่วมกันของนามธรรมกับนามธรรม ซึ่งสามารถกลมกลืนเข้ากันได้สนิท ได้แก่ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ซึ่งจะมีสัมปยุตตลักษณะ ๔ อย่างคือ

๑. เอกุปปาทะ เกิดพร้อมกัน

๒. เอกนิโรธะ ดับพร้อมกัน

๓. เอกาลัมพณะ มีอารมณ์เดียวกัน

๔. เอกวัตถุกะ เกิดที่เดียวกัน (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จึงอาศัยวัตถุเป็นที่เกิด)


จิตทุกขณะ และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จะต้องเกิดที่รูป (วัตถุ) ตามประเภทของจิตนั้นๆ คือ

จักขุวิญญาณ ทำกิจเห็น เกิดที่จักขุปสาทรูป (จักขุวัตถุ)

โสตวิญญาณ ทำกิจได้ยิน เกิดที่โสตปสาทรูป (โสตวัตถุ)

ฆานวิญญาณ ทำกิจได้กลิ่น เกิดที่ฆานปสาทรูป (ฆานวัตถุ)

ชิวหาวิญญาณ ทำกิจลิ้มรส เกิดที่ชิวหาปสาทรูป (ชิวหาวัตถุ)

กายวิญญาณ ทำกิจรู้โผฏฐัพพะ (ธาตุดิน ไฟ ลม) เกิดที่กายปสาทรูป (กายวัตถุ)

จิตอื่นๆ นอกจากนี้เกิดที่หทยรูป (หทยวัตถุ)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ