ปัญญาขั้นสมถะและปัญญาขั้นวิปัสสนา

 
thilda
วันที่  27 ก.ค. 2560
หมายเลข  29037
อ่าน  1,994

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน ขอทราบความละเอียดเกี่ยวกับปัญญาขั้นสมถะและปัญญาขั้นวิปัสสนา และอีกคำถามหนึ่งคือปัญญาจากการฟังธรรมแล้วเข้าใจเป็นปัญญาขั้นสมถะหรือวิปัสสนาคะ เนื่องจากการฟังธรรมทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอนัตตา ซึ่งเป็นการเจริญอบรมปัญญาที่เป็นวิปัสสนา แต่ก็ยังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมถะ หมายถึง สภาพธรรมที่สงบ คือ สงบจากกิเลส แต่ ในชีวิตประจำวัน การสงบจากกิเลส เพียงชั่วขณะ เพราะฉะนั้น การทำให้ ความสงบจากกิเลส มีมากขึ้น เจริญมากขึ้น การเจริญมากขึ้น เรียกว่า ภาวนา เพราะฉะนั้น การอบรมความสงบมากขึ้น คือ กุศลธรรมที่เกิดต่อเนื่องเรียกว่า สมถภาวนา

สมถภาวนา คือ การอบรมกุศลธรรมประการต่างๆ ให้เกิดติดต่อกันไป ทำให้กิเลส มีนิวรณ์ ความฟุ้งซ่าน เป็นต้น ไม่เกิดขึ้น ในขณะที่เจริญสมถภาวนา เช่น ขณะที่ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นานๆ เป็นต้น ระลึกถึงคุณของศีล ระลึกถึงคุณเทวดา ขณะนั้น เป็นการเจริญความสงบจากกิเลส ที่เรียกว่า สมถภาวนา แต่อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนา ก็ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ที่จะรู้ว่าจะระลึกให้เกิดกุศลต่อเนื่องอย่างไรครับ จึงขาดปัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ดี สมถภาวนา ไม่สามารถละกิเลสต่างๆ ได้ เพียงแต่ทำให้กิเลสไม่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเท่านั้น ครับ

วิปัสสนาภาวนา ตามที่กล่าวแล้ว ภาวนา หมายถึง การอบรมเจริญให้มีมากขึ้น วิปัสสนา หมายถึง การรู้แจ้ง สภาพธรรมที่รู้แจ้ง คือ ปัญญา แต่เมื่อเป็นวิปัสสนาภาวนา คือ การเจริญอบรมปัญญาให้มีมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญญาที่เป็นหนทางสามารถละกิเลสได้จริง แต่ค่อยๆ ละไปเป็นลำดับ วิปัสสนาภาวนา เป็นหนทางที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงกับเหล่าสาวก ให้ดำเนินตาม ซึ่งเรียกหลายชื่อ เช่น สติปัฏฐาน 4 อริยมรรค เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเจริญวิปัสสนาภาวนา ที่เป็นการรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งจะต้องอาศัยปัญญาขั้นพื้นฐาน คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ ปัญญาขั้นวิปัสสนาก็สามารถเกิดขึ้นได้

การเข้าใจขั้นการฟัง ในเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง ก็เป็นการอบรมขั้นการฟัง ยังไม่ถึงการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นวิปัสสนา ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

สมถะ-สมาธิ-ปัญญา ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
thilda
วันที่ 27 ก.ค. 2560

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่านอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 28 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
p.methanawingmai
วันที่ 31 ก.ค. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 6 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
worrasak
วันที่ 8 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
NivatSangsree
วันที่ 10 ส.ค. 2560

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 10 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ย. 2560

ขณะที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจขณะนั้นจิตก็สงบจากอกุศล ต้องฟังธรรมะจนกว่าปัญญาจะรู้ว่าสิ่งที่มีจริงๆ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับ ไม่มีชื่อเรื่องราวใดๆ เลย ไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
thilda
วันที่ 21 พ.ย. 2560

ต้องศึกษาพระธรรมทีละคำให้เข้าใจก่อน เริ่มตั้งแต่คำว่า "ธรรมะ" คืออะไร กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์ทุกท่านอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ