สมาธิมีสอนอยู่ทั่วไป แต่นั่นไม่ใช่สมถภาวนา


    ส.   เรื่องของการอบรมเจริญสมาธิ ไม่ได้มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา แม้ในคำสอนอื่น ในข้อปฏิบัติอื่น ก็มี ที่ท่านผู้ฟังคงจะเคยได้ยิน เรื่องโยคะ ก็เป็นเรื่องของสมาธิ ซึ่งคนที่กำลังปฏิบัติ อาจจะคิด อาจจะเข้าใจว่า เป็นความสงบ เพราะเหตุว่าในขณะนั้นไม่ได้มีจิตที่วุ่นวาย กระสับกระส่าย คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ในชีวิตประจำวัน  เพราะฉะนั้น ความสบายของกายและใจ ในขณะนั้น ไม่ใช่สมถะ คือไม่ใช่ความสงบ เป็นแตเพียงความยินดี ความพอใจในขณะที่ สบายกาย สบายใจ เท่านั้น แล้วบางแห่ง ก็ไม่ได้ใช้คำว่าพุทโธ แต่ใช้ อัครหรือว่าใช้เสียงพยัญชนะ นี่คะ ใช้เสียงเป็นพยางค์ คำ ๑ บ้าง พยางค์ ๑ บ้าง  ๒ พยางค์บ้าง ตามสำนักปฏิบัติบางแห่ง ซึ่งไม่ได้สอนโดยชาวไทย แต่ว่าสอนโดยชาวต่างประเทศ จะมี การเจริญภาวนา ซึ่งผู้สอนก็ได้บอกว่า จะทำให้บรรลุนิพพานได้ โดยการนึกถึงเสียง นึกถึงพยางค์ อาจจะเป็นพยางค์ ๑ บ้างหรือว่า  ๒ พยางค์บ้าง แล้วก็มีคำสอนที่ทำให้จิต นี่คะ ตรึก นึกถึงพยางค์นั้นอยู่เรื่อยๆ แล้วผู้ที่ปฏิบัติมาแล้ว ก็บอกว่า สงบมาก แต่ตามความเป็นจริงแล้วขณะนั้นสบายมาก เกิดความยินดี เกิดความพอใจในขณะนั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของความสงบของจิต เพราะฉะนั้น ถ้าลักษณะของความสงบ ไม่เกิดขึ้นปรากฏ ให้ศึกษา ให้เข้าใจ ให้เห็นความต่างกัน ของสมถะ กับสมาธิ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเห็นว่าเป็น สภาพธรรม ที่ต่างกัน เพราะว่าขณะที่ต้องการที่จะให้จดจ้อง เป็นสมาธินั้น มีความต้องการ เริ่มด้วยความต้องการ แต่ไม่ใช่เริ่มด้วยปัญญา และความสงบ


    หมายเลข 4886
    20 ส.ค. 2558