ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า....!

 
พุทธรักษา
วันที่  27 ส.ค. 2551
หมายเลข  9680
อ่าน  886

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๑๓๑ บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน แล้วหรือหนอ"

อย่างบางท่าน ก็รู้ ว่า ตนเองยังไม่รู้ อุปาทานขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วหรือหนอ"

เพราะเหตุว่า เป็นหนทางเดียวจริงๆ ที่จะทำให้รู้ขันธ์ ๕ ได้ถ้าไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ขันธ์ ๕ ได้

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสัมมัปธาน ๔ แล้วหรือหนอ"

สัมมัปธาน ได้แก่ วิริยะ ซึ่งเกิดร่วมกับสติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม เป็นความเพียรชอบ ไม่ใช่เพียรอย่างอื่นแต่ เพียร ระลึกรู้ ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นผู้ที่เจริญสัมมัปธาน เจริญความเพียร เจริญวิริยะไม่ใช่วิริยะในเรื่องอื่นแต่วิริยะที่จะระลึกรู้ลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏ

ต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุ พึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญ อิทธิบาท ๔ แล้วหรือหนอ"

อิทธิบาท ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสะ ซึ่งก็จะต้องมีการเจริญสติปัฏฐานถ้าไม่มีฉันทะ ก็ไม่ระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วหรือหนอ"

ข้อความต่อไป ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้วหรือหนอ" นี่เป็นการตรวจสอบตัวเอง ตลอดเวลา ตามความเป็นจริง

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วหรือหนอ"

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรค อันประเสริฐ แล้วหรือหนอ"

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสมถะและวิปัสสนา แล้วหรือหนอ"

นี่ก็ไม่ใช่หมายความว่า ให้ไปเจริญฌาน แต่หมายความว่ามีทั้งสมถะและวิปัสสนา ในมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป ในขณะนั้น จิตสงบจากอกุศล เพราะเหตุว่า สติ กำลังระลึกรู้ลักษณะของนามว่าเป็นนาม สติ กำลังระลึกรู้ลักษณะของรูป ว่าเป็นรูปเมื่อเจริญ เพิ่มมากขึ้น ก็มีการสงบจากกิเลส

ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "ภิกษุ พึงพิจารณาดังนี้ว่า เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง แล้วหรือหนอ"

ไม่ใช่การหลอกตัวเอง แต่เป็น การพิจารณาตามความเป็นจริง ว่า ได้ถึงมัคคจิต ผลจิต รู้แจ้งอริยสัจธรรมแล้วหรือยัง

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์



บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่ตน เป็นคนโง่ บุคคลนั้นจะเป็น บัญฑิต เพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใด เป็นคนโง่ มีความสำคัญตนว่า เป็นบัณฑิตบุคคลนั้นแล เราเรียกว่า คนโง่

(ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 27 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 27 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 ส.ค. 2551

พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 27 ส.ค. 2551

นี่ก็ไม่ใช่หมายความว่า ให้ไปเจริญฌาน แต่หมายความว่ามีทั้งสมถะและวิปัสสนา ในมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป ในขณะนั้น จิตสงบจากอกุศล เพราะเหตุว่า สติ กำลังระลึกรู้ลักษณะของนามว่าเป็นนาม สติ กำลังระลึกรู้ลักษณะของรูป ว่าเป็นรูปเมื่อเจริญ เพิ่มมากขึ้น ก็มีการสงบจากกิเลส

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 28 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ....
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 28 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 28 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 13 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ