ขอขยายความและอธิบายเพิ่มเติม

 
opanayigo
วันที่  30 ก.ค. 2551
หมายเลข  9421
อ่าน  1,262
สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นสภาพที่งดเว้นจากอาชีพทุจริต ที่เป็นไปทาง

วาจา ๔ และทางกาย ๓

ขอความกรุณาช่วยขยายความอธิบายประโยคว่า สภาพธรรมทีงดเว้นจากอาชีพทุจริต ที่เป็นไปทางวาจา ๔ ทางกาย ๓

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 ส.ค. 2551

สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นสภาพที่กระทำกิจงดเว้นจากอาชีพทุจริต ซึ่งโดยปกติแล้วอาชีพทุจริต ย่อมเป็นไปทางกาย หรือทางวาจา เช่น อาชีพชาวประมง อาชีพฆ่าหมูอาชีพขโมย อาชีพหลอกลวงโกหก อาชีพพูดเพ้อเจ้อ (ตลก) เป็นต้น แต่

สัมมาอาชีวเจตสิกเกิดขึ้นวิรัติงดเว้นอาชีพเหล่านี้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ :)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 2 ส.ค. 2551

อาชีพบางอาชีพ ทางโลกไม่ถือเป็นการทุจริตเพราะไม่ผิดกฏหมาย เช่น ชาวประมงคนฆ่าสัตว์เพื่อขาย นักร้อง นักแสดง ตัวตลก ฯลฯ แต่ในทางธรรมะเป็นอาชีพที่ใกล้ต่อการผิดศีล ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครเลย เป็นเพียงบัญญัติในความเป็นบุคคลนั้นจากสภาพธรรมะที่ปรากฏครับ แต่ถ้าหากจะกล่าวถึง สัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมฝ่ายดีที่เกิดกับโสภณจิตนั้น ต้องขึ้นอยู่กับขณะจิตของแต่ละบุคคลว่า เมื่อจะมีการล่วงทุจริตทางกาย วาจา ที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพที่กระทำอยู่ แม้จะเป็นอาชีพที่สุจริตทางโลกหรือไม่ก็ตาม หากสัมมาอาชีวะเกิด ก็จะมีการละเว้นที่จะล่วงอกุศลกรรมนั้นๆ ทางกายทางวาจา เช่น เลี่ยงการทำร้ายร่างกายผู้ประท้วง, ไม่โกหกลูกค้า, ไม่พูดให้ร้ายคู่แข่งเป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Anutta
วันที่ 2 ส.ค. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 2 ส.ค. 2551

สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี (โสภณเจตสิก) เกิดร่วมกับกุศลจิต ที่กำลังงดเว้นอาชีพทุจริตอย่างหนึ่งอย่างใด ในขณะนั้น สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นธรรมเครื่องดำรงชีพโดยชอบแห่งสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่ เป็นสภาพธรรมที่งดเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด กล่าวคือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันมีอาชีพเป็นเหตุ เป็นสภาพธรรมที่งดเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันมีอาชีพเป็นเหตุ

ทุกคน เกิดมาเป็นบุคคลต่างๆ กัน ย่อมมีอัธยาศัยต่างกัน สะสมมาที่จะมีอาชีพที่แตกต่างกันออกไป เป็นเรื่องของภพชาติที่ยังมีอยู่ (เพราะยังไม่ดับกิเลสทั้งหมดได้อย่างเด็ดขาด) การที่จะประกอบอาชีพอะไรนั้น จึงเป็นไปตามการสะสมของจิตของแต่ละบุคคล ไม่มีตัวตนที่จะไปเลือก แต่ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล แล้วก็เจริญธรรมฝ่ายกุศลให้ยิ่งขึ้นเป็นผู้มีความมั่นคงในกุศลธรรม เมื่อนั้น การประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะ ไม่ควร ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง จนกระทั่งไม่กระทำอีกเลย เพราะเป็นผู้เห็นโทษในการกระทำอาชีพที่ไม่ควรทำเหล่านั้น

ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเพื่อมีความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งความเห็นถูกนี้เอง จะเป็นปัจจัยให้เป็นผู้มีความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ... ..

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ