เรื่องของกัมมปัจจัย

 
Pararawee
วันที่  4 พ.ค. 2551
หมายเลข  8560
อ่าน  1,271

ประเด็นสนทนาธรรมที่มูลนิธิวันนี้ช่วงเช้า คำถามจากคุณพี่สุกัญญา เข้าใจอย่างนี้ตรงไหมคะ? การกระทำที่ไม่ได้ล่วงกรรมบถ ก็มีเจตนาเจตสิกเกิดประกอบด้วย เจตนานั้นภายหลังไม่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ให้เกิดวิบากใช่ไหมคะ คงเป็นแค่การสะสมอุปนิสัยเท่านั้นหรือเปล่าคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Sam
วันที่ 5 พ.ค. 2551

ปัจจัยเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ผมขอแสดงความเห็นตามที่ได้ศึกษามา หากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนประการใด ขอท่านผู้รู้ได้โปรดแก้ไขครับ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกประเภทล้วนเป็นสหชาตกรรมปัจจัย ส่วนเจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศลจิตและอกุศลจิตนั้นนอกจากจะเป็นสหชตกรรมปัจจัยแล้ว ยังเป็นนานักขณิกกัมปัจจัยด้วย การให้ผลของนานักขณิกกัมปัจจัยนั้น หากเป็นกรรมบถจะให้ผลได้ในปฏิสนธิกาลและใน ปวัตติกาล แต่ถ้าหากไม่ครบองค์กรรมบถจะให้ผลได้ในปวัตติกาลเท่านั้น อกุศลจิตและกามาวจรกุศลจิตเมื่อเกิดขึ้นทำกิจแล้ว ไม่ว่าจะครบองค์กรรมบถหรือไม่ก็จะสะสมอุปนิสัยทั้งสิ้น

ขอเชิญท่านผู้รู้แสดงธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 5 พ.ค. 2551

เจตนาเจตสิก เป็นสัพพสาธารณเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิต เป็นเจตนาฝ่ายเหตุ ย่อมมีผล ทั้งผลในขณะนำเกิด และให้ผลปวัตกาลคือ เว้นขณะจุติและปฏิสนธิ ถ้าไม่ล่วงเป็นกรรมที่มีกำลัง เป็นเพียงกุศลหรืออกุศลจิต ก็สะสมเป็นอุปนิสัย เจตนาที่เกิดกับวิบากจิต เป็นฝ่ายผล เป็นปัจจัยแก่สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับตน

เห็นด้วยกับ สมาชิก K ค่ะ เรื่องปัจจัยเป็นเรื่องยากและละเอียดจริงๆ ผิดพลาดประการใด ขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 พ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนเพิ่มเติมครับ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงเป็นสหชาตกัมมปัจจัย ส่วนเจตนาเจตสิกที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยคือ ให้ผลในขณะต่อไป ซึ่งเจตนาที่เกิดกับอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมที่ทำแล้ว ยังไม่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยตราบใดที่วิบากจิตยังไม่เกิด เพราะผลยังไม่เกิดจะเป็นปัจจัยโดยนานักขณิกกัมมปัจจัยไม่ได้ครับ แต่เมื่อวิบากจิตเกิดขึ้นเพราะอกุศลหรืออกุศลกรรมที่ประกอบด้วยเจตนานั้นเกิดขึ้น เมื่อนั้น เจตนานั้นจึงเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยครับ สรุปคือ ผลต้องเกิดก่อน เจตนานั้นจึงเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ตราบใดที่ผลคือ วิบากจิตยังไม่เกิดขึ้น เจตนานั้นแม้จะทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไปแล้วตราบใดผลยังไม่เกิด ยังไม่ถือว่าเจตนานั้นเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 พ.ค. 2551

การกระทำที่ไม่ได้ล่วงกรรมบถ ก็มีเจตนาเจตสิกเกิดประกอบด้วย เจตนานั้นภายหลังไม่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัยให้เกิดวิบากใช่ไหมคะ คงเป็นแค่การสะสมอุปนิสัยเท่านั้นหรือเปล่าคะ.....

ควรพิจารณาการกระทำที่ไม่ล่วงกรรมบถด้วยครับ เพราะกรรมบางอย่างถึงไม่ครบกรรมบถแต่ก็ให้ผลในขณะที่เกิดแล้ว ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ไม่ให้ผลนำเกิด และบางอย่างก็สะสมเป็นอุปนิสัยเท่านั้น โดยไม่ให้ผลที่เป็นวิบากเลย เช่น คิดโกรธในใจมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตนานั้นเป็นสหชาตกัมมปัจจัยแต่ไม่เป็นนานักขณิกกัมมปัจัย (ให้ผลในขณะต่อไป) เพราะไม่ให้เกิดวิบากแต่สะสมเป็นอุปนิสัย ส่วนกรรมบางอย่างที่ไม่ครบกรรมบถแต่ให้ผลในปวัตติกาลหลังจากที่เกิดแล้ว เจตนานั้นยังไม่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยตราบใดที่วิบากยังไม่เกิดขึ้น เมื่อวิบากหรือผลเกิดขึ้นเมื่อไหร่เจตนานั้นเองจึงจะเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยครับ

ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 6 พ.ค. 2551

ฟังด้วยคน

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 6 พ.ค. 2551

เพื่อประโยชน์ในการศึกษาความละเอียดเรื่องการให้ผลของอกุศลกรรม ผมขอยกพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ในอดีตชาติทรงมีโสมนัสที่เห็นชาวประมงฆ่าปลา ด้วยเหตุนั้นได้ทรงเสวยทุกข์ในอบาย และในอัตภาพสุดท้ายได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศรีษะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๒ เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลาทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น. เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เราแล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ) แล้ว.

พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง ยากที่คนในยุคนี้จะรู้ตามได้ทั่ว การสนทนาถามตอบกันจึงมีประโยชน์ในการแก้ไขในส่วนที่ยังศึกษาไม่ถึง ขออนุโมทนาท่านผู้ตั้งคำถาม และขอขอบคุณและอนุโมทนาท่านผู้รู้ที่ได้กรุณาอธิบายครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 6 พ.ค. 2551

ได้ตามอ่านและศึกษาด้วย

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 7 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 พ.ค. 2551

กัมมปัจจัยจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ สหชาตกัมมปัจจัย และ นานัก ขณิกกัมมปัจจัย โดยย่อดังนี้

1.เจตนาที่สัมปยุตตกับสหชาตธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม คือ จิต เจตสิก และแก่รูป ที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น ชื่อว่า สหชาตกัมมปัจจัย

2. เจตนาที่ต่างขณะกัน คือ เจตนานั้นหรือสหชาตกัมมนั้นได้ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและแก่รูปที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยอำนาจแห่งกรรมที่ดับไปแล้วนั้น ชื่อว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย

เพราะฉะนั้น นานักขณิกกัมมปัจจัยจึงหมายถึงเจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลเท่านั้นที่ดับไปแล้ว แต่มีอำนาจเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดวิบากและกัมมชรูปในอนาคต

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Pararawee
วันที่ 7 พ.ค. 2551

- อนุโมทนาค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง กระจ่างดีแล้ว............

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ