การศึกษา การปฏิบัติธรรม ตามลำดับ

 
pirmsombat
วันที่  3 เม.ย. 2551
หมายเลข  7954
อ่าน  1,393

การศึกษาปฏิบัติธรรมตามสำดับ

การทำกิจการใดก็ตามย่อมมีการศึกษาตามลำดับ ปฏิบัติตามลำดับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ การศึกษา การกระทำ การปฏิบัติ ธรรม ตามลำดับไว้ด้วย ผมขอเขียนตามความเข้าใจ ตามเพศคฤหัสถ์เพื่อน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามกำลังปัญญาของพวกเรา เพราะมีประโยชน์มาก แต่เราต้องฟังธรรมที่ท่าน อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ สอนพวกเรามานานหลายสิบปีให้เข้าใจก่อน จึงจะสามารถน้อมนำธรรมที่ผมกล่าวมาประพฤติปฏิบัติตามได้ ตามกำลังปัญญา

๑. เป็นผู้มีศีล สำหรับคฤหัสถ์ เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ (สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรจงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สำหรับภิกษุ แต่ข้อไหนเราอยากปฏิบัติตาม ก็ได้) แต่ศีลสังวร ปาฏิโมกขสังวร เป็นการวืรัติ คือเว้นการประพฤติทาง กาย วาจา ที่ไม่ดี (วิรัติศีล) และกระทำสี่งที่ดีงามทางกาย วาจา (จาริตศีล) เท่านั้นไม่รวมถึงทางใจ จึงไม่สามารถละกิเลสได้

๒. เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เรียกว่า อินทรียศีลสังวร เป็นการเจริญสติรู้รูปนามทางทวารทั้ง ๖ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในชีวิตประจำวันสำรวมทั่วทุกทวาร รวมทั้งทางใจด้วย สามารถช่วยอบรมเจริญสติป้ญญาจนละกิเลสได้

๓. รู้จักประมาณในโภชนะ เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา ผู้ที่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารต้องประกอบด้วยปัญญา คือ องค์ธรรมได้แก่ปัญญาเจตสิก บริโภคเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น

๔. เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ เรียกว่า ชาคริยานุโยค คือการประกอบความเพียรโดยการตื่นอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้นอนน้อย บำเพ็ญเพียรมาก

๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือเป็นผู้รู้สึกตัวทั่วทุกอิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ก้าว ถอย เหลียวดู และอื่นๆ จนกระทั่ง พูด นั่ง หลับ ตื่น คิดนึกสติสัมปชัญญะต้องประกอบด้วยปัญญา ซี่งมีหลายขั้น เข่น ในสมถภาวนา ถ้าปัญญาสูงขึ้นไปอีกก็เกิดในสติปัฏฐาน ๔

เรามีอกุศลมาก มีอวิชชามาก กันทั้งนั้น เมื่อยังไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐาน แค่เมื่ออบรมเจริญสติจนมีสติสัมปชัญญะบ้าง แต่ยังไม่ทั่วพร้อม อบรมไปเรื่อยๆ นานมาก แล้วแต่อบรมอะไร สมถภาวนา หรือ สติปัฏฐาน ๔

ถ้าสมถภาวนา สติป้ญญาสามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ รู้สภาพจิตที่สงบหรือเหตุที่จะให้จิตสงบจากอกุศล รู้ลักษณะของอกุศลจิตต่างกับกุศลจิต แต่ไม่รู้ว่าเป็น นามธรรมหริอรูปธรรม รู้แต่เพียงว่า ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศลและรู้เหตุที่จะให้กุศลเจิญ มั่นคงขี้น

ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดในขณะอบรมเจิญสติปัฏฐาน รู้สภาพธรรมที่กำล้งปรากฏ ความรู้สึกตัวสามารถที่จะรู้สภาพที่แท้จริงของสี่งที่ปรากฏว่า ขณะนั้นเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน นั่นถึงจะเป็นสติสัมปชัญญะ ที่เกิดกับสติปัฏฐาน ๔ ครับ

๖ .เมื่อเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะแล้ว จงเป็นผู้ชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธะนิวรณ์ อุททัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์

ตัวอย่างเช่น เวลาทิ่ยินดีพอใจ ติดข้องต้องการสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ถ้ารู้สึกตัว สติเกิด รู้ลักษณะของดวามยินดีพอใจในขณะที่ปรากฏ กามฉันทะนิวรณ์ก็จะไม่กลุ้มรุมทำร้ายจิตใจเรา

นิวรณ์เป็นกิเลสที่กั้นกางคุณความดีของพวกเราทั้งหลาย เป็นเครื่องทำให้จิคเศร้าหมองทำปัญญาให้ถอยกำลัง สำหรับนิวรณ์อื่นก็ทำนองเดียวกัน7.ครั้นละนืวรณ์ ๕ ประการแล้ว ก็อบรมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปเรื่อยๆ นานมากเป็นจิรกาลภาวนา จนกว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 5 เม.ย. 2551

นกขยับปีก ปรารภจะบินไปในอากาศ ส่วนผมยืนอยู่บนพื้นดิน มองดูนกทั้งหลายโผบินอยู่บ้าง กำลังจะบินบ้าง สาธุ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 เม.ย. 2551

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
devout
วันที่ 5 เม.ย. 2551

เป็นจิรกาลภาวนาจริงๆ ค่ะ คือ นานมากๆ เป็นอสงไขยกัปกว่าจะหลุดพ้น แต่ถึงแม้ว่าจะนานเพียงใด ก็ยังไม่นานเท่ากับผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายต่อไปด้วยความไม่รู้ค่ะ

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ