ดูก่อนโมฆบุรษ

 
bansadet
วันที่  23 ก.พ. 2551
หมายเลข  7481
อ่าน  1,148

เป็นการใช้ภาษาที่หนักแน่นมากครับ คำว่าโมฆ ก็ชัดเจนในคำแล้ว ลิงค์ ด้วยบุรุษเข้าไปแล้ว ความว่า ชีวิตที่ดำเนินมาแล้ว สูญเปล่า ไร้ค่า ไม่ประกอบด้วยประโยค ไม่ประกอบด้วยเหตุ ไม่มีผล อรรถกถาบรรยาย ใช้คำนี้ ทิ่มแทงกิเลส เรียกได้ว่าแทงใจของผู้มีความละลาย มักน้อยสันโดด ทำนองว่า คฤหัสควรอ้วนจึงดูดี สมนะเพศควรผอมจึงดูดี ทำนองให้รู้สึกถึง การระวัง และการขจัดกิเลส ตามหน้าที่ของตนครับ ข้อความเต็มอาจจะเป็นอย่างนี้ก็ได้ครับ ดูก่อนโมฆบุรษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ธรรมอันเราตถาคตแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบเพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิด เพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น เธอบวชในธรรมวินัย ที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ก.พ. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โมฆบุรุษ หรือบุรุษที่ว่างเปล่า หมายถึงว่างเปล่าจากคุณธรรม หรืออุปนิสัยที่จะบรรลุมรรค ผล เป็นพระอริยเจ้า ถ้าชาตินั้นไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุ ก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ บุรุษว่างเปล่าจากการที่จะบรรลุมรรค ผลและแม้มีอุปนิสัยในการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น แต่มรรค ผลไม่มีในขณะนั้นก็ชื่อว่า โมฆบุรุษเช่นกัน (ความเห็นที่ 2) คือบุรุษที่ว่างเปล่าจากการบรรลุคุณธรรมคือ มรรค ผล ดังเช่น พระอุปเสนวังคันตบุตร พระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษเพราะเป็นบุรุษว่างเปล่าจากคุณธรรม มรรค ผลและประพฤติไม่เหมาะสม แม้ชาตินั้นมีอุปนิสัยในการบรรลุมรรคผล แต่ขณะนั้นเป็นโมฆบุรุษ แต่ต่อมาท่านก็เพียรพยายามได้บรรลุ มรรค ผลในชาตินั้น (พระอรหันต์)

(ความเห็นที่ 3) ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ก.พ. 2551

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๗๐

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถา มหาสีหนาทสูตร

บทว่า โมฆปุริโส ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผลไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาดอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ก.พ. 2551

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๐๑

บทว่า อถ โข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสิ นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง โดยเฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกเราว่าโมฆปุริส แต่เธอจะไม่มีธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ด้วยเหตุเพียงตรัสว่า โมฆปุริส หามิได้แล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุปเสนวังคันตบุตรด้วยวาทะว่าโมฆปุริส ว่าดูก่อนโมฆปุริส เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเร็วเกินไป ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.พ. 2551
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ