แล้ว จะละกิเลสอย่างไร

 
kengjig
วันที่  9 ก.พ. 2551
หมายเลข  7292
อ่าน  2,196

ผมได้ฟังธรรมของอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ก็คอยบอกว่า ค่อยๆ ละกิเลส แล้วผมจะเริ่มละอย่างไร คับ เพราะ ความอยากมันเกิดตลอดเลยครับ ไหนจะพะวงกับเรื่อง ระวัง เรื่องกายวาจาและ ใจ พยายามจะไม่ให้ อกุศล เกิดกลายเป็นคนเครียดไปเลย ขณะที่ได้ฟังธรรมของอาจารย์ จิตใจก็สงบดีหรอกครับ แต่พอเลิกฟังอกุศลที่ผมกระทำลงไปแล้วมันวนเวียนอยู่ในจิตใจครับ คอยจะคิดแต่เรื่องที่ไม่ดี อยู่เรื่อยๆ กลัวบาป มากๆ ผมควรทำไงดี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ควรศึกษาและฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ครับ เพราะถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่มีอะไรไปละกิเลสได้ ปัญญาเท่านั้นที่สามารถละกิเลสได้ อกุศลละกิเลสไม่ได้ ในขณะที่ฟังพระธรรมเริ่มเข้าใจขณะนั้นเริ่มละความไม่รู้ ขณะนั้นอกุศลเกิดไม่ได้ แต่ละกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นอีกเลย ต้องเป็นปัญญาขั้นอริยมรรค เรียกว่า สมุจเฉทประหาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Komsan
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ระลึก ศึกษา น้อมไปที่จะพิจารณาสภาพธรรมะตามความเป็นจริงที่เกิดจึงปรากฏ เวลาที่ความอยากเกิด ถ้ามีปัจจัยให้สติระลึก สติก็ระลึกได้ว่า ความอยากเป็นสภาพธรรมะที่มีจริงโดยไม่ใช่การคิดเป็นคำว่านี่ อยากแล้ว อยากเป็นโลภะ ซึ่งไม่ใช่สติปัฏฐานครับ เป็นแต่เพียงสติขั้นคิดพิจารณาในเรื่องราวของธรรมะที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนขณะที่คิดอย่างนั้น ความอยากก็ดับไปแล้ว และก็ไม่ใช่การห้ามคิดอีก เพราะคิดมีจริงเป็นธรรมะ และเป็นอนัตตา ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคลใดๆ แต่สติระลึกไปในสภาพธรรมะใดสภาพธรรมะหนึ่งที่เกิดจึงปรากฏ แล้วปัญญาก็ทำกิจเข้าใจในความเป็นจริงของสภาพธรรมะนั้นตามความเป็นจริง การคิดมีจริงสติระลึกได้ไหมว่าที่กำลังคิดอยู่เป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าสติระลึกได้ ขณะนั้นพะวงก็เป็นพะวง พะวงเกิดแล้วก็ต้องดับ แต่เวลาที่พะวงดับไปแล้ว ถ้าสติไม่เกิดเราก็มักจะก็หลงลืมเสมอว่า พะวงเป็นธรรมะ แต่จำผิดว่าเป็นเรา "พะวง" ได้ครับ ซึ่งถ้าเป็นเราพะวง ความพะวงนั้นย่อมสะสมมากขึ้นจนแสดงอาการที่ผิดปกติ เช่น ฟุ้งซ่านเครียดกลัว เป็นต้น ฉะนั้น ค่อยๆ ฟังโดยถี่ถ้วน พิจารณาขณะฟังจนเข้าใจ แล้วธรรมะก็จะศึกษาตามความเป็นจริงของธรรมะที่เกิดนั้น ไม่มีเราศึกษาครับ

คลิกอ่านที่นี่ครับ

เหตุใดคนบางคนมีอุปนิสัยเป็นคนคิดมาก เป็นคนเจ้าทุกข์ โดย siwa

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ให้รู้ว่าเป็นธรรมดาที่ยังมีกิเลส ไม่มีตัวตนที่จะไปห้ามเพราะเป็นหน้าที่ของธรรม เมื่อมีเหตุปัจจัยให้กิเลสเกิด กิเลสก็เกิด การอบรมปัญญาที่จะดับกิเลสคือต้องรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราแม้กิเลสที่เกิดขึ้น ค่อยๆ มั่นคงในขั้นการฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรม ก็จะเข้าใจความจริงและเบาขึ้นเมื่อกิเลสเกิดเพราะรู้ว่าเป็นอนัตตาและเป็นธรรม จึงมีคำว่า เป็นผู้มีปรกติอบรมสติปัฏฐานเพราะขณะที่กิเลสเกิดขึ้นก็เป็นปรกติในชีวิตประจำวัน
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 11 ก.พ. 2551

การวิตกกังวลถึงอกุศลกรรมที่กระทำแล้วในอดีต ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง และยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ยังสะสมการฟังไม่เพียงพอที่จะเป็นปัจจัยให้จิตเป็นไปในกุศลประการต่างๆ ที่กล่าวว่าสะสมการฟังพระธรรมยังไม่เพียงพอนั้น มิได้หมายความถึงเฉพาะในเชิงปริมาณ เช่น ฟังมาแล้ว ๑ ปี ๑๐ ปี หรือ ๒๐ ปี หรือว่าได้ฟังเรื่องนั้น เรื่องนี้แล้ว แต่ยังหมายถึงความเข้าใจ จากการฟัง อันเกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองโดยละเอียด ทุกอักษร ทุกคำ และทุกประโยค เพราะหากศึกษาโดยไม่ระมัดระวัง ก็อาจถือเอาตามความเข้าใจของตัวเอง อันจะส่งผลให้เข้าใจผิดต่อเนื่องไปในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดขึ้น ขออนุญาตยกตัวอย่างจากคำถามของท่านเจ้าของกระทู้ที่ว่า "ค่อยๆ ละกิเลส แล้วผมจะเริ่มละอย่างไร" ซึ่งหากถือเอาตามความเข้าใจของคนส่วนมาก ก็มักคิดว่ากิเลสคือสิ่งที่ไม่ดีทำให้เราไม่สบายใจ และตัวเรานี้ต้องยกเลิกสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อได้สะสมการฟังให้เพียงพอ ก็จะเข้าใจว่ากิเลสคืออะไร และอะไรละกิเลส โดยจะขอสรุปสั้นๆ ในที่ นี้คือ กิเลสคือสิ่งที่ทำให้เราติดข้องอยู่ในสังสารวัฏ และสิ่งที่จะละกิเลสนั้นคือปัญญา ทั้งกิเลส และปัญญาเป็นธรรมะไม่ใช่เรา ดังนั้น การเริ่มต้นที่จะละกิเลสคือการศึกษาให้เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร ธรรมะไม่ใช่เราอย่างไร ซึ่งการศึกษานี้ก็ต้องอาศัยการอ่าน การฟัง และการสนทนา อย่างเพียงพอ เพื่อสร้างความเข้าใจขั้นต้นสำหรับการระลึกศึกษาต่อไป มีคำอีกคำหนึ่งที่ใช้แทนคำว่าละกิเลสได้ นั่นคือคำว่าขัดเกลากิเลส การขัดเกลาก็คือค่อยๆ ทำให้สิ่งหนึ่งเบาบางลงที่ละเล็กทีละน้อยไปตามลำดับ ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวถึงการขัดเกลากิเลสเสมือนการจับด้ามมีดอยู่เสมอๆ ด้ามมีดที่ถูกใช้งานเป็นประจำย่อมค่อยๆ สึกไปที่ละน้อย โดยที่เจ้าของไม่รู้ว่าด้ามมีดสึกไปวันละเท่าไร รู้เพียงว่าสึกไปแล้วเท่านี้ๆ จากที่เคยมีอยู่เต็ม ซึ่งหากเปรียบกับการดับกิเลสก็คือด้ามมีดสึกจนหมดไม่เหลือเลย ลองพิจารณาดูว่าจะต้องใช้เวลานานสักเพียงใด ผมหวังว่าความเห็นนี้ แม้จะยาวไปสักหน่อย แต่คงมีประโยชน์สำหรับท่านเจ้าของกระทู้ไม่มากก็ น้อย และขอเป็นกำลังใจให้ท่านศึกษาต่อไป เพราะการที่ท่านตั้งต้นการศึกษาธรรมะด้วยความประสงค์ที่จะละกิเลสนั้น ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ประเสริฐกว่าการศึกษาจนแตกฉานในธรรมบัญญัติด้วยเหตุเพราะปรารถนาในลาภและสักการะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kengjig
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ต้องขอ อนุโมทนา ทุกๆ ท่าน นะครับ ที่ช่วย ชี้ แนะ ถ้าเป็นอย่างงี้แล้ว คนที่ ตาบอด คงได้เปรียบกว่า พวกคนที่ปกติ สิครับ เพราะ ไม่มี ตา ที่เห็นรูป กิเลส ก็ เกิดน้อย มากกว่าคน ปกติ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ขณะเห็น กับ ขณะที่กิเลสเกิดขึ้นยินดีพอใจในขณะเห็นเป็นคนละขณะกัน ผู้ที่สะสมอกุศลเป็นปกติ เมื่อเห็นแล้วก็มีความยินดีบ้างไม่ยินดีบ้าง แต่ผู้ที่สะสมความเห็นถูกเมื่อเห็นแล้วก็สามารถระลึกรู้ลักษณะของการเห็นว่าเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา อันเป็นการเจริญมรรคเพื่อการขัดเกลากิเลส หากผู้ใดตาบอดตั้งแต่กำเนิด ย่อมไม่มีปัจจัยให้เกิดกิเลสทางจักขุทวาร แต่อาจเป็นผู้มีกิเลสหนาแน่นทางทวารอื่นๆ เช่น ติดในเสียง หรือคิดอยากจะมองเห็นอย่างแรงกล้า นอกจากนี้ เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็ไม่อาจระลึกศึกษาสภาพธรรมทางตาได้เพราะมองไม่เห็น ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ การที่จะมองเห็น หรือเป็นคนตาบอด ก็เป็นไปตามปัจจัย เมื่อมีปัจจัยการเห็นก็เกิดทำกิจแล้วดับไป หรือเมื่อ ปัจจัยทั้งหลายถึงพร้อมก็อาจทำให้กลายเป็นคนตาบอดได้ การสะสมอุปนิสัยในกุศลทั้งหลาย ช่วยให้กุศลเจริญขึ้น ในทางตรงกันข้าม การสะสมอุปนิสัยในอกุศลจะทำให้กิเลสอกุศลเจริญขึ้น มิได้ขึ้นอยู่กับว่าตาบอดหรือไม่ ทางทวารอื่นได้แก่ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกาย ก็เช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wirat.k
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาครับศึกษาธรรม เพื่อให้เข้าใจธรรมครับ กิเลสเมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่สามารถไปยับยั้งได้ ความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ก็จะพอรู้ว่าเป็นธรรม หรือธาตุ แต่ละอย่างอย่างไร ไม่ใช่ตัวตน และไม่สามารถที่จะไปบังคับบัญชาสภาพธรรมใดๆ ให้เป็นไปตามความต้องการได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ