การใส่บาตร

 
Sommaart
วันที่  7 ก.พ. 2551
หมายเลข  7263
อ่าน  1,369
ในขณะใส่บาตรเห็นผู้คนจำนวนมากถอดรองเท้ากัน อยากทราบว่าจำเป็นหรือไม่? ถ้าขณะใส่บาตรไม่ถอดรองเท้าจะเป็นอย่างไร?

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 ก.พ. 2551

ควรทราบประเพณีของการแสดงความเคารพตั้งแต่สมัยโบราณ มีการแสดงออกหลายๆ รูปแบบ พระภิกษุเป็นบรรพชิตโดยเพศ ท่านเป็นผู้ทรงคุณสูงกว่าคฤหัสถ์ ในเวลาเช้า ท่านเดินบิณฑบาตร ตามพระวินัยบัญญัติ ท่านไม่สวมรองเท้า เมื่อคฤหัสถ์นิมนต์ท่านเพื่อรับอาหารนอกจากยกมือไหว้แล้ว การถอดรองเท้าก็เป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถถอดได้ก็ควรพิจารณาสภาพจิตของตนตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร ระหว่างถอดกับไม่ถอด

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่ ...

ทหาร-ตำรวจ... เวลาใส่บาตรควรถอดรองเท้าหรือไม่?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.พ. 2551

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๓๗

ในความไม่เคารพนั้น ภิกษุใดขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ กั้นร่ม สวมรองเท้า แลดูแต่ที่อื่น เดินคุยกันไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระศาสดา.

ภิกษุใด เมื่อเขาประกาศเวลาฟังธรรม อันภิกษุหนุ่มและสามเณรนั่งห้อมล้อม หรือกำลังทำนวกรรมเป็นต้นอย่างอื่น นั่งหลับในโรงฟังธรรมหรือเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่งคุยเรื่องอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรม.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.พ. 2551

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๓๗ ส่วนภิกษุใด ไปสู่ที่บำรุงของพระเถระ นั่งไม่ไหว้ เอามือรัดเข่าทำการบิดผ้า ก็หรือคะนองมือและเท้าอย่างอื่น มิได้รับการกล่าวเชื้อเชิญในสำนักของพระเถระผู้แก่ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ก.พ. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เป็นการแสดงความนอบน้อมยิ่งขึ้น ไม่ได้หมายความว่า ใส่รองเท้าจะไม่นอบน้อม แต่การเคารพด้วยการลดถอดของต่ำลงก็เป็นการนอบน้อมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภิกษุรูปใดเพราะเราย่อมนอบน้อมแด่พระอริยสงฆ์ไม่ใช่ภิกษุบุคคล ซึ่งจะขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงถึงความนอบน้อมของพระอินทร์ (ท้าวสักกะ) ที่เข้าไปหาผู้มีศีลก็ถอดฉลองพระบาท ลองอ่านดูนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
shumporn.t
วันที่ 7 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 7 ก.พ. 2551

ไม่มีกฏเกณฑ์ ขึ้นอยู่กับสภาพจิตในขณะนั้นว่ามีความศรัทธา มีความเคารพ มีความอ่อนน้อมต่อพระสงฆ์ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ เป็นบุญเขตในอันสูงยิ่งในพระศาสนานี้มากเท่าไรครับ ถ้าเห็นว่าการกระทำใดเป็นการบูชาสักการะในพระสงฆ์ที่มาจากจิตที่ดีจริงๆ ก็ควรที่จะได้กระทำครับ เช่น ท่านยสกุลุบุตร ท่านถอดรองเท้าทอง เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครับ

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๓

ที่นั้น ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่าได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้องดังนี้แล้ว ถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระ-ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ