เหตุกับปัจจัยต่างกันอย่างไร

 
nee
วันที่  12 ม.ค. 2549
หมายเลข  703
อ่าน  4,796

เหตุกับปัจจัยต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 13 ม.ค. 2549

ในอรรถกถา ขุททกนิกายมหานิเทส เล่ม ๖๕ อธิบายว่าที่ชื่อว่าเหตุ เพราะอรรถว่า มีผลเกิดขึ้น คือ เป็นไปด้วยเหตุนั้น (กรณะ) ที่ชื่อว่าปัจจัย เพราะอรรถว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิด และเป็นไป ในภาษาไทยคำทั้ง ๒ ใช้คู่กันเสมอ ว่าโดยนัยพระอภิธรรม คำว่า ปัจจัยมีความหมายกว้างกว่า และ คำว่า เหตุก็มีหลายความหมาย โปรดอ่าน ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
โอ้ละหนอ
วันที่ 26 ต.ค. 2549

ความต่างระหว่างเหตุ กับ ปัจจัย เป็นเรื่องที่เกือบใกล้เคียงกัน เหตุ ก็คือ เหตุ ๖ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

มองโดยรวมก็คือเจตสิกธรรม นั่นเอง คือ สิ่งที่เกิดในจิต ถ้ากุศลเจตสิกเกิดในจิต ก็เป็นกุศลจิต การงานต่างๆ ก็เป็นแต่สิ่งดี ถ้าอกุศลเจตสิกเกิดในจิต ก็เป็นอกุศลจิต การงานต่างๆ ก็เป็นแต่ไม่สิ่งดี เหตุจึงเป็นเหมือนรากแก้ว เป็นปัจจัยอุดหนุดให้สัตว์เกิดขึ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุ ส่วนปัจจัยนั้น เป็นเหตุที่ช่วยเหลือ ช่วยอุปถัมภ์ ช่วยอนุบาลให้ผลที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้

สรุปว่า เหตุเป็นมูลราก ปัจจัยเป็นเหตุที่ช่วยเหลือนี่คือความแตกต่าง ในปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยอยู่ด้วย ปัจจัย ๒๓ ที่เหลือ ก็มีอำนาจต่างๆ ไม่เหมือนกัน เหตุจึงเป็นทั้งเหตุ และ ปัจจัย ปัจจัยไม่ใช่เหตุก็มี ไม่เป็นเหตุก็มี แต่ปัจจัยก็มีอำนาจทำให้ผลเกิดได้ ตั้งอยู่ได้รายละเอียด ต้องศึกษาในมหาปัฎฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ