เรื่องความเท็จ

 
คุณอนันต์
วันที่  6 เม.ย. 2548
หมายเลข  7
อ่าน  1,639

ผมเป็นข้าราชการ เคยสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการเขียนรายงานเท็จ ซึ่งจากประสบการณ์แล้ว เชื่อว่าการรายงานเท็จในวงราชการนั้นมีอยู่จำนวนมาก เพราะหากไม่รายงานแล้วจะต้องมีความผิด แต่ครั้นจะรายงานตรงไปทีเดียวเลยก็จะผิดไปอีก จะขอยกตัวอย่าง เช่น

นาย ก.เป็นผู้บังคับบัญชา ต้องการให้ นาย ข. ออกตรวจสถานที่แล้วรายงานให้ทราบ นาย ข. มีงานอยู่แล้ว ๑๐ อย่าง ไม่สามารถทำได้ แต่ทราบว่าหากแจ้งว่าทำไม่ได้ นาย ก. ต้องลงโทษ เพราะนาย ก.เป็นคนถืออำนาจเป็นใหญ่ หากสั่งแล้ว...ทำไม่ได้...จะโกรธ แต่ถ้าได้รับรายงานรู้ว่าเท็จถือว่ายังพอฟังได้ เพราะจะได้นำรายงานไปอ้างผู้บังคับบัญชาอีกได้ ดังนั้นนาย ข.จึงรายงานว่าเหตุการณ์ปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกตรวจและเหตุการณ์ก็สงบจริงๆ เพียงแต่ไม่ได้ออกตรวจ

อยากถามว่า การเขียนรายงานเท็จนั้น เป็นกิริยาสงเคราะห์เข้าเป็นการพูดเท็จหรือไม่? และหากรายงานเท็จมิได้ทำให้ผู้ใดเสียหาย จะผิดบาปมากเพียงใด ขอให้ยกหลักฐานทางศาสนาในพระไตรปิฎกและอรรถกถาให้ทราบด้วย

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 เม.ย. 2548

จากข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า การให้ผู้อื่นรู้เรื่องไม่จริง จะออกมาทางกายหรือวาจา ย่อมเป็นมุสาวาททั้งนั้น ถ้าไม่ทำลายประโยชน์ของผู้อื่นมีบาปน้อยกว่า แต่ก็ไม่ควรทำครับ

[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๖๕ หน้าที่ ๖๘๑

[๒๔๙] คำว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ มีความว่า มุสาวาท เรียกว่าความเป็นผู้พูดเท็จ บุคคลบางตนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมก็ดีอยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ท่ามกลางสมาคมก็ดี อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขานำไปถามเป็นพยานว่ามาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้างเมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง ย่อมกล่าวเท็จทั้งเพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 18 ก.พ. 2549

เชิญคลิกอ่าน...

มุสาวาท

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ