ภิกษุขโมยกลิ่นปทุม [ปทุมปุปผสูตร]

 
pirmsombat
วันที่  14 ม.ค. 2551
หมายเลข  6965
อ่าน  1,468

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

๑๔. ปทุมปุปผสูตร

ว่าด้วยภิกษุขโมยกลิ่นปทุม

[๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่

สระโบกขรณีแล้วสูดดมดอกปทุม.

[๗๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่

ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หวังจะไห้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้

กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่ง

ใครๆ ไม่ได้ให้แล้ว นี้เป็นองค์อันหนึ่ง

แห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่าน

เป็นผู้ขโมยกลิ่น.

[๗๙๗] ภิกษุกล่าวว่า

เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เรา

ดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำห่างๆ เมื่อเป็น

เช่นนี้ ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่นด้วย

เหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอก

บัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่น

อย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็น

ขโมย.

[๗๙๘] เทวดากล่าวว่า

บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วย

ราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ

เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจ

เท่าก่อนเมฆในนภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลส

ดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหาไตรสิกขาอัน

สะอาดเป็นนิจ.

[๗๙๙] ภิกษุกล่าวว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านรู้จักเราแน่ละ

และท่านเอ็นดูเรา ดูก่อนเทวดา ท่านเห็น

ธรรมเช่นนี้ในกาลใด ท่านพึงกล่าวอีก

[ในกาลนั้น] เถิด.

[๘๐๐] เทวดากล่าวว่า

เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และ

เราไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน ดูก่อน

ภิกษุ ท่านพึงไปสุคติได้ด้วยกรรมที่ท่าน

พึงรู้.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สลด ถึงซึ่งความสังเวช

แล้วแล.

จบปทุมปุปผสูตร

วนสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

อรรถกถาปทุมปุปผสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปทุมปุปผสูตร ที่ ๑๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัว

น้อมมา (ดม) จึงคิดว่า ภิกษุนี้ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว

เข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์ ภิกษุนี้นั้นวัน

นี้ ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่น

นั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้

พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว

จึงเข้าไปพูด.

...............................................................................

อ่านพระสูตรนี้แล้วทำให้คิดได้ว่า... การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องมีปัญญา มีความเพียร มีการสำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะ อย่างละเอียดมากในการแสวงหาไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจแสดงว่า...การอ่านพระไตรปิฏกมีประโยชน์มากเกื้อกูลให้เกิดปัญญา และการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องและละเอียดมากเพราะพระธรรมและกิเลสก็ละเอียดมากด้วย นะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เห็นโทษของอกุศลแม้มีประมาณเล็กน้อย ขออนุโมทนาครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 2

บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณ

น้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตก

ลง (ทีละหยาดๆ ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาป

แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 15 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
supakorn
วันที่ 15 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 15 ม.ค. 2551
เชิญคลิกฟังที่นี่ค่ะ อกุศลในชีวิตประจำวัน
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 16 ม.ค. 2551
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
olive
วันที่ 20 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ