ต้องอยู่ร่วมกับคนเจ้าอารมณ์

 
yuphin
วันที่  10 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5804
อ่าน  4,098

รู้สึกต้องคอยเตือนสติตัวเองอยู่เสมอเพื่อไม่ให้คิดอกุศลกับผู้อื่น ซึ่งถ้าเป็นอดีตคงต้องมีการปะทะคารมกันมากกว่า นี้ อาจมีตอบโต้ด้วยวิธีต่างๆ ที่เป็นอกุศล แต่ปัจจุบันรู้สึกละอายใจที่จะทำเช่นนั้น แต่ก็มีบ้างเมื่อขาดสติทำให้ทุกข์ใจที่ต้องเผชิญคนเจ้าอารมณ์ยิ่งเฉยเงียบก็ยิ่งได้ใจ แสดงความก้าวร้าวมากขึ้น เหตุผลไม่ต้องพูดกัน สภาพเช่นนี้มีทั้งคนที่บ้านและที่ทำงาน ดิฉันควรยึดหลักธรรมข้อใดในการก้าวข้าม เจริญเมตตาบ้างครั้งก็เอาไม่อยู่ พิจารณาเหตุปัจจัยสติก็มาไม่ทันเหตุการณ์ ดิฉันขอความกรุณาช่วยชี้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ผู้ที่ได้อบรม ขันติ เมตตา และปัญญา จนถึงที่สุดแล้ว ย่อมอดทนต่อกายและวาจาที่ไม่เหมาะสมของผู้อื่นได้ อนึ่ง ควรทราบว่าทางแห่งถ้อยคำของผู้อื่นนั้นบางครั้งกล่าวไม่ถูกกาลเทศะบ้าง กล่าวด้วยโทสะบ้าง กล่าวด้วยเมตตาบ้าง กล่าวถ้อยคำที่น่าฟังบ้างไม่น่าฟังบ้าง เป็นธรรมดาของผู้ที่มีกิเลส แต่พระธรรมคำสอนทรงแนะนำสาวกให้เป็นผู้อบรมเจริญเมตตา ดังข้อความในพระสูตรดังนี้

เชิญคลิกอ่าน...

ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวมี ๕ประการ [กกจูปมสูตรที่ ๑]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ต้องอบรมปัญญาให้รู้ความจริงของสภาพธรรมะที่กำลังเกิดในขณะนั้น ไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แช่มชื่น
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ปัญญารู้จิตได้ดีที่สุดครับ เจตสิกใดก็ไม่ฉลาดเท่ากับปัญญา ซึ่งเมื่อได้ปัจจัยเกิด ขณะนั้นแม้จะได้รับอกุศลวิบากเป็นลูกศรแห่งทุกข์ดอกแรก ปัญญาก็จะกระทำกิจเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมหนึ่งเท่านั้นที่เกิดดับตามเหตุปัจจัย เพราะมีกายจึงต้องรับผลของกรรมในอดีตซึ่งสุกงอมจนให้ผลได้ เช่น สีที่ไม่น่าพอใจ เสียงที่ไม่น่าปรารถนาเป็นต้น แต่เมื่อเรายังเป็นปุถุชนผู้มีกิเลสครบ ย่อมมีเหตุปัจจัยให้ต้องถูกแทงด้วยลูกศรดอกที่สองอย่างรวดเร็วตามมา คือโทสมูลจิต ที่ทำให้เกิดความขุ่นเคือง เร่าร้อนใจ เมื่อสติเกิดระลึกและปัญญาก็รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ว่าไม่ใช่เรา ขณะนั้นย่อมไม่เดือดร้อนครับ แต่ภายหลังที่สติและปัญญาดับไป ก็ย่อมมีปัจจัยให้เกิด "ความเห็นผิด" ในโลกของความคิดนึกของตนเองว่ามีเรา มีเขา เป็นเขาทำไม่ดีกับเรา เป็นเราทำไม่ดีกับเขา เป็นเขาที่แย่ลง เป็นเราทำไม่ดีอีกแล้ว เป็นเราที่ยังดีไม่พอ ขณะที่เดือดร้อน ขณะนั้นเป็นเรา ไม่เป็นขณะที่ปัญญาเกิดครับ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตประจำวันกับผู้คนรอบข้าง (รูป+นาม ภายนอก) ก็เป็นสนามทดสอบความเข้าใจในพระธรรมได้เป็นอย่างดีทีเดียว ถ้าเกิดว่า ความเข้าใจมีมากปัญญาเจริญมาก ทุกข์ใจก็น้อยลง แต่ถ้าเกิดว่าความเข้าใจมีน้อย ปัญญายังเจริญไม่พอ ทุกข์ใจก็ย่อมมากตามกำลังของอกุศลที่เกิดในขณะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญต่อไปโดยการฟังพระธรรมนะครับ เพราะไม่มีวิธีอื่นอีกแล้วจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 447

ข้อความบางตอนจาก

เรื่องอุตตราอุบาสิกา

อกฺโกเธน ชิเน โกธ อสาธุ สาธุนา ชิเน ชิเน กทริย ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทิน

"พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง"

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ...

เป็นดังผ้าเช็ดธุลี ไม่เดือดร้อน

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ