อันตราย ๒ อย่าง

 
pirmsombat
วันที่  6 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5769
อ่าน  1,078

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๒๒] คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-


คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ
อย่าง ๑

อันตรายที่ปกปิดอย่าง ๑.



อันตรายที่ปรากฏ
เป็นไฉน? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสื่อเหลือง
หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร


คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทาง
โสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ, ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และ สัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.


อันตรายที่ปกปิด
เป็นไฉน? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโน
ทุจริต. กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด.

คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย?

เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่าอันตราย.

เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร. อันตรายเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น

เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธาน
ไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม

เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้อื่นมีสติสัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔

ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญพละ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม

จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.


เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย อย่างไร? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น

ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.


สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่านย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส อันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความ
ดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ

เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต .............เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ.............เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...........เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย..........เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการ ฉะนี้.

................................................................

อันตรายที่ปรากฏเป็นอันตรายที่เราทุกคน

ระวังและป้องกันได้ผลดีพอสมควรอยู่แล้ว

แต่อันตรายที่ปกปิดทำอันตรายต่อเรามาก

เพราะเราไม่รู้หรือไม่ระวัง

จึงทำอกุศลและทุจริตทั้งปวง

นอกจากนั้นยังกั้นไม่ให้ทำกุศลต่างๆ มากมาย

ยังความเสื่อม และ อันตรธาน แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ดังนั้นควรศึกษาและระวังอันตรายที่ปกปิดมากๆ นะครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 8 ธ.ค. 2550

กิเลสของสัตว์เดรัจฉานเปิดเผย แต่กิเลสของมนุษย์ซ่อนเร้น ในพระไตรปิฏกแสดงไว้

ว่าสัตว์ตื้น แต่มนุษย์รกชัฏ (กิเลส) เมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี เหมือนญาติ มิตร สหาย แต่ภาย

หลังกลายเป็นศัตรู จิตมนุษย์ยากไซร้หยั่งถึงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
dron
วันที่ 10 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ