เรื่องของความเข้าใจผิด - พระธรรมทินนเถระ

 
พุทธรักษา
วันที่  6 พ.ย. 2550
หมายเลข  5404
อ่าน  1,429

ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งท่านผู้เขียนได้อ้างอิงมาจากคาถาในพระไตรปิฏกดังนี้คือ. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ขุททกวัตถุ วิภังค์นิทเทส อธิมานนิทเทส หน้า ๖๔๑-๖๔๒

มีเรื่องเล่าว่า พระธรรมทินนเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ แตกฉานในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ได้ระลึกถึงพระมหานาคเถระ ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน ทราบว่าท่านยังเป็นพระปุถุชนอยู่ ท่านระลึกถึงอาจารย์ดังนี้แล้ว จึงได้ไปหาอาจารย์ ไหว้ท่านแล้ว ขอโอกาสถามปัญหา เมื่อได้โอกาส ก็ถามปัญหาพันข้อ พระอาจารย์ก็กล่าวแก้ได้ทุกข้อ พระธรรมทินนเถระก็ชมว่า ญาณปัญญาของท่านอาจารย์แหลมคมยิ่ง แล้วถามว่า ท่านอาจารย์บรรลุธรรมนี้ตั้งแต่เมื่อไร อาจารย์ตอบว่า บรรลุได้เมื่ออายุได้ ๖๐ พรรษา ศิษย์ก็ถามว่า ท่านอาจารย์ยังใช้สมาธิอยู่หรือ อาจารย์ก็ว่า ผมไม่หนักใจเลยในการใช้สมาธิ พระธรรมทินนเถระก็ขอให้อาจารย์เนรมิตช้างให้เชือกหนึ่ง อาจารย์ก็เนรมิตช้างเผือก ลูกศิษย์ก็ให้เนรมิตช้างให้กางหู เหยียดหาง เอางวงใส่ปาก ส่งเสียงร้องกึกก้อง วิ่งตรงมายังอาจารย์ อาจารย์ก็ทำตามคำขอ ครั้นเห็นช้างที่ตนเนรมิตส่งเสียงร้องก้องมา ก็ตกใจลุกหนี ลูกศิษย์ได้จับชายจีวรไว้แล้วกล่าวว่า "ความหวาดกลัวย่อมมีแก่พระอรหันต์ด้วยหรือขอรับ"

อาจารย์ได้ยินดังนั้นก็ทราบว่า ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงขอให้ลูกศิษย์เป็นที่พึ่ง ลูกศิษย์ก็ว่า ที่กระผมมาครั้งนี้ก็เพราะต้องการจะเป็นที่พึ่งของอาจารย์ กล่าวแล้วก็บอกกรรมฐาน ให้อาจารย์เรียนกรรมฐาน แล้วก็เดินไปสู่ที่จงกรม เพียงก้าวเดินไป ๓ ก้าวเท่านั้น ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ การที่พระมหานาคเถระ "เข้าใจผิด" คิดว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนั้น เพราะท่านเป็นผู้ได้ฌาณอภิญญา สมาบัติ กิเลสสงบนิ่งอยู่ ไม่เกิดแก่ท่านมานานนับสิบปี แต่ครั้นได้ปัจจัยที่สมควร กิเลสก็เกิดขึ้นอีก เหมือนยกก้อนหินที่ทับหญ้าไว้ออก หญ้าก็งอกขึ้นดังเดิม ฉันใดฉันนั้น.

ขอเรียนถามท่านวิทยากรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัส ปรารภถึงคาถาข้างต้นไว้ว่าอย่างไรบ้างคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 พ.ย. 2550

ในอรรถกถากล่าวว่า ความเข้าใจผิดเป็นสัทธรรมปฏิรูป วิปัสสนูปกิเลส

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร [นิทานวรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
takecare
วันที่ 6 พ.ย. 2550

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

แสดงเพื่อให้เข้าใจในเรื่องการข่มกิเลส (นิวรณ์) ด้วยอำนาจฌาน กิเลสย่อมไม่ฟุ้งขึ้น เพราะอำนาจฌาน จึงเข้าใจผิดว่าบรรลุ แต่สุดท้ายก็บรรลุด้วยการข่มกิเลสที่เป็นอริยมรรค ข่มกิเลสโดยเด็ดขาด ดังตัวอย่างที่ใกล้เคียง อันแสดงถึงการข่มกิเลสด้วยฌาน

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ข่มกิเลสด้วยฌาน [เอกนิบาต]

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
takecare
วันที่ 6 พ.ย. 2550

แสดงอีกนัยที่เข้าใจผิดเพราะข่มกิเลสได้เพราะอำนาจวิปัสสนา จึงสำคัญว่าบรรลุ เมื่อเข้าใจถูกก็บรรลุด้วยอริยมรรค เป็นการข่มกิเลสได้หมด ด้วยอริยมรค ไม่ใช่ด้วยวิปัสสนาดังข้อความในพระไตรปิฎก

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ข่มกิเลสด้วยวิปัสสนา [เอกนิบาต]

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 7 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาในธรรมทานของวิทยากรทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
olive
วันที่ 8 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
อิสระ
วันที่ 8 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ