ภาษาบาลีสัปดาห์ละคำ [คำที่ ๖๓๘] สมาน

 
Sudhipong.U
วันที่  9 พ.ย. 2566
หมายเลข  46979
อ่าน  348

คำบาลี ๑ คำ คติธรรมประจำสัปดาห์ “สมาน

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

สมาน ออกเสียงตามภาษาบาลีว่า สะ - มา - นะ มาจากคําว่า บทหน้า ลงในความหมายว่า มี หรือ ประกอบด้วย กับคําว่า มาน (ความสําคัญตน ความถือตน) รวมกันเป็น สมาน แปลว่า บุคคลผู้มีมานะ หรือ บุคคลผู้ประกอบด้วยมานะ เป็นอีก ๑ คําที่แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีจริง คือ มานะหรือ ความสําคัญตน เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว สัตว์ บุคคล ตัวตนไม่มี มีแต่สภาพธรรมเท่านั้น เมื่อมีสภาพธรรม เกิดขึ้นเป็นไป จึงหมายรู้ได้ว่าเป็นอะไร เช่นใครก็ตามเมื่อยังมีมานะ ก็เรียกว่าบุคคลผู้มีมานะ สําหรับมานะหรือความสําคัญตนนั้น มีการเปรียบเทียบกับผู้อื่นว่า ดีกว่าเขา เสมอกันกับเขา หรือ เลวกว่า เขาเป็นอกุศลธรรมประการหนึ่งที่มีจริงๆ ใครก็ตามที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมีอยู่ เป็นการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของธรรมซึ่งมีจริงๆ แต่เป็นอกุศลธรรมที่เมื่อได้เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นทํากิจหน้าที่ ไม่อยู่ในอานาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

ข้อความในพระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์ ได้แสดงถึงความเป็นจริงของมานะไว้ดังนี้

“การถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือ ตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด การยกตน การเกิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความมี จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่ามานะ”

ข้อความในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร ได้แสดงตัวอย่างของมานะ ไว้ดังนี้

“สําหรับคนดีกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต, พระราชา ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทางราชทรัพย์ หรือว่า ทางไพร่พลพาหนะ ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วย ศีลคุณและธุดงคคุณ เป็นต้น”


พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นคําอนุเคราะห์เกื้อกูล เพื่อให้ผู้ฟังผู้ศึกษาได้เกิดปัญญา เป็นของตนเอง และพระธรรมก็เป็นเครื่องฝึกที่ดีสําหรับผู้ที่ยังมีอกุศลธรรมอยู่ จากที่มากไปด้วยอกุศลธรรม ประการต่างๆ มากมาย ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อได้รับการฝึกด้วยพระธรรม ซึ่งก็คือด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญ ขึ้นจากการได้ฟังพระธรรมได้สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลําดับ ถึงแม้ว่าอกุศลธรรมที่ได้สะสมมาจะ มีมาก แต่ก็ไม่มีกําลังเท่ากับธรรมฝ่ายดีคือ กุศลธรรม เพราะกุศลธรรมเท่านั้นที่จะเป็นธรรมที่ละคลายขัด เกลาอกุศล จนกระทั่งสามารถดับอกุศลได้อย่างเด็ดขาด เมื่อกุศลถึงขั้นที่เป็นโลกุตตรกุศล ซึ่งก็คือ มรรคจิต เกิดขึ้นทํากิจดับกิเลสตามลําดับขั้น เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมก็จะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกที่ค่อยๆ เจริญขึ้น จากที่เคยคิดเอาเองว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ก็ ก็เพราะ จะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงของธรรมตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง อาศัยเหตุที่สําคัญคือการฟังพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทในแต่ละคําที่ได้ยินได้ฟังซึ่งมี ความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างมาก เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด แม้แต่ในเรื่องของมานะ ก็ เช่นเดียวกัน

ใครก็ตามที่ยังไม่สามารถดับมานะได้ก็ยังเป็นบุคคลผู้มีมานะ เพราะยังมีพืชเชื้อของมานะที่เมื่อได้เหตุ ได้ปัจจัย มานะก็เกิดขึ้นทํากิจหน้าที่ มานะเป็นอกุศลธรรมประเภทหนึ่ง เป็นความสําคัญตน มีการ เปรียบเทียบเกิดขึ้นว่า ดีกว่าเขา เสมอกันกับเขาหรือต่ํากว่าเขา เป็นธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุ ปัจจัย ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ก็ยังมีเหตุปัจจัยที่จะทําให้มานะเกิดขึ้นเป็นไปได้ ตามการสะสมของแต่ละบุคคล มานะเมื่อเกิดขึ้นก็เกิดร่วมกับจิตที่เป็นโลภมูลจิต จิตที่มีโลภะเป็นมูล) ประเภทที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย นี้คือความเป็นจริงของธรรม จะรู้หรือไม่รู้ก็ตามความจริงก็เป็นเช่นนี้

ข้อที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งคือ เพราะเหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงเรื่องของอกุศล ธรรมไว้เป็นอันมาก ซึ่งมีข้อความปรากฏเป็นอย่างมากทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา นั่นก็เป็น เพราะว่าอกุศลธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง และถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง จะรู้ได้อย่างไรว่า แต่ละคนสะสมสิ่งที่ไม่ดีมามากมายแค่ไหนแล้วจะขัดเกลาสิ่งที่ไม่ดีคืออกุศลธรรมเหล่านั้นได้อย่างไร

ทั้งหมดที่ได้ฟังได้ศึกษาก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา เกื้อกูล ให้เห็นถึงความมากมายและหลากหลายของอกุศลธรรมในชีวิตประจําวัน ซึ่งจะต้องขัดเกลาด้วยกุศลธรรม และความเข้าใจถูกเห็นถูกต่อไป หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นไปเพื่อละกิเลสทั้งหลาย รวมถึงมานะด้วย เพราะมานะจะถูกดับได้อย่างหมดสิ้นเมื่อได้บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์

มานะซึ่งเป็นความสําคัญตนนั้น ย่อมไม่มีใครชอบ ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมี แต่ว่าความ หยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป ทําให้เห็นว่าอกุศลในชีวิตประจําวันมีมากจริงๆ แล้วแต่ว่าใครจะ สําหรับการขัดเกลา สะสมหนักมากไปในทางใดหรือว่าใครจะสามารถขัดเกลาให้เบาบางลงได้ในแต่ละทาง มานะรวมถึงอกุศลประการต่างๆ นั้น ก็ต้องอาศัยการเจริญกุศลทุกประการพร้อมกับการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจําวันนั่นเอง จะขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมพิจารณาไตร่ตรองธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เลย ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะทําให้รู้จักกิเลสของตนเองตามความเป็นจริงและสามารถดับกิเลสได้ในที่สุด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ