Thai-Hindi 27 May 2023

 
prinwut
วันที่  27 พ.ค. 2566
หมายเลข  46031
อ่าน  502

Thai-Hindi 27 May 2023


- เรากำลังศึกษาเรื่องจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) ทำไมเป็นอเหตุกจิต (เพราะไม่มีเหตุ) แสดงว่า จิตหลากหลายมาก จิตที่มีเหตุก็มี จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี ใช่ไหม

- จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๑๘ ดวง เป็นกี่ชาติ (๒ วิบากกับกิริยา) นี่เป็นสิ่งที่เรากล่าวถึงบ่อยๆ เพราะเหตุว่า ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนๆ ก็ตามต้องมีจิตที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีจิตที่เกิดที่ไหนเลย ในนรก เป็นมนุษย์เป็นเปรต เป็นเทพเทวดาที่จะไม่มีอเหตุกจิต

- ได้ยินคำว่า “จิต” และมีหลากหลายมาก แต่แม้จิตอะไรยังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง เพียงแต่เริ่มฟังเริ่มเข้าใจความเป็นไปของจิต ถ้าไม่มีจิตที่เป็นอเหตุกะเกิดโลกก็ไม่ปรากฏและถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็น “ธาตุรู้” เกิดเลยก็ไม่มีอะไร

- นี่แสดงความไม่รู้ว่าไม่รู้ว่า ตั้งแต่เกิดต้องมี “ธาตุรู้” เกิด เพราะฉะนั้น “โลก” หรือ “โลกะ” ก็คือการเกิดของสิ่งต่างๆ แต่ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่รู้จักเลยว่า ขณะนี้เป็นอะไร

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) จิตเป็นอะไร (จิตคือสิ่งที่มีจริง เกิดและรู้) เคยเข้าใจอย่างนี้ไหม (ไม่) เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่รู้ความจริงของทุกชาติทุกสิ่งที่มี

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่รู้เลย แสดงถึงความลึกซึ้งของสิ่งที่มีตลอดเวลาแต่ไม่ปรากฏให้รู้ตามความเป็นจริง

- ขณะเกิด “ปฏิสนธิ” ต้องมีแต่หลากหลายมากทำให้มีคนต่างๆ มีสัตว์ประเภทต่างๆ เพราะปฏิสนธิจิตขณะแรกต่างกันจึงปรากฏว่า สิ่งที่เกิดต่างๆ กันเป็นคนบ้าง เป็นสัตว์บ้าง ฉลาดบ้าง โง่บ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้าง เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจจิตประเภท ๑ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าจิตประเภทอื่นคือ อเหตุกจิต ๑๘ ดวง

- การสนทนาธรรมทุกครั้งพูดถึงสิ่งที่เคยพูดแล้วเคยฟังแล้ว พูดแล้วพูดอีกๆ เพื่อจะได้ไม่ลืมสิ่งที่เคยได้ฟังแล้วและเข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่พูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่มีทั้งวันเราก็ลืมว่า ขณะนี้ต้องมีจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุคือ “อเหตุกจิต”

- มีการเกิดเป็นคนเป็นสัตว์อยู่ตลอดเวลา แต่จิตที่เกิดเป็นคนเป็นสัตว์ต่างกันอย่างไร เราจะพูดถึงจิตที่เป็นอเหตุกะก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจว่า มีจิตที่เป็นอเหตุกะแต่ไม่รู้

- จิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นรู้แต่จิตหลากหลาย เพราะฉะนั้น จิตที่รู้มีหน้าที่หรือจิตหลากหลายมากต่างๆ กันไปสุนัขที่บ้านคุณอาช่าเกิดต่างกับเด็กเกิด คนเกิด เทวดาเกิดใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้น อเหตุกจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (มีตอบว่าสันตีรณ) ไม่ได้ถาม ถามว่า อเหตุกจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ได้) เห็นไหมต้องไม่ลืม ถ้าตอบเรื่องอื่นจะไม่ได้ความเข้าใจ แต่ถ้าคิดถึงคำถามตอบให้ตรงจะเพิ่มความเข้าใจขึ้นทีละน้อยๆ นี่คือ ความลึกซึ้งของธรรมที่ต้องศึกษาแบบนี้จึงสามารถที่จะรู้ความลึกซึ้งได้

- เพราะฉะนั้น ฟังคำถามอีกครั้งหนึ่ง เป็นการทบทวนที่เราพูดเรื่องอเหตุกจิตเกือบครบ ๑๘ แต่จะต้องเข้าใจแต่ละ ๑ ชัดเจน ไม่ใช่รีบร้อนที่จะจำชื่อจำเรื่องต่างๆ แต่ความเข้าใจสำคัญที่สุด

- ต้องไม่ลืมจิตต่างกันหลากหลายแต่รวมประเภทใหญ่ๆ เป็นเท่าไหร่ (๔) อะไร (กุศล อกุศล วิบากกิริยา) โดยชาติคือการเกิดขึ้น แต่ถามถึงจำนวนทั้งหมดที่เป็นประเภทใหญ่ๆ เพราะทั้งหมดกล่าวไม่ได้เลยว่าเท่าไหร่มากมายมหาศาล แต่ทั้งหมดเมื่อรวมเป็นประเภทใหญ่ๆ จิตทั้งหมดรวมเป็นประเภทใหญ่เป็นเท่าไหร่ เห็นไหม นี่เป็นการพิสูจน์การฟังคำถาม (โดยชาติ จิตมี ๔ ชาติ โดยเหตุก็มี ๒ คือมีเหตุกับไม่มีเหตุ)

- นี่ไม่ได้ฟังคำถามจึงต้องฟัง จิตทั้งหมดหลากหลายเกินที่จะนับได้แสนโกฏิประเภทแต่ประมวลแล้วเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้เท่าไหร่ จิตมีจำนวนเท่าไหร่ (๒) เท่านั้นเองหรือ อะไร (อเหตุกะกับสเหตุกจิต) แต่ทั้งหมดรวมทั้งหมดเลยเป็นเท่าไหร่? (จำได้ประมาณนั้น)

- เห็นไหม ถ้าเราฟังตัวเลขจะมีประโยชน์ไหม เราลืมได้ ฟังอะไรก็ลืมได้แต่ถ้าเรามีความเข้าใจแม้เพียง๑ ที่มีจริงๆ รู้ว่า ยังมีที่ไม่เข้าใจมากมาย เราเพิ่งจะรู้สิ่งที่ไม่รู้เลย เพียงเริ่มเข้าใจเท่าที่เรากำลังฟังแสดงให้เห็นถึงความลึกซึ้งอย่างยิ่งที่ไม่ประมาทเลยในการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการจำจำนวนไม่มีประโยชน์แต่การเข้าใจแต่ละ ๑ มีประโยชน์

- เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มทีละเล็กทีละน้อย เริ่มจากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก่อนเพราะมีทั้งวัน อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) มีกี่ชาติ (๒) เริ่มแล้วที่จะไม่ลืมและเข้าใจ ๒ ชาติมีชาติอะไรบ้าง (วิบากกับกิริยา) อเหตุกะที่เป็นวิบากมีเท่าไหร่ (๑๕) อีก ๓ เป็นอะไร (กิริยา) แสดงว่าเป็นกุศลอกุศลไม่ได้ ใช่ไหม

- เพราะฉะนั้นอเหตุกจิตที่เป็นวิบากทั้งหมดเท่าไหร่ (๑๕) ต่างกันเป็น ๒ ประเภทใช่ไหม เป็นอะไรเท่าไหร่ (อกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบาก ๘)

- ถามว่า วิบากที่เป็นอเหตุกะทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ไม่ได้) อกุศลวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๗) ทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ได้) แมวเกิดเพราะจิตอะไร ปฏิสนธิจิตของแมวเป็นจิตอะไร (เกิดเป็นแมวเป็นผลของอกุศล) จิตที่เป็นอกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลมีเท่าไหร่ (๗) อกุศลวิบากทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ได้) เห็นไหมว่าต้องคิดไม่ใช่จำ

- เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากจิตมีเท่าไหร่ (๗) อกุศลวิบากจิตดวงไหนทำปฏิสนธิกิจ (สันตีรณะ) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ได้) จิตอะไรทำกิจปฏิสนธิได้ อเหตุกจิตอะไรทำกิจปฏิสนธิได้ (สันตีรณะ)

- อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำกิจเกิดเป็นช้างได้ไหม (ได้) เพราะฉะนั้น สันตีรณอกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิเป็นสัตว์เดรัจฉานได้แน่นอนและทำกิจอะไรอีกที่เป็นปฏิสนธิจิตเมื่อไหร่ขณะไหน หมายความว่า อกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณทำกิจปฏิสนธิเป็นช้างก็ได้ เป็นมดก็ได้ และทำกิจปฏิสนธิอะไรอีกนอกจากช้างมดเป็นอะไรอีกได้ (ยกเว้นสุคติภูมิก็เกิดได้ทุกที่เป็นเปรตก็ได้ เป็นอะไรก็ได้)

- หมายความว่า เดี๋ยวนี้เข้าใจมั่นคง อกุศลวิบากจิตเป็นผลของอกุศลกรรมทั้งหมดมี ๗ แต่เฉพาะสันตีรณอกุศลวิบากเท่านั้นที่ทำปฏิสนธิกิจได้

- ฆ่ามดไปเกิดในนรกได้ไหม (ได้) เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม กรรมที่เป็นอกุศลทั้งหมดมากหรือน้อยเล็กใหญ่ประการใดก็ตามสามารถที่จะทำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิได้

- ประมาทไม่ได้เลย กรรมเป็นสภาพที่ปกปิดแม้กรรมเล็กน้อยก็สามารถที่จะทำให้เกิดในอบายภูมิในนรกเป็นสัตว์เดรัจฉานได้เพราะว่า สภาพธรรมปกปิดไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่า กรรมใดจะให้ผลที่ไหนเมื่อไหร่

- คนที่ทำกุศลไว้มาก แต่เพียงพูดไม่จริงก็ตกนรกได้ ใครไม่ตกนรก ใครไม่เกิดในอบายภูมิ (พระอริยบุคคล) เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้เลย

- กุศลทุกชนิดทำให้เกิดในอบายภูมิได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากสันตีรณทำกิจปฏิสนธิได้และกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๘) กุศลกรรมทำให้เกิดอเหตุกกุศลวิบากมากกว่า ๘ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมทำให้เกิดวิบากมากกว่า ๗ ได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น ทำไมกุศลกรรมทำให้มีอเหตุกกุศลวิบาก ๘ ต่างกันตรงไหน (ต่างกันที่สันตีรณะเป็นผลของกุศลมี ๒ ของอกุศลมี ๑ เพราะเหตุต่างกัน กุศลมีกำลังมากและน้อยต่างกัน)

- เพราะฉะนั้น สันตีรณะที่เป็นอเหตุกกุศลวิบาก ๒ ดวงต่างกันตรงไหน (ต่างตรงอุเบกขาเวทนากับโสมนัสเวทนา) ต้องไม่ลืม

เพราะฉะนั้น อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากกับสันตีรณกุศลวิบาก ๒ มีกิจต่างกันไหม อกุศลวิบากอเหตุกะกับสันตีรณะที่เป็นกุศลวิบากมีกิจต่างกันไหม (ไม่แน่ใจ ไม่ทราบ)

- อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากกับสันตีรณกุศลวิบากทำกิจต่างกันหรือเหมือนกัน (ถ้าพูดถึงสันตีรณะก็ทำกิจเดียวกันนอกจากนั้นไม่ทราบ ตรงสันตีรณอกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้แต่สันตีรณกุศลวิบากไม่แน่ใจ)

- อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำได้กี่กิจ (๒ สันตีรณกับปฏิสนธิ) ๒ เท่านั้นหรือ (ทำจุติกับภวังค์ด้วย) ทั้งหมดที่รู้จักแล้วอกุศลวิบากสันตีรณะทำได้กี่กิจเท่าที่ทราบแล้ว (๔ กิจ) แล้วโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำได้กี่กิจเท่าที่ทราบแล้ว (๑) ทำกิจอะไรไม่ได้ (ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์และจุติไม่ได้)

- ถูกต้อง ยังมีอีกกิจ ๑ ที่ยังไม่กล่าวถึงเพราะยังไม่ถึงเวลา เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า อเหตุกอกุศลวิบากสันตีรณทำได้ ๕ กิจแต่โสมนัสสันตีรณะที่เป็นกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะทำได้ ๒ กิจ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของการที่จะเข้าใจธรรมความลึกซึ้งของธรรมยิ่งกว่านี้มาก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เริ่มละเอียดที่จะพิจารณารอบคอบ ธรรมที่จะได้ฟังต่อไปละเอียดกว่านี้มาก

- เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ใช่สำหรับจำ แล้วก็ลืมแน่นอนถ้าเพียงจำแต่ถ้ารู้จักธรรมเข้าใจธรรมละเอียดขึ้นค่อยๆ ละคลายความเป็นเรา เพราะฉะนั้น นี่เป็นหนทางเดียวที่จะไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเพราะเข้าใจขึ้นในสิ่งที่กำลังมี นี่เป็นหนทางที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหนทางที่จะเห็นคุณที่สามารถจะทำให้รู้แจ้งความจริงที่กำลังมีขณะนี้ได้จนสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับ

- เทวดามีอเหตุกจิตไหม (มี) มดมีอเหตุกจิตไหม (มี) เพราะฉะนั้น ไม่ลืมว่า “ไม่ใช่เรา” แต่เป็นธรรมแต่ละ ๑ ที่หลากหลายมากที่กำลังมีปรากฏเดี๋ยวนี้ด้วย

- อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก อุเบกขาสันตีรณอเหตุกกุศลวิบาก ต่างกันหรือไม่ต่างกัน กุศลวิบากกับอเหตุกอกุศลวิบากต่างกันหรือเหมือนกัน (ไม่ต่างกัน) เดี๋ยวก่อนฟังดีๆ อเหตุกสันตีรณอกุศลวิบากกับกุศลวิบากต่างกันหรือเหมือนกัน (อันหนึ่งเป็นผลของกุศลกรรมอีกอันเป็นผลของอกุศลกรรม) ทั้ง ๒ ทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (สันตีรณอกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้ สันตีรณกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิไม่ได้)

- เราพูดกันมาตั้งแต่ต้น เห็นไหมว่า ต้องซ้ำแล้วซ้ำอีกในความสับสนในความต่างกันของจิตที่เป็นอกุศลวิบากอเหตุกสันตีรณะกับจิตที่เป็นกุศลวิบากอเหตุกสันตีรณะต่างกันเพราะอันหนึ่งเป็นผลของกุศลอีกอันหนึ่งเป็นผลของอกุศลใช่ไหม

- เท่าที่เราเรียนมาแล้วอเหตุกสันตีรณอกุศลวิบากทำได้กี่กิจ (๔) ฟังนะคะ อกุศลวิบากอเหตุกสันตีรณะทำได้ ๔ กิจเท่าที่ทราบที่เรียนมาแล้วแต่ทั้งหมดทำได้ ๕ กิจ และอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากทำกิจได้กี่กิจเท่าที่เรียนแล้ว (เท่าที่ฟังมาทำสันตีรณกิจ กิจอื่นไม่ทราบ) เมื่อกี้เราพูดใช่ไหมว่า ๒ เมื่อกี้เราพูดแล้วใช่ไหมว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำกี่กิจและอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำกี่กิจ เราพูดแล้วใช่ไหม (๕ กับ ๒) เรายังไม่พูดถึงกิจที่ ๕ เอา ๔ กิจเท่าที่พูดแล้ว

- ตั้งต้นใหม่ อุเบกขาสันตีรณทำได้กี่กิจ (ไม่ได้พูดถึงกุศลหรืออกุศลใช่ไหม) เดี๋ยวนี้เราจะพูดอีกครั้งทบทวนใหม่เพราะคำตอบไม่ถูก (ถามใหม่อีกครั้ง)

- ถามว่า อเหตุกอกุศลวิบากที่เป็นอุเบกขาทำได้กี่กิจเท่าที่เรียนแล้วทั้งหมด ๕ กิจแต่เรียนแล้ว ๔ กิจ (๔) อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำได้กี่กิจที่เรียนแล้ว (๒) กิจอะไร ๒ (สันตีรณกิจแต่อีกกิจยังไม่ทราบ)

- เราพูดแล้วฟังดีๆ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำได้ ๔ กิจที่เราได้เรียนแล้ว ยังมีอีก ๑ กิจยังไม่ได้เรียน และอเหตุกกุศลวิบากสันตีรณะทำได้ ๔ กิจเท่าที่เราได้เรียนแล้วใช่ไหม (ไม่ได้จำแบบนี้จำว่าอกุศลวิบากทำได้ ๔ กิจ กุศลวิบากทำได้ ๒) สันตีรณะมี ๒ ต่างกันที่เวทนา (ยังไม่ได้พูดถึงตรงนี้) พูดแล้วตั้งแต่ต้นว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำปฏิสนธิ ภวังค์ จุติและสันตีรณะ ๔ กิจเท่ากันสำหรับอุเบกขาสันตีรณะยังไม่ได้พูดถึงโสมนัสสันตีรณะ

- เพราะฉะนั้น ๒ ดวงต่างกันตรงไหน อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำได้ ๔กิจเท่าที่ทราบอีกกิจ ๑ ยังไม่ได้กล่าวถึง ไม่ต่างกันในกิจแต่ต่างกันที่ผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น กุศลวิบากอเหตุกที่เป็นอุเบกขาทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ได้) ต่างกันตรงไหนทำปฏิสนธิเหมือนกันแต่ต่างกันตรงไหน (ต่างตรงที่ภูมิถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำให้เกิดในอบายภูมิถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดในสุคติภูมิ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 27 พ.ค. 2566

- นี่คือความต่างแล้วใช่ไหม (ต่างกันที่ถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำให้เกิดในอบายภูมิแต่ถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดในภูมิที่สูงขึ้น) สูงขึ้นหมายความว่าอย่างไร (ในสุคติภูมิเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา) เพราะฉะนั้น คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน คนที่เกิดด้วยอเหตุกไม่มีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยเลยเพราะเป็น “อเหตุกะ”

- เพราะฉะนั้นกุศลกรรมมีต่างกันมากมาย กุศลกรรม “อ่อนๆ ” ไม่มีกำลังทำให้เกิดกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณที่ทำกิจปฏิสนธิเพียงไม่ไปสู่อบายภูมิแต่เป็นคนที่บ้า ใบ้ บอด หนวก พิการต่างๆ เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะรู้ได้ของความต่างทำไมบ้า ใบ้ บอด หนวกตั้งแต่กำเนิดเพราะเป็นผลของกุศลอย่างอ่อนที่ไม่ทำให้ไปสู่อบายภูมิ เกิดในสุคติภูมิแต่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาไม่เหมือนอย่างคนธรรมดา มีไหมคนอย่างนั้นเคยเห็นไหม (มี)

- เพราะฉะนั้นทราบได้ว่า เป็นผลของกุศลที่อ่อนมากเพียงไม่ทำให้เกิดในอบายภูมิ เกิดเป็นมนุษย์แต่ผิดปกติธรรมดาแต่เป็นเรื่องที่ละเอียดมากยากที่จะรู้ได้เพราะต้องเป็นตั้งแต่เกิด และเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า กรรมที่ทำให้เขาตาบอดหรือพิการแต่กำเนิดนั้นเป็นผลของกรรมอะไรเพราะเราไม่รู้ว่าขณะนั้นตั้งแต่เกิดต่อไปเขาจะตาบอดหูหนวกหรือเปล่า

- พิการตั้งแต่กำเนิดหมายความว่า ตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่ถึงเวลาตาจะเกิดก็ไม่เกิด หรือประสาทหูจะเกิดก็ไม่เกิด ถ้าเกิดแล้วเป็นปกติทุกอย่างแต่ภายหลังตาบอดไม่ใช่ปฏิสนธิด้วยอเหตุกกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณะ

- เกิดแล้วตาจะบอด หูจะหนวก แขนจะขาด อะไรก็ได้เพราะกรรม ๑ ที่ถึงเวลาให้ผล ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรู้ความละเอียดขณะไหนเป็นกรรม ขณะไหนเป็นผลของกรรมอะไรเมื่อไหร่

- เกิดในโลกนี้เป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรม ถ้าไม่พิการตั้งแต่กำเนิดก็ไม่ได้เกิดด้วยอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก คุณอาคิล คุณอาช่า คุณมานิช เกิดปฏิสนธิด้วยจิตอะไร (เป็นผลของกุศลกรรม) ที่ไม่ใช่สันตีรณกุศลวิบากอเหตุกใช่ไหม (ไม่ใช่)

- เพราะฉะนั้น กุศลกรรมให้ผลเป็นกุศลวิบากมากกว่าอกุศลกรรม กุศลกรรมให้ผลเป็นวิบากมากกว่าอกุศลกรรมให้ผลเป็นวิบาก เพราะฉะนั้นคนต่างกันมาก คนที่มีผลดีมากๆ เป็นผลของกุศลกรรมมากๆ ที่มีกำลัง บางคนฉลาด บางคนสนใจธรรม บางคนไม่สนใจเลยเพราะกรรมต่างกัน

- เพราะฉะนั้น คนที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นคนดีทำกุศลแต่ไม่สนใจธรรมไม่ศึกษาธรรมไม่เห็นประโยชน์เพราะไม่ใช่ผลขณะที่เกิดเป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา

- เริ่มเข้าใจทุกวันทุกคนต่างกันมากทั้งกาย วาจา กุศลกรรมและอกุศลกรรม

- (คุณมานิชถามว่า ในชีวิตประจำวันยกตัวอย่างเจอคนทำไม่ดีต่อเขา หมายความว่าคนที่ทำไม่ดีเป็นเหตุหรือว่าเราได้รับผลเพราะเหตุอื่นและคนที่ทำไม่ได้ก็ต้องได้รับผลของเขา) เป็นเรื่องที่เราจะค่อยๆ เข้าใจตามลำดับ ก่อนอื่นเราดีเราชั่วเพราะคนอื่นทำให้หรือเปล่า (ไม่) เกิดเป็นคน เกิดเป็นนก เกิดเป็นช้าง เกิดเป็นเทพเพราะคนอื่นทำให้หรือเปล่า (คนอื่นไม่ได้เป็นเหตุ)

- เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่า ๑ เป็น ๑ จิต ๑ เป็นจิต ๑ ไม่ใช่จิตอื่น เปลี่ยนจิตแลกจิตกันได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะจิตเกิดด้วยเหตุปัจจัย) เพราะอะไรอีก (เพราะจิตเกิดแล้วดับทันทีไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับจิตอื่น) เก่งมาก จิตเกิดทันทีดับทันทีใครทำอะไรไม่ได้เลยเพราะเกิดแล้วดับแล้ว นี่เป็นความมั่นคงว่า เรากำลังเริ่มเข้าใจสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดที่กำลังมีอย่างนี้เป็นอย่างนี้ มิฉะนั้นไม่มีทางเข้าใจความจริงซึ่งมีแต่สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้และสภาพธรรมที่ไม่ใช่ธาตุรู้เท่านั้น

- ตั้งแต่เกิดจนตาย จิตเท่านั้นถ้าเรากล่าวถึงจิตอย่างเดียวเกิดดับไม่กลับมาอีก ไม่ซำ้อีกและจะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดดับจนกว่าจะจากโลกนี้ซึ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย

- รูปที่เกิดพร้อมปฏิสนธิจิตเริ่มโตขึ้นๆ ตามเหตุตามปัจจัยจนกระทั่งเกิดมาเป็นเด็กเล็กๆ ที่เพิ่งเกิดรูปร่างหน้าตาต่างๆ กัน แต่ไม่ใช่รูปเก่าตั้งแต่ปฏิสนธิแต่เป็นรูปที่เกิดดับสืบต่อจนกระทั่งปรากฏเป็นนิมิตรูปร่างสัณฐานต่างๆ

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ทุกสิ่งที่มีจริง ธรรมทั้งหมดตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งถึงขณะสุดท้ายทุกอย่างทรงแสดงโดยละเอียด เกิดดับไม่ใช่อันเก่าเลยแต่เร็วมากจนกระทั่งปรากฏเป็นนิมิตรูปร่างสัณฐานต่างๆ เป็นหญิงเป็นชายเป็นต้น

- การที่เริ่มเข้าใจตั้งแต่ต้นจากการฟังว่า เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดดับไม่กลับมาอีก สุญญตา อนัตตา จึงค่อยๆ ละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดและความเป็นเรา จากเกิดมาไม่เห็นอะไรก็เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกมากมายเป็นเรื่องต่างๆ เป็นเรา ความจริงเป็นธรรมแต่ละ ๑ เกิดดับสืบต่อตามปัจจัยมากมายหลากหลายทั้งในโลกนี้โลกอื่นๆ

- ทุกวันจิตหลากหลายมากเป็นจิตที่เป็นเหตุ เป็นจิตที่เป็นผล เป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุ และเป็นจิตที่ไม่มีเหตุเป็นต้น ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้และต่อไปจนถึงตายและเกิดอีกเพื่อรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วดับไปตามปัจจัย เพื่อเข้าใจถูกซึ่งเป็นความจริงหลากหลายมากในชีวิตประจำวันทุกวัน เพื่อรู้ว่า ไม่ต้องไปหาธรรมที่ไหนเลยเดี๋ยวนี้ทุกอย่างที่ปรากฏที่มีจริงๆ เป็นธรรม

- ไม่ว่าขณะนี้เป็นอะไร เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัยแล้วดับไปไม่เหลือเลย สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ต้องเกิด ไม่เกิดไม่มี ทุกวันตั้งแต่เกิดจนตายทุกขณะเป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับ กำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้จะไม่จริงได้อย่างไรเพราะมีจริงๆ เกิดจริงๆ แต่ละ ๑ เกิดดับตั้งแต่เริ่มฟังจนถึงเดี๋ยวนี้และต่อไปด้วย

- นี่เป็นการรู้ความจริงที่ต้องมั่นคงขึ้นจนสามารถรู้ขณะที่เกิดดับเป็นอริยสัจธรรม ต้องตรงตามความจริงสิ่งนี้เกิดดับ รู้ได้จึงฟังจนกว่าจะค่อยๆ ถึงความจริงของธรรมปรากฏได้ทีละ ๑ แต่ทุกคำละเอียดมากแม้แต่คำว่า “ทีละ ๑” ก็ต้องรู้ว่า โดยนัยอะไร

- เริ่มรู้ความจริงว่า ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงความจริงที่พระองค์ประจักษ์แจ้งจะไม่มีการรู้สภาพธรรมแต่ละ ๑ ได้เลย

- ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ก็จะต้องเกิดอีก มีเหตุที่ให้เกิดแล้วก็ตายอีกเกิดอีกไม่จบสิ้นด้วยความไม่รู้เลยในความเป็นจริงที่กำลังเริ่มเข้าใจเดี๋ยวนี้

- ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้ค่อยๆ เริ่มรู้ความจริงของสิ่งที่มีตลอดชีวิต รู้ว่าความจริงในชีวิตมีอะไรบ้าง เริ่มตอบทีละคำ อย่าลืมทีละคำเดียวไม่ต้องมาก เดี๋ยวนี้มีอะไร ตอบคำเดียว เดี๋ยวนี้มีอะไร (อาช่าตอบว่าเห็น) คนอื่นจะตอบว่าอย่างไร ตอบคำเดียว (มธุตอบว่าคิด) คนอื่นล่ะคะ (มานิชตอบว่าเห็น อาคิ่ลตอบว่าได้ยิน) คำตอบคือ “มีธรรม” เพื่อที่จะให้รู้ว่า มีสิ่งที่มีจริงๆ แน่นอนและต่อไปก็หลากหลายมากเป็นแต่ละ ๑ ค่อยๆ เพิ่มค่อยๆ เข้าใจเป็นสิ่งที่มีจริงเพราะ “ธรรม” คือสิ่งที่มีจริง

- เพราะว่าที่ตอบว่า “มีธรรม” คือมีสิ่งที่มีจริงๆ ให้รู้ว่า เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ และรู้แค่ไหน ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้นจึงจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นที่ตอบว่า มีธรรม คือเตือนให้รู้ว่า มีสิ่งที่มีจริงๆ ที่ไม่ใช่เราหรืออะไรเลยทั้งสิ้น มีสิ่งที่มีจริงๆ เพื่อตรงต่อความจริงในสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละ ๑

- เราก็เริ่มจะเข้าใจสิ่งที่จริงคือ ธาตุรู้ซึ่งไม่เกิดร่วมด้วยเหตุซึ่งมีอยู่ทุกขณะ ทุกวัน ทุกโลกเป็นแหล่งที่เกิดของความคิดต่างๆ เรื่องต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ถ้าไม่รู้ความจริงก็อยู่ในโลกด้วยความไม่รู้ ด้วยความเข้าใจผิด ด้วยความเห็นผิด

- ธรรมละเอียดไหม (ละเอียด) ลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้ง) ยากที่จะรู้ได้ไหม (ยาก) สมควรที่จะรู้ไหม (สมควร) สมควรแล้วทำอย่างไรจึงจะรู้ (ฟังและสนทนาธรรม) ถูกต้อง จะหยุดไหมพอหรือยัง (ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะฟังต่อไป) ถ้ารู้แล้วเข้าใจบ้างแล้ว ควรจะให้คนอื่นได้รู้บ้างไหม (มานิชตอบว่า เมื่อรู้ว่าเป็นประโยชน์กับเขาและเป็นสิ่งที่ควรรู้ ใครก็ได้ที่เขาสามารถช่วยได้เขาก็อยากจะช่วย) และถ้าไม่เริ่มให้เขาเริ่มรู้ เขาจะรู้ได้ไหม (ถ้าเราไม่ช่วยก็ไม่ต้องหวังว่า เขาจะได้ฟัง) เพราะฉะนั้นทุกคนถ้าได้เริ่มก็ค่อยๆ เจริญขึ้น เข้าใจมากขึ้น เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในสังสารวัฏฏ์เป็นประโยชน์ที่สุดด้วย

-เพราะฉะนั้น ก็ยินดีด้วยในกุศลของทุกคนที่สะสมมาที่จะเห็นประโยชน์และเข้าใจธรรมโดยที่ว่า ไม่รีรอที่ทุกโอกาสที่จะเข้าใจและให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย วันนี้ก็สมควรแก่เวลา สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 27 พ.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณ กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจิต์ บริหารวนเขตต์ที่เคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลของคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณอัญชิสา (คุณสา) และคุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ที่ช่วยตรวจทานข้อความ

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นในความอนุเคาระห์ทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
siraya
วันที่ 31 พ.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ