การอุทิศส่วนกุศล เป็นกุศลที่ควรเจริญ

 
chatchai.k
วันที่  5 ธ.ค. 2565
หมายเลข  45291
อ่าน  291

สำหรับการเจริญสติปัฏฐานนั้น เป็นปกติในชีวิตประจำวันที่สติจะต้องระลึกรู้ตามความเป็นจริง ถ้าชีวิตจริงๆ กำลังถวายทาน สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนในขณะที่ถวายทาน เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรม ครั้นถวายทานเสร็จแล้วมีการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ชีวิตปกติของท่านเป็นอย่างไร ขณะให้ทาน ก็เจริญสติปัฏฐาน ขณะที่อุทิศส่วนกุศล ก็เจริญสติปัฏฐาน

สำหรับการอุทิศส่วนกุศล เป็นกุศลที่ควรเจริญ เพราะเหตุว่าขณะใดที่เป็นทานกุศล ขณะนั้นจิตไม่เป็นอกุศล และในวันหนึ่งๆ การให้ทานก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับอกุศลจิต เพราะฉะนั้น เมื่อถวายทานแล้ว ก็ควรจะได้เจริญกุศลอื่น คือ อุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว

ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 217


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 12 พ.ย. 2566

ขณะใดที่จิตไม่เป็นกุศล ไม่เป็นวิบาก ไม่เป็นกิริยา ต้องเป็นอกุศลจิต และอกุศลจิตก็มีปัจจัยที่จะเกิดบ่อยมาก เพราะฉะนั้น ถ้าท่านได้ทราบเรื่องการเจริญกุศลขั้นต่างๆ ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้ท่านเจริญกุศลได้เพิ่มขึ้น คือ เมื่อถวายทานแล้ว ท่านก็ยังเจริญกุศล อุทิศส่วนกุศลนั้นให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือบางท่านก็อาจจะไม่ได้ให้ทาน ไม่มีเหตุที่จะทำให้ให้ทาน แต่ถ้าท่านปรารภถึงญาติ มิตรสหาย ผู้มีคุณที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และท่านก็ทราบว่า ท่านสามารถที่จะอุทิศส่วนกุศลที่ท่านได้กระทำ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้รับผล ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการถวายทาน

ตามปกติธรรมดาท่านอาจจะเป็นผู้ที่สั่งสมทานกุศลไม่มาก แต่ว่าเมื่อมีเหตุการณ์ มีเหตุ มีปัจจัยที่จะให้กระทำกุศลเพื่อที่จะอุทิศให้กับบุคคลอื่น ก็จะเป็นปัจจัยให้ท่านกระทำทานได้

ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 217

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ย. 2566

ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ มีข้อความว่า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรัฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑ ท้าววิรูปักษ์ ๑ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์ แล้วพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้แล ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ บุรพเปตชน โดยทันที สิ้นกาลนาน.


ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 217

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ย. 2566

การกระทำบุญกุศล และอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ไม่ใช่การร้องไห้ เศร้าโศก คร่ำครวญ เพราะถึงแม้ว่าทุกท่านจะร่วมกันร้องไห้ เศร้าโศก คร่ำครวญ บุคคลที่สิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถกลับฟื้นคืนมาได้ เพราะฉะนั้น การร้องไห้เศร้าโศกก็ไม่มีประโยชน์ แต่ควรจะกระทำกิจที่เป็นประโยชน์ คือ การกระทำกุศล ถวายทาน และอุทิศส่วนกุศลให้

ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่เป็นญาติ ที่เป็นมิตรสหาย ที่เป็นผู้มีคุณ ย่อมมีอยู่ เป็นธรรมดาของโลก เมื่อมีการเกิดขึ้นก็ต้องมีการสิ้นชีวิตลง คงไม่มีท่านผู้ใดที่ไม่เคยมีญาติตาย มิตรสหายตาย หรือว่าผู้มีคุณตาย เป็นของธรรมดา และเมื่อเกิดขึ้น หรือว่าท่านได้ประสบกับการพลัดพรากจากท่านเหล่านั้น โดยที่ท่านเหล่านั้นสิ้นชีวิตไป โศกเศร้า ร้องไห้ เป็นของธรรมดาอีกเหมือนกัน แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่ศึกษาพระธรรมแล้วก็ระลึกได้


ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 217

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ