ถามเรื่องตักบาตร

 
pratin
วันที่  2 ส.ค. 2550
หมายเลข  4424
อ่าน  1,585

ใกล้บ้านจะเป็นตลาดเล็กๆ มีภิกษุมารับบิณฑบาตร โดยจะยืนรับบาตรเป็นจุด โดยเว้นระยะกัน และจะรับอาหารเป็นจำนวนมาก โดยจะมีลูกศิษย์นำรถมารับกลับวัดตอนสายหน่อย กระผมขอถามดังนี้

๑) ภิกษุรับอาหารลักษณะดังกล่าวผิดวินัยหรือไม่ครับ เคยเข้าใจมาว่าห้ามเกิน ๓ บาตร ถูกหรือไม่ครับ

๒) ขอข้อธรรม แนะนำเรื่องการตักบาตร เพื่อการปฏิบัติต่อพระสงฆ์ และการเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ

ขอขอบพระคุณทางมูลนิธิฯ และกัลญาณมิตรทุกท่าน ณ ที่นี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 ส.ค. 2550

๑. ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุควรรับอาหารบิณฑบาตรแต่พอประมาณ คือรับพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้วันหนึ่งคืนหนึ่ง ไม่ควรรับเกินขอบบาตร ถ้ารับเกินขอบบาตร หรือรับจำนวนมากๆ เป็นอาบัติ เพราะดูแล้วไม่น่า เลื่อมใสเป็นคนโลภมาก

๒. การถวายอาหารบิณฑบาตรแก่ภิกษุสงฆ์ ควรให้เป็นไปตามพระวินัยด้วยคือ ควรถวายสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ คือ ของที่ควรแก่สมณะ นักบวช ไม่ควรถวายเงินและทองหรือวัตถุที่ไม่เหมาะสมแก่นักบวช เมื่อพระท่านรับอาหารจนเต็มบาตรแล้ว ไม่ควรฝืนใส่ ควรถวายท่านอื่นที่ยังไม่ได้ ไม่ควรให้พระท่านสวดพระธรรม (ให้พร) ในกลางถนน ถ้าท่านจะสวดเราควรยืน ไม่ควรนั่ง ควรน้อมระลึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ ไม่ควรเลือกภิกษุ ควรถวายแก่ภิกษุที่ ท่านมาตามลำดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 2 ส.ค. 2550

เพราะการให้พรของพระภิกษุ ก็คือ การแสดงธรรม ผู้ฟังธรรมไม่ควรอยู่ในอิริยาบถที่สบายกว่าผู้แสดงธรรม เช่น ถ้าพระยืน เราก็ไม่ควรนั่ง เป็นต้น ทางที่ดีคือบอกท่านไปตรงๆ ว่าไม่ต้องให้พร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Nareopak
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นและเล่าเรื่องนี้นะค่ะ ได้ไปวัดแห่งหนึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ห่างไกลหมู่บ้านมาก (ทุ่งนา) ไม่มีลูกศิษย์ ไม่รับกิจนิมนต์เน้นการปฏิบัติ น้องชายของดิฉันได้เรียนถามท่านว่า "พระอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรที่พระไปบิณฑบาตรที่ตลาด" ท่านตอบว่า" แม่ค้าในตลาดมีจิตคิดสละของเพื่อทำบุญถวายพระสงฆ์แต่ต้องทำมาหากินจึงไม่มีเวลาไปทำบุญที่วัด" ท่านกล่าวเพียงเท่านี้ก็เป็นที่เข้าใจ แต่ยังไม่ลึกซึ้งเท่ากับได้ไปเห็นด้วยตาตนเอง พอดีน้องชายอีกคนต้องการจะบวชและ ขอมาจำพรรษาที่วัดนี้ (น้องชายบวช ๒๘ ก.ค ๕๐) วันที่ ๒๙ ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชาดิ ฉันและญาติจึงไปตลาดเพื่อซื้ออาหารมาใส่บาตรพระอาจารย์และพระน้องชาย พอดีเห็นพระอาจารย์กับพระน้องชายมาบิณฑบาตร จึงได้มีโอกาสใส่บาตรที่ตลาดได้เห็นศรัทธาของพ่อค้าแม่ค้าที่ตั้งใจใส่บาตรทำให้นึกถึงคำว่า "โปรดสัตว์" และนึกถึงคำพูดที่พระอาจารย์ท่านตอบน้องชายเมื่อครั้งก่อน เกิดความรู้สึกที่ดีและซาบซึ้งในความมีเมตตาของพระอาจารย์ (ท่านฉันมื้อเดียว) จึงได้ข้อสรุปว่า ทุกอย่างอยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ถ้าท่านมีมากพอแล้ว เราก็เอาอาหารไปให้กับคนที่ไม่มีดีกว่า เช่น เด็กกำพร้า คนพิการ คนยากจน เลี้ยงปลา เลี้ยงแมว เลี้ยงสุนัข ฯลฯ และกุศลก็มีหลายอย่างในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ส.ค. 2550

การให้ ควรพิจารณาด้วยปัญญาและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น ทำให้พระอาบัติ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ส.ค. 2550

แม้กระทั่งเวลาจะทำบุญ กระแสของอกุศลก็เกิดแทรกได้ทุกขณะจริงๆ เมื่อกุศลเจตสิกเกิดกับจิตเป็นเหตุให้คิดสละ จิตจึงโน้มไปที่จะกระทำความดี แต่พออกุศลเกิดกับจิตกลับเป็นเหตุไม่คิดสละ เพราะจิตโน้มไปในความหวงแหนในความเป็นของๆ ตน หลายครั้งที่ธรรมฝ่ายขาวกับธรรมฝ่ายดำดูเหมือนจะยื้อกันไปมา จนท้ายที่สุดบางทีเมื่อได้สละไปแล้ว ก็ยังคงคิดถึงความสุขในการให้ เพราะติดในความดีว่าเป็น "เรากระทำความดี" คิดชื่นชมตัวเองไม่พอ ยังอดที่จะบอกผู้อื่นให้รู้ในความดีของตนไม่ได้ หรือบางทีเราสละไปแล้ว ก็มาคิดด้วยความทุกข์ว่าเราได้กระทำผิดไป ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งสองกรณีข้างต้น การศึกษาพระธรรมเท่านั้น ที่จะทำให้ให้บุคคลเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก ได้ถ้ายังไม่เริ่มศึกษา บุคคลก็ยังเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด ต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 26 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 28 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 29 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ