ธรรมสามัคคี.

 
เจตสิก
วันที่  23 ก.ค. 2550
หมายเลข  4333
อ่าน  2,865

เคยได้ฟังคำว่า ธรรมสามัคคี อยากทราบว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างไร

ขอขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ขอเชิญอ่านข้อความอธิบายจากอรรถกถาโดยตรงครับ

ว่าด้วยสามัคคี ๓ อย่าง [สุตตนิทเทส]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาอีกคนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ชาวโลกยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด สัตว์ บุคคล ตัวตนไม่มี ชื่อว่า ธรรมสามัคคี ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมสามัคคีเป็นไฉน

สติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕

พละ ๕

โพชฌงค์ ๗

อริยมรรคมีองค์ ๘

ธรรมเหล่านั้น ย่อมแล่นไป ผ่องใส ประดิษฐานด้วยดี พ้นวิเศษโดยความเป็นอันเดียวกันความวิวาท ความขัดแย้งกัน แห่งธรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี นี้ชื่อว่า ธรรมสามัคคี.

ดังนั้น ขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น ก็มีสัมปปธาน ๔ เกิดพร้อมกันด้วยไปด้วยกัน สามัคคีกัน อบรมอินทรีย์ ๕ ด้วย อบรมพละ ๕ ด้วย อบรมโพชฌงค์ ๗ ด้วย และอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยครับ ไม่ใชว่า ในการปฏิบัติจะต้องอบรมสติปัฏฐาน ๔ ก่อน และค่อยอบรมอิทธิบาท ๔ แล้วค่อยอบรมอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อสภาพธัมมะที่เป็นสติปัฏฐานเกิด ธรรมอื่นที่มีอยู่ในฝ่ายโพธิปักขิยธรรม มีอินทรีย์ ๕ เป็นต้น ก็อบรมด้วยไปด้วยกัน สามัคคีกัน ไม่แยกจากกันนั่นเองครับ จึงชื่อว่า ธรรมสามัคคี

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 24 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาเช่นกันค่ะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แม้ท่านจะจำแนกเป็นส่วนๆ แต่เมื่อรวมลงในอรรถแห่ง ธรรมสามัคคี แล้ว ก็ชัดเจนลึกซึ้งยิ่งขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 29 ก.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ