อุจเฉททิฏฐิ และ กามธาตุ คืออะไร

 
teezaboo
วันที่  14 เม.ย. 2565
หมายเลข  42988
อ่าน  679

อุจเฉททิฏฐิ และ กามธาตุ คืออะไรขอสอบถามท่านทั้งหลาย ถ้ามีแหล่งอ้างอิงความหมายที่ท่านยกมาได้ยิ่งเป็นประโยชน์ ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 เม.ย. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำว่า อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิดว่า ขาดสูญ เช่น มีความเห็นว่า ตายแล้ว เป็นอันจบสิ้น ไม่เกิดอีก สูญไปเลย ดังตัวอย่างข้อความใน

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๘

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยประการฉะนี้.


กามธาตุ มีความหมายหลากหลายมาก

ธาตุ (คือ สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความเป็นจริง) คือ กาม จำแนกดังนี้

- ความตรึกไปด้วยความติดข้องยินดีพอใจในรูปเสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เป็นกามธาตุ

- สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในกามภพ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษย์ภูมิ ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น เป็นกามธาตุ

- อกุศลธรรรม ท้งหมด ก็เป็นกามธาตุ

ตามข้อความใน

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๓๓

กามวิตกก็ดี กามาวจรธรรมก็ดี ชื่อว่า กามธาตุ โดยแปลกกัน ก็เป็นอกุศลทั้งหมด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน? ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแนบแน่น ความบ่นถึง ความยกขึ้นแห่งจิต ความดำริผิด อันประกอบด้วยกาม นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

เบื้องต่ำทำอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนทำปรนิมมิตวสวัตตีเทพเป็นที่สุดที่ท่องเที่ยวไปภายในสถานที่นี้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนับเนื่องในสถานที่นี้ นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

อกุศลธรรม แม้ทั้งปวง ชื่อว่า กามธาตุ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 14 เม.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nui_sudto55
วันที่ 3 มี.ค. 2567

สาธุครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ