พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาทุกทุกปัฏฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 มี.ค. 2565
หมายเลข  42693
อ่าน  361

[เล่มที่ 90] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๖

และ อรรถกถา

อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน

อรรถกถาทุกทุกปัฏฐาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 90]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้า 1290

อรรถกถาทุกทุกปัฏฐาน

แม้ใน ทุกทุกปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทำเทศนาโดยย่อ ด้วยอำนาจการยกปัญหาขึ้นว่า เหตุสเหตุกธรรม อาศัยเหตุสเหตุกธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เป็นต้น.

ใน ทุกทุกปัฏฐาน นั้น ทรงประกอบเหตุทุกะกับสเหตุทุกะเป็นต้น และสเหตุกทุกะเป็นต้น กับเหตุทุกะนั้น ก็ผู้ศึกษาพึงประกอบทุกะหนึ่งๆ กับ ทุกะที่เหลือและทุกะที่เหลือกับทุกะหนึ่งๆ เหล่านั้นตามลำดับ. จริงอยู่ ชื่อว่า ทุกทุกปัฏฐาน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อแสดงทุกะทั้งหลายในทุกะเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการประกอบทุกะทั้งปวง กับทุกะทั้งปวงในอธิการนี้ โดยวิธี นั้น แต่บาลีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ ก็บทใดๆ ประกอบกับบทใดๆ ไม่ ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลดบทนั้นๆ แล้วแต่งเทศนา แล.

อรรถกถาทุกปัฏฐาน จบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้า 1291

อรรถกถาอนุโลมปัฏฐาน

นัย ๖ ใน ธัมมานุโลมปัฏฐาน ที่ท่านแสดงไว้ในคาถาอันพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาว่า

นัย ๖ ในอนุโลมคือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน ลึกซึ้งนัก ดังนี้ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ก็ผู้ศึกษาพึงทราบเฉพาะ อนุ- โลมปัฏฐาน เท่านั้น อันประดับด้วยนัย ๒๔ โดยปริยายหนึ่ง คือ ในปัฏฐานหนึ่งๆ นี้ ว่าด้วยอํานาจแห่งปัจจัยอย่างละ ๔ นัย มีอนุโลมนัยเป็นต้น แล.

อรรถกถาอนุโลมปัฏฐาน จบ