พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปวานเถราปทานที่ ๑๐ (๕๖๑) ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุปวานเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41568
อ่าน  435

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 483

เถราปทาน

ยสวรรคที่ ๕๖

อุปวานเถราปทานที่ ๑๐ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุปวานเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 483

อุปวาน (๑) เถราปทานที่ ๑๐ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุปวานเถระ

[๑๕๐] พระชินเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ผู้รุ่งโรจน์แล้ว เสมือนกองเพลิงที่ลุกโพลงฉะนั้น พระสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.

มหาชน มาประชุมกันแล้ว บูชา พระตถาคต กระทำจิตกาธารให้ดีแล้ว ยก พระสรีระขึ้นสู่จิตกาธารแล้ว.

กระทำสรีรกิจแล้ว รวบรวมพระธาตุไว้ ในที่นั้น มนุษย์และเทวดาทั้งสิ้นเหล่านั้น ได้ กระทำพระสถูปพระพุทธเจ้าแล้ว.

พระสถูปนั้นชั้นหนึ่ง สำเร็จด้วยทอง ชั้นที่สอง สำเร็จด้วยแก้วมณี ชั้นที่สาม สำเร็จ ด้วยเงิน ชั้นที่สี่ สำเร็จด้วยแก้วผลึก.

ที่พระสถูปชั้นที่ห้านั่นแล สำเร็จด้วย แก้วทับทิมล้วน ชั้นที่หก สำเร็จด้วยแก้วลาย ทั่วทั้งองค์ตลอดถึงยอด สำเร็จด้วยรัตนะ

ทางเท้า สำเร็จด้วยแก้วมณี แท่นบูชา สำเร็จด้วยรัตนะ พระสถูปทั้งองค์ สำเร็จด้วยทอง สูงหนึ่งโยชน์.


๑. ในบาลีทีฆนิกายเล่มที่ ๑๐ ข้อ ๑๓๐ ว่า อปวาณเถระ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 484

เทวดาทั้งหลายมาประชุมกัน ณ ที่นั้น ร่วมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า แม้พวกเราจักพากัน เสริมแต่งพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่ บ้าง.

พระธาตุมิได้กระจัดกระจาย พระสรีระ ธาตุเป็นก้อนเดียว พวกเราจะเสริมแต่งหุ้ม พระพุทธสถูปนี้.

เทวดาทั้งหลาย ได้เสริมแต่งพระสถูป ให้สูงขึ้นอีกหนึ่งโยชน์ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ เพราะฉะนั้น พระสถูปจึงสูงเป็นสอง โยชน์ พระสถูปนั้น สูงขึ้นไปในหมอก.

พวกนาคทั้งหลายมาประชุมกัน ณ ที่นั้น ร่วมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า มนุษย์และเทวดา ทั้งหลายเหล่านั้นได้สร้างพระพุทธสถูปกันแล้ว

พวกเราอย่าได้เป็นผู้ประมาทเลย เพราะ พวกมนุษย์และเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว แม้พวกเราจักเสริมแต่งพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง.

พวกนาคได้ประชุมกันแล้ว ได้หุ้มห่อ พระสถูป ด้วยแก้วอินทนิล แก้วมหาอินทนิล และแก้วโชติรส.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 485

องค์พระพุทธเจดีย์ ได้สำเร็จด้วยแก้ว มณีตลอดทั้งองค์ เพิ่มความสูงขึ้นเป็นสามโยชน์ ในครั้งนั้นได้กระทำที่นั้นให้สว่างแล้ว.

พวกครุฑ มาประชุมกันแล้ว ร่วม ปรึกษากันในครั้งนั้นว่า มนุษย์ เทวดา และนาค เหล่านั้นได้พากันกระทำพุทธบูชาแล้ว.

พวกเรา อย่าได้ประมาทเลย พวก มนุษย์ เทวดา และนาค เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง.

พวกครุฑเหล่านั้น ได้กระทำการหุ้มห่อ พระสถูป ให้สำเร็จด้วยแก้วมณีทั้งองค์ แม้พวก ครุฑเหล่านั้น ได้เสริมแต่งพระพุทธเจดีย์ให้สูง ขึ้นอีกหนึ่งโยชน์.

พระพุทธสถูปจึงสูงขึ้นเป็นสี่โยชน์ รุ่งโรจน์ยิ่ง สว่างแจ้งไปทุกทิศ แสงสว่างพวยพุ่งขึ้นสูง สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ฉะนั้น.

พวกกุมภัณฑ์ มาประชุมกันแล้ว ร่วม ปรึกษากันในครั้งนั้นเหมือนอย่างที่มนุษย์ เทวดา นาค และครุฑปรึกษากันฉะนั้น

พวกเขาเหล่านั้น ต่างพากันกระทำ พระสถูปอันอุดม ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 486

แล้ว พวกเราอย่าเป็นผู้ประมาทเลย พวกมนุษย์ และเทวดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.

แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของ พระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง พวกเราจักเสริมแต่ง พระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นไปด้วยรัตนะ.

แม้พวกเขาเหล่านั้น ก็ได้เสริมแต่ง พระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นไปหนึ่งโยชน์ ครั้งนั้น พระสถูปจึงสูงห้าโยชน์ ส่องแสงสว่างอยู่

พวกยักษ์ ได้มาในที่นั้นแล้ว ต่างประชุม ปรึกษากันในครั้งนั้นว่า พวกมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ และกุมภัณฑ์ ได้เสริมแต่งพระสถูปแล้ว.

พวกเขาเหล่านั้น ต่างได้กระทำพระสถูปอันอุดมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแล้ว พวกเรา อย่าได้เป็นผู้ประมาทเลย พวกมนุษย์ และเทวดาเป็นต้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.

แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของ พระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง พวกเราจักเสริม แต่งพระพุทธเจดีย์ ด้วยแก้วผลึก.

แม้พวกเขา (ยักษ์) เหล่านั้น ได้ เสริมแต่งพระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นหนึ่งโยชน์ ใน ครั้งนั้น พระสงฆ์จึงสูงเป็นหกโยชน์ ส่องสว่าง อยู่.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 487

พวกคนธรรพ์ได้มาประชุมกันแล้ว ได้ ประชุมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า พวกมนุษย์ เทวดา นาค กุมภัณฑ์ และครุฑ ได้กระทำกัน แล้วอย่างนั้น

พวกเขาทั้งหมดได้กระทำพระพุทธสถูป แล้ว พวกเราในที่นี้ยังมิได้กระทำ แม้พวกเรา ก็จักกระทำพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่ บ้าง.

ในครั้งนั้น พวกคนธรรพ์ ได้กระทำที่ บูชา ๗ ที่ กระทำธง และฉัตรแต่งเสริมพระสถูป ให้สำเร็จด้วยทองคำทั้งองค์.

ในครั้งนั้น พระสถูปสูงได้เจ็ดโยชน์ ส่องแสงสว่างอยู่ จนไม่ปรากฏว่า เป็นกลางคืน หรือกลางวัน โลกคงมีแต่แสงสว่างตลอดกาล.

แสงสว่างของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และ ดวงดาวทั้งหลาย ไม่ครอบงำแสงสว่างพระสถูปนั้นได้ แสงสว่างนั้น สว่างแผ่ไปถึงระยะ หนึ่งร้อยโยชน์โดยรอบ จนแม้ประทีป ก็ไม่สว่าง

ในกาลนั้น มนุษย์บางพวกบูชาพระสถูป อยู่ ทั้งที่นั้นมนุษย์เหล่านั้น ก็มิได้ขึ้นสู่พระสถูป มนุษย์เหล่านั้น ก็เสมือนขึ้นไปอยู่สูงในท้องฟ้า ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 488

ยักษ์ มีนามว่า อภิสมมต ยืนอยู่กับ พวกเทวดา ได้ยกธงและพวงดอกไม้ขึ้นสูงยิ่ง.

ชนเหล่านั้น มิได้เห็นยักษ์นั้น เมื่อเดิน ไป ก็เห็นพวงดอกไม้ เมื่อเห็นพวงดอกไม้ ก็ เดินไปอยู่อย่างนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไป สู่สุคติ.

มนุษย์เหล่าใด ประพฤติชอบในปาพจน์ และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มนุษย์เหล่านั้น ใคร่จะเห็นปาฏิหาริย์ จึงบูชาพระสถูป.

ครั้นเมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นคนรับจ้าง อาศัยอยู่ในพระนครหังสวดี เห็นชนรื่นเริงยินดี แล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า

ก็ชนเหล่านี้ ยินดีแล้ว ย่อมไม่อิ่มต่อ การบุญที่ควรกระทำ อันปรากฏในพระสถูป บรรจุ พระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุดพระองค์ นั้น.

แม้ข้าพเจ้าจักกระทำบุญ ข้าพเจ้าจัก เป็นทายาทในธรรมของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่ พระองค์นั้น ในอนาคตกาลบ้าง.

ข้าพเจ้าจักทำความสะอาด ด้วยการเช็ด ล้างพระสถูป ยกธงแผ่นผ้าของข้าพเจ้าขึ้นให้สูง ผูกธงที่ปลายไม้ไผ่แล้วยกขึ้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 489

ข้าพเจ้ายืนประคองอยู่ธงอยู่ ธงของข้าพเจ้า ถูกยกสูงขึ้นไปในอัมพร ข้าพเจ้า เห็นธงถูกลม ปลิวสะบัดแล้ว ข้าพเจ้ามีความยินดีเกิดขึ้นแล้ว

ข้าพเจ้ากระทำจิตให้เลื่อมใสในพระสถูป นั้น จึงเข้าไปหาพระสมณะ ถวายอภิวาทพระภิกษุ นั้น ถามถึงวิบากในการถวายธง

พระภิกษุนั้น มีความยินดี กล่าวกับ ข้าพเจ้า คือกล่าวถึงวิบากของการถวายธงนั้น ยัง ความปีติให้เกิดแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลทั้งปวง.

กองทหารช้าง กองทหารม้า กองทหาร รถ กองทหารเดินเท้า และจตุรงคเสนาแวดล้อม เขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

นักดนตรีหกหมื่นคน กับกลองที่ประดับ แล้ว แวดล้อมเขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลแห่ง การถวายธง.

สตรีผู้ประดับตกแต่งแล้ว ๘๖,๐๐๐ นาง ประดับตกแต่งด้วยเครื่องผ้าอาภรณ์อันวิจิตร ประดับประดาด้วยแก้วมณีและตุ้มหู.

มีปากงาม เจรจาด้วยความยิ้มแย้ม อก ผึ่งตะโพกผาย ทรวดทรงองค์เอวกลมกลึง แวดล้อมเขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลของการถวายธง.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 490

ท่านจักยินดีในเทวโลก ตลอดเวลาสามหมื่นกัป จักเป็นจอมเทวดา ๘๐ ครั้ง จักเสวย เทวรัชสมบัติ.

จักเป็นพระราชา ๑,๐๐๐ ครั้ง และจักเป็น พระเจ้าจักพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้า ประเทศราช ผู้ไพบูลย์โดยประมาณนับมิได้.

ในกัปที่หนึ่งแสน พระมหาบุรุษจักทรง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช มีพระนามตาม พระโคตรว่า โคตมะ จักทรงเป็นพระศาสดาใน โลก. ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลตักเตือนแล้ว อันบุญกรรมให้ระลึกได้แล้ว จักเกิด เป็นพราหมณ์.

ท่านจักทอดทิ้งโภคสมบัติจำนวน ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นจำนวนมาก จักบวช ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม ว่า โคตมะ.

ท่านจักกราบทูลพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ผู้ประเสริฐในสักวงศ์ให้ทรง ยินดี ด้วยชื่อว่า อุปวานะ จักเป็นสาวกของ พระศาสดา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 491

กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ในแสนกัป จัก ให้ผลแก่ข้าพเจ้าในกัปนี้ ข้าพเจ้าได้หลุดพ้นแล้ว จากแรงเสียบแทงของกิเลสเพียงดังลูกศร ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว.

ธงทั้งหลาย ได้ชักขึ้นเพื่อข้าพเจ้า ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้สงบ ผู้ปกครองทวีป ทั้ง ๔ โดยรอบสามโยชน์ ในกาลทุกเมื่อ.

แต่ในกัปที่แสนในกาลนั้น ข้าพเจ้า ได้ กระทำกรรมใดไว้ ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้ จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้า ได้เผาทิ้งไปสิ้นแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุปวานเถระ ได้กล่าว คาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอุปวานเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 492

๕๖๐. อรรถกถาอุปวานเถราปทาน (๑)

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

เรื่องราวของท่านพระอุปวาณเถระ อันคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็น อันมากในภพนั้นๆ เพราะถูกกรรมบางอย่างมาตัดรอน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาจึงได้มาบังเกิดในตระกูลคนยากจน บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เก็บเอาพระธาตุ ของพระองค์ไว้แล้ว เมื่อพวกมนุษย์ เทวดา นาคราช ครุฑ ยักษ์ กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์ พากันสร้างสถูปประมาณ ๗ โยชน์ อันสำเร็จล้วนด้วยรัตนะ ๗ ประการ ได้เอาผ้าอุตตราสงค์อันขาวสะอาดของคนทำเป็นธงผูกติดปลาย ไม้ไผ่แล้ว ได้ทำการบูชา ณ ที่สถูปนั้น เสนาบดียักษ์ ชื่อว่า อภิสัมมตกะ ถือเอาธงนั้น ได้ตั้งพวกเทวดาไว้เพื่อรักษาเครื่องบูชาที่พระเจดีย์แล้ว เป็นผู้ ไม่ปรากฏกาย ทรงตัวอยู่ในอากาศ ได้ทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ. ด้วย บุญกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ได้มีชื่อว่า อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว ได้มองเห็นพุทธานุภาพในการรับพระเชตวัน ได้มีศรัทธา บวช แล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา ได้อภิญญา ๖ แล้ว. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธเกี่ยวด้วย โรคลมได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พราหมณ์ ชื่อว่า เทวหิตะ ผู้เป็นสหายคฤหัสถ์ของพระเถระ อยู่ประจำในกรุงสาวัตถี. เขาได้ปวารณา


๑. บาลีเป็นอุปวานเถระ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 493

พระเถระไว้ด้วยปัจจัย ๔. ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะนุ่งห่มแล้ว ถือบาตร และจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์นั้นแล้ว. พราหมณ์ทราบว่า พระเถระ เห็นจักมาด้วยประโยชน์อะไรสักอย่างเป็นแน่ จึงพูดว่า พระคุณเจ้า ต้องการ อะไร ก็พูดมาเถอะขอรับ. พระเถระเมื่อจะบอกถึงความประสงค์แก่พราหมณ์ นั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

พราหมณ์เอ๋ย! พระสุคตมุนีเจ้า ผู้เป็น อรหันต์ในโลก ถูกโรคลมเข้าเบียดเบียน ถ้า ท่านมีน้ำอุ่นจงถวายแด่พระมุนีเจ้าเถิด การบูชา แล้วแก่ผู้ควรบูชา การสักการะแล้วแก่ผู้ควร สักการะ การนอบน้อมแล้วแก่ผู้ควรนอบน้อม พระองค์นั้น.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อัน พวกเทวดามีท้าวสักกะเป็นต้น และอันพวกพรหมมีท้าวมหาพรหมเป็นต้น ได้บูชาแล้วแก่ผู้ควรบูชาในโลกนี้, ผู้อันพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศล เป็นต้น ทรงกระทำสักการะแล้ว แก่ผู้ควรสักการะ, ผู้อันพระขีณาสพผู้ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นอบน้อมแล้ว แก่ผู้ควรนอบน้อม, ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลายเป็นต้น, ทรงเป็นผู้เสด็จไปดี เพราะเสด็จไปได้ อย่างงดงามเป็นต้น ทรงเป็นพระสัพพัญญู เป็นพระมุนี คือพระศาสดาของ พวกเรา ซึ่งทรงเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ทรงเป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็นท้าวมหาพรหมยิ่งกว่าพวกพรหม, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น ถูกโรคลม มีลมเป็นเหตุ เกิดการกระสับกระส่ายเพราะลมเป็นเหตุ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 494

ทรงกลายเป็นผู้อาพาธ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำอุ่น, เราปรารถนาจะ นำน้ำอุ่นนั้นไปเพื่อระงับอาพาธเนื่องด้วยโรคลมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ องค์นั้น ดังนี้.

พราหมณ์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงได้น้อมเภสัชระงับโรคลม อันพอ เหมาะกับน้ำอุ่นนั้นเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ก็โรคของพระศาสดา ได้ระงับแล้วด้วยเภสัชนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ อนุโมทนาแล้ว แก่พราหมณ์นั้น.

ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะ ได้ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ในกาล ต่อมา เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา แล้วในกาลก่อน จึงได้กล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทฺมุตฺตโร เป็นต้น มีเนื้อความตามที่ได้กล่าว มาแล้วในตอนต้นนั่นแล. บทว่า มหาชนา สมาคมฺม ความว่า ชาวชมพู- ทวีปทั้งสิ้น ได้รวมกันเป็นกลุ่ม. บทว่า จิตกํ กตฺวา เธอมีความว่า ชน ทั้งหลายได้ทำจิตกาธาน ด้วยหมู่ไม้จันทน์สูงตั้งโยชน์ แล้วยกพระสรีระของ พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นวางบนจิตกาธานนั้น. บทว่า สรีรกิจฺจํ กตฺวาน ความว่า การทำกิจคือการเผาด้วยไฟ คือ การจุดไฟ. บทว่า ชงฺฆา มณิมยา อาสิ ความว่า ทางเท้า ไปที่สถูปอันพวกมนุษย์สร้างขึ้นไว้ คือ สร้าง ทำด้วยแก้วมณี ได้แก่ ทำสถานที่นั้นด้วยแก้วอินทนิล เพื่อนำดอกไม้ไป. บทว่า มยมฺปิ ความว่า พวกเทวดาทั้งหมดจักสร้างสถูปไว้แน่. บทว่า ธาตุ อาเวณิการ นตฺถิ ความว่า พระธาตุไม่มีเป็นแผนกๆ เพื่อที่พวกเทวดา และมนุษย์จะสร้างเจดีย์ไว้เป็นแห่งๆ เมื่อจะแสดงถึงพระธาตุนั้น ท่านจึง กล่าวไว้ว่า สรีรํ เอกปิณฺฑิตํ เป็นต้น, อธิบายว่า ด้วยกำลังแห่งการอธิษฐาน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 495

พระสรีรธาตุทั้งสิ้น จึงได้เป็นเพียงก้อนเดียวเท่านั้น เปรียบดุจพระปฏิมาที่ สำเร็จด้วยศิลาก้อนเดียว ฉะนั้น. บทว่า อิมมฺหิ พุทธถูปมฺหิ ความว่า พวก เราทั้งหมด จักมาพร้อมกันแล้ว ช่วยกันสร้างเครื่องปกคลุมสถูปไว้ ณ สถูป ทองคำนี้ ที่พวกชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นได้พากันสร้างไว้แล้ว. บทว่า อินฺทนีลํ มหานีลํ ความว่า แก้วมณีที่มีสีและแสงดุจดอกบัวสีน้ำเงิน เรียกว่า แก้ว อินทนิล. เชื่อมความว่า ชื่อว่า แก้วมณีก้อนใหญ่ เพราะมีสียิ่งด้วยแก้ว อินทนิลนั้น, เราได้นำเอา แก้วมณีอินทนิล แก้วมณีสีเขียวชนิดก้อนใหญ่ แก้วมณีโชติรส และแก้วมณีสีแดงโดยชาติ มารวมเป็นก้อนเดียวกัน แล้ว ทำเป็นเครื่องคลุมที่สถูปทองคำ ปกคลุมไว้แล้ว. บทว่า ปจิเจกํ พุทฺธเสฏฺสฺส ความว่า พวกประชาชนได้ทำสถูปด้วยเครื่องปกคลุมไว้ข้างบนเป็นแผนกหนึ่ง เพื่อให้เป็นอิสระแด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด. บทว่า กุมฺภณฺฑา คุยฺหกา ตถา ความว่า เทวดาพวกที่มีอัณฑะประมาณเท่าหม้อ ชื่อว่า กุมภัณฑ์, จึงกลาย มาเป็นชื่อกำเนิดเทวดาพวกครุฑ เพราะปกปิดทำให้มิดชิด, พวกกุมภัณฑ์ เหล่านั้น ตัวเองมีเครื่องปกปิด จึงได้สร้างสถูปมีเครื่องปกปิดบ้าง. บทว่า อติโภนฺติ น ตสฺสาภา ความว่า แสงสว่างแห่งพระจันทร์พระอาทิตย์และ หมู่ดาว จึงไม่สาดส่อง ไม่เล็ดลอดท่วมทับรัศมีแห่งพระเจดีย์นั้นได้. บทว่า อหมฺปิ การํ กสฺสามิ ความว่า แม้เราก็จักทำสักการะบุญกิริยา คือกุศลกรรม ได้แก่ การบูชาด้วยธงชัยและธงปฏาก ณ พระสถูปของพระโลกนาถเจ้าผู้คงที่ บ้าง.

จบอรรถกถาอุปวาณเถราปทาน