พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ภัททชิเถราปทานที่ ๘ (๕๕๘) ว่าด้วยบุพจริยาของพระภัททชิเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41566
อ่าน  378

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 474

เถราปทาน

ยสวรรคที่ ๕๖

ภัททชิเถราปทานที่ ๘ (๕๕๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระภัททชิเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 474

ภัททชิเถราปทานที่ ๘ (๕๕๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระภัททชิเถระ

[๑๔๘] ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ลงสู่สระ บัว ได้ถอนเหง้าบัว อันเป็นอาหารที่ช้างชอบ เสพในสระนั้นขึ้นมาเพราะเหตุที่มีความหิว.

ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงไว้ซึ่งความสูงสุด ผู้กำลังเสด็จมาทางอากาศ.

ผ้าบังสุกุลจีวร ปลิวสะบัดอยู่ ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ยินเสียง ข้าพเจ้าจึงแหงนหน้าขึ้นมอง ดูเบื้องบน ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้นายกของโลก.

ข้าพเจ้ายืนสงบอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ ทูลอาราธนาพระโลกนายกให้ทรงรับน้ำผึ้ง พร้อม กับเหง้าบัว น้ำนม เนยใส และเหง้าบัว.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ ทรงรับภิกษา แล้ว เพื่อทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า แต่นั้นพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 475

ศาสดาผู้มีพระกรุณา ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จลงมา จากอากาศแล้ว.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ จึงทรงรับ ภิกษาของข้าพเจ้า เพื่อทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า ครั้นทรงรับแล้ว ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ ข้าพเจ้าว่า

ท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านจงมีความสุข คติ จงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเหง้าบัวนี้ ท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด.

พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสัมพุทธเจ้า ได้ นำภิกษาไปทางอากาศ พระพุทธชินเจ้า ได้เสด็จ ไปทางอากาศแล้ว.

แต่นั้น ข้าพเจ้า ถือเอาเหง้าบัวกลับไป ยังอาศรมของข้าพเจ้า ได้แขวนพวงเหง้าบัวไว้ที่ ต้นไม้แล้ว ระลึกถึงทานของข้าพเจ้า.

ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ ก็เกิดขึ้น ไฟป่า ก็ไหม้ป่า อากาศ ก็กำเริบคะนองยิ่ง และใน ขณะนั้น ฟ้าก็ผ่าลงมา.

ครั้งนั้น อสุนีบาตตกบนศีรษะข้าพเจ้า จนล้มลง ในขณะนั้น ข้าพเจ้านั่งสงบอยู่ ข้าพเจ้า ได้ทำกาละแล้วในที่นั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 476

ข้าพเจ้าระลึกถึงบุญกรรมแล้ว ไปอุปบัติ ยังดุสิต ข้าพเจ้าละทิ้งซากร่างกายไว้ แต่ข้าพเจ้า ไปร่าเริงยินดีอยู่ในเทวโลก.

สตรี ๘๖,๐๐๐ นาง ประดับตกแต่งร่างกาย งาม คอยบำรุงรับใช้ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น อัน นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว.

ครั้นกลับมาสู่กำเนิดมนุษย์ แต่ละครั้ง ข้าพเจ้ามีแต่ความสุข โภคะทั้งหลายของข้าพเจ้า ไม่บกพร่องเลย นี้เป็นผลของการถวายเหง้าบัว.

ข้าพเจ้าผู้อันกรรมนั้นและเทพแห่งเทพ ผู้คงที่อนุเคราะห์แล้ว เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้ง ปวงแล้ว บัดนี้ภพใหม่นี้ได้มีแล้ว.

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า ไม่รู้จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลแห่งการถวาย เหง้าบัว.

ข้าพเจ้าได้เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้า ได้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 477

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภัททชิเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบภัททชิเถราปทาน

๕๕๘. อรรถกถาภัททชิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระภัททชิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า โอคยฺหาหํ โปกฺขรณี ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดใน ตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว จบการศึกษาในศิลปะวิชาการของหมู่ พราหมณ์ ละกามบวชเป็นพระดาบส สร้างอาศรมอยู่ในป่า วันหนึ่งเห็น พระศาสดาเสด็จมาทางอากาศ มีใจเลื่อมใส ได้ยืนประคองอัญชลี. พระศาสดา ทรงเห็นอัธยาศัยของเขา จึงเสด็จลงจากอากาศ. ก็เขาได้น้อมน้ำผึ้ง เหง้าบัว เนยใสและนมสดเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จลงแล้ว พระผู้มี พระภาคเจ้า ทรงอนุเคราะห์เขาจึงทรงรับสิ่งของนั้นแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำรงอยู่ ในสวรรค์ชั้นนั้นจนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัพภาพนั้น ท่องเที่ยวไปมาใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 478

เฉพาะแต่สุคติภพอย่างเดียวเท่านั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เขาเป็นเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากมาย ได้นิมนต์ให้ภิกษุ ๑ ล้าน ๘ แสน รูป ใช้สอยนุ่งห่มผ้าไตรจีวรแล้ว.

เขาได้ทำกุศลไว้เป็นอันมากอย่างนั้นแล้ว ก็ได้บังเกิดในเทวโลก. เขาดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุแล้ว ก็เคลื่อนจากเทวโลกนั้น ได้ บังเกิดในมนุษยโลก ในโลกที่ว่างเปล่าจากพระพุทธเจ้า ได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ด้วยปัจจัย ๔ แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้บังเกิดใน ราชตระกูล เมื่อจะพร่ำสอนความเป็นพระราชา ได้บำรุงบุตรของตนผู้บรรลุ พระปัจเจกโพธิญาณอยู่แล้ว ถือเอาพระธาตุของท่านผู้ปรินิพพานแล้ว สร้าง เป็นเจดีย์บูชาแล้ว. เขาได้บำเพ็ญบุญเหล่านั้นไว้ในภพนั้นอย่างนั้นแล้ว ใน พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดเป็นลูกชายคนเดียวของภัททิยเศรษฐี ผู้มีทรัพย์- สมบัติมากถึง ๘๐ โกฏิ ในภัตทิยนคร. เขาได้มีชื่อว่า ภัททชิ. ทราบว่า อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติของเรา ได้มีในภพสุดท้าย คล้าย กับของพระโพธิสัตว์ฉะนั้น.

ในคราวนั้น พระศาลดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี เพื่อจะทรงทำการ สงเคราะห์ภัททชิกุมาร จึงพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติวัน ทรงคอยเวลาให้ญาณของเขาแก่กล้าเสียก่อน. แม้ ภัททชิกุมารนั้น ก็นั่งอยู่บนปราสาทเปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชนกำลัง เดินไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถามว่า มหาชนนี้ กำลัง ไปไหนกัน ดังนี้. ครั้นทราบเหตุอันนั้นแล้ว แม้ตนเอง พร้อมด้วยบริวาร หมู่ใหญ่ก็ไปสำนักของพระศาสดา ฟังธรรม ทั้งที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์ พร้อมสรรพ ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต, ก็เมื่อท่าน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 479

ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตักเตือนท่านภัททิยเศรษฐีว่า ลูกชาย ของท่าน ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ ฟังธรรม ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. บุตรของท่านสมควรเพื่อจะได้บวชเสียเดี๋ยวนี้แหละ, ถ้าจักไม่ บวช, ก็จักปรินิพพานแน่. เศรษฐีกราบทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ยังเป็น คนหนุ่มแน่นอยู่ กิจด้วยการปรินิพพานจะมีไม่ได้ ขอพระองค์จงให้เขา บวชเถิด. พระศาสดาทรงให้เขาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ประทับอยู่ในที่ นั้นได้ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จไปถึงโกฏิคาม. ก็หมู่บ้านนั้น ได้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่ง แม่น้ำคงคา. ก็ชาวบ้านโกฏิคาม ได้ยังมหาทานให้เป็นไปแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระภัททชิเถระ ไปยังนอกหมู่บ้าน เพื่อปรารภจะ ให้พระศาสดาทรงอนุโมทนาเสียก่อน ด้วยคิดว่า ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จ มาใกล้หนทางฝั่งแม่น้ำคงคา จึงจักออกไปดังนี้ ทำการกำหนดเวลาแล้ว ก็ นั่งเข้าสมาบัติ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย จะมาก็ ไม่ยอมลุกขึ้น ต่อเมื่อถึงเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วเท่านั้น จึงลุกขึ้น. พวกภิกษุผู้เป็นปุถุชน ก็พากันเพ่งโทษว่า ภิกษุรูปนี้บวชมายังไม่ทันไรเลย, ก็กลายเป็นผู้แข็งกระด้าง ไม่ยอมลุกขึ้นในเวลาที่พระมหาเถระทั้งหลายมาถึง.

ชาวบ้านโกฏิคาม ได้พากันผูกเรือแพเป็นอันมากเพื่อพระศาสดาและ ภิกษุสงฆ์. พระศาสดา ทรงพระดำริว่า เราจะประกาศถึงอานุภาพของ พระภัททชิ แล้วจึงประทับยืนบนเรือ ตรัสถามว่า ภัททชิ ไปไหน พระภัททชิเถระกราบทูลว่า พระเจ้าข้า แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ได้ยืนประคองอัญชลี. พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ มานี่ซิ, เธอจงขึ้นเรือ ลำเดียวกันกับเราเถอะ. พระภัททชินั้น จึงเหาะขึ้นแล้ว ได้ยืนในเรือลำที่ พระศาสดาประทับอยู่แล้ว. ในเวลาที่เรือแล่นไปในท่ามกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ในเวลาที่เธอเป็นพระเจ้ามหาปนาทะ รัตนปราสาท

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 480

จมลงในที่ไหนเล่า? พระเถระกราบทูลว่า จมลงในที่ตรงนี้ พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียเถอะ. ในขณะนั้น พระเถระ จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังแห่งฤทธิ์แล้ว เอาระหว่างนิ้วเท้าคีบยอดปราสาท ถือปราสาทอัน ใหญ่ประมาณ ๒๕ โยชน์ไว้ เหาะไปในอากาศ, ก็เมื่อเหาะไป ได้ยกขึ้นสูง ถึง ๕๐ โยชน์. ลำดับนั้น พวกญาติของท่านในภพก่อน ซึ่งได้เกิดเป็นปลา เต่าและกบ ด้วยความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกลอยไป ก็พา กันล้มตกลงไปมา. พระศาสดา ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นล้มกลิ้งเช่นนั้นแล้ว จึง ตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอกำลังลำบากนะ. พระเถระเชื่อพระดำรัส ของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาทแล้ว. ปราสาทก็คงตั้งสถิตอยู่ตามเดิมนั้นแล. พระศาสดา เสด็จถึงฝั่งแล้ว ถูกพวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทหลังนี้ อันพระภัททชิเถระ ให้จมลงเมื่อไร แล้วจึงตรัสมหาปนาทชาดก ทำชนหมู่มากให้ได้ดื่มน้ำอมตะ. คือธรรมะ.

ส่วนพระเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุญสมภารในกาล ก่อนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยประพฤติ มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า โอคยฺหาหํ โปกฺขรณี ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอคยฺหาหํ โปกฺขรณี ความว่า ข้าพเจ้าหยั่งลง ดำลง เข้าไปหยั่งลงไปสู่ชลาลัยอันได้นามว่า โบกขรณี เพราะเขาขุดห้วงน้ำ ใหญ่และกว้างมากมาย คือ เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปยังสระโบกขรณีนั้นเพื่อของกิน และของเคี้ยวแล้วเก็บเอาเหง้าบัวและรากบุณฑริกขึ้นมา. คำที่เหลือมีเนื้อความ พอที่จะกำหนดได้โดยง่าย ตามลำดับแห่งเนื้อความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าว เนื้อความไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่ายทั้งหมดแล.

จบอรรถกถาภัททชิเถราปทาน