พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ราหุลเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระราหุลเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2564
หมายเลข  40599
อ่าน  380

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 40

เถรคาถา จตุกกนิบาต

๘. ราหุลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระราหุลเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 40

๘. ราหุลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระราหุลเถระ

[๓๓๐] ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิบัติสมบัติ ๑ เพราะเราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และเป็นผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เพราะอาสวะของเราสิ้นไปและภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็นผู้เห็นอมตธรรม สัตว์ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษในกาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมแล้ว ถูกหลังคาคือตัณหาปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูกคือความประมาท เหมือนปลาในปากไซ เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว.

จบราหุลเถรคาถา

อรรถกถาราหุลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระราหุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุภเยน ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญในภพนั้นๆ ในการแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระบังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็นพระศาสดา-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 41

ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญเป็นอันมากมีชำระเสนาสนะให้สะอาดและตามประทีปให้สว่างเป็นต้น จึงตั้งความ ปรารถนาไว้.

เธอเมื่อจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้อาศัยพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย บังเกิดในท้องของพระนางยโสธราเทวีทรงพระนามว่าราหุล เจริญด้วยขัตติยบริหารเป็นอันมาก. วิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในขันธกะนั่นเอง. ครั้นท่านบรรพชาแล้วได้รับพระโอวาทด้วยสุตตบทเป็นอันมาก ในสำนักของพระศาสดา มีญาณแก่กล้า บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า

เราได้ถวายเครื่องลาดในปราสาท ๗ ชั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ พระมหามุนีผู้เป็นจอมแห่งชน เป็นนระผู้ประเสริฐ อันพระขีณาสพพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เสด็จเข้าพระคันธกุฏี พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ทรงยังพระคันธกุฎีให้รุ่งเรือง ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ที่นอนนี้ผู้ใดให้โชติช่วงแล้ว ดังกระจกเงาอันขัดดีแล้ว เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ปราสาททองอันงดงาม หรือปราสาทแก้วไพฑูรย์เป็นที่รักแห่งใจ จักบังเกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๖๔ ชาติ


๑. ขุ อ. ๓๒/๑๘.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 42

และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิติดกันต่อหนึ่งพันชาติ. ใน ๒๒ กัป จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่าวิมล จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนานว่าวิชิตาวี ทรงครอบครองแผ่นดินมี สมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต พระนครชื่อเรณุวดีสร้างด้วยแผ่นอิฐ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ สี่เหลี่ยมจตุรัส ปราสาทชื่อสุทัสนะ อันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ อึกทึกด้วยเสียง ๑๐ อย่าง วิทยาธรมาเกลื่อนกล่นอยู่ เหมือนจักเป็นนครชื่อสุทัสนะของเหล่าเทวดา รัศมีแห่งนครนั้น เปล่งปลั่งดังเมื่อพระอาทิตย์อุทัย นครนั้นจะรุ่งเรืองเจิดจ้า โดยรอบ ๘ โยชน์ อยู่เป็นนิจ ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักได้เป็นพระราชโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ถ้าจะพึงอยู่ครองเรือน ผู้นั้นพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ข้อที่เธอจะคงที่ถึงความยินดีในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอจักออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีวัตรอันงาม จักได้เป็นพระอรหันต์มีนามว่าราหุล พระมหามุนีทรง พยากรณ์เธอว่า มีปัญญาสมบูรณ์ด้วยศีล เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ ดังจามรีรักษาขนหาง เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในศาสนา เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 43

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดวงแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำสำเร็จแล้ว ฉะนี้แล.

อนึ่ง ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าว ๔ คาถา๑ว่า

ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิบัติสมบัติ ๑ เพราะเราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และเป็น ผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เพราะอาสวะของเราสิ้นไปและภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็นผู้เห็นอมตธรรม สัตว์ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษในกาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมแล้ว ถูกหลังคาคือ ตัณหาปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก คือความประมาท เหมือนปลาในปากไซ เราถอนกามนั้นขึ้นได้ แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยเนว สมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์ คือประกอบ แม้ด้วยสมบัติทั้งสอง คือชาติสมบัติ ปฏิบัติสมบัติ.

บทว่า ราหุลภทฺทโกติ มํ วิทู ความว่า สพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมรู้จักเราว่า ราหุลผู้เจริญ. จริงอยู่ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับ ข่าวว่าพระราหุลประสูติแล้ว ทรงอาศัยถ้อยคำที่พระโพธิสัตว์กล่าวว่า


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๐.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 44

พระราหุลประสูติแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว จึงทรงยึดพระนามว่าราหุล. ใน ข้อนั้นพระองค์ทรงยึดเอาปริยายที่พระบิดาตรัสแล้วแต่ชั้นต้นนั่นแล จึง ตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า ราหุลผู้เจริญ. ก็คำว่า ภทฺโท นี้เป็น คำแสดงถึงความสรรเสริญ.

บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติทั้งสองนั้น ท่านจึงกล่าว ยญฺจมฺหิ ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะ เหตุใด.

บทว่า อมฺหิ ปุตฺโต พุทฺธสฺส ความว่า เราเป็นราชโอรส ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ, อธิบายว่าในธรรมคือ สัจจะ ๔.

บทว่า จกฺขุมา พึงประกอบว่า เราเป็นผู้มีจักษุ ด้วยจักษุคือปัญญา อันสัมปยุตด้วยมรรค.

เพื่อจะแสดงสมบัติทั้งสองในพระองค์โดยปริยายแม้อื่นๆ อีก จึง กล่าวคาถาว่า ยญฺจ เม อาสวา ขีณา เพราะอาสวะของเราสิ้นแล้ว ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิเณยฺโย ได้แก่ควรซึ่งทักษิณา. บทว่า อมตทฺทโส ได้แก่ ผู้เห็นพระนิพพาน คำที่เหลือรู้ได้ง่าย ทีเดียว.

บัดนี้หมู่สัตว์ย่อมหมุนเวียนไปในสงสารเหมือนปลาที่ติดอยู่ในไซ เพราะไม่มีวิชชาสมบัติและวิมุตติสมบัติใด เพื่อจะแสดงสมบัติทั้งสองนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 45

ในตน ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาว่า กามนฺธา ดังนี้เป็นต้น, อธิบายว่าอัน กิเลสกามซึ่งจำแนกว่าธรรมมีฉันทราคะเป็นต้น กระทำให้เป็นดังคนบอด เพราะไม่เห็นโทษในวัตถุกามมีรูปเป็นต้น.

บทว่า ชาลปจฺฉนฺนา ความว่า ถูกข่ายคือตัณหาอันซ่านไปใน อารมณ์ต่างๆ ซึ่งตั้งปกคลุมภพ ๓ ทั้งสิ้นไว้ ปิดบัง คือผูกพันไว้โดย ประการต่างๆ.

บทว่า ตณฺหาฉทนฉาทิตา ความว่า อันหลังคาคือตัณหานั้นนั่น แล ปิดบังคือปกคลุมไว้โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปมตฺตพนฺธุนา พทฺธา มจฺฉาว กุมินามุเข ความว่า สัตว์เหล่านี้ ถูกมารผูกไว้ด้วยความประมาท คือถูกเครื่องผูกคือกามอันใด ผูกไว้ ย่อมไม่หลุดพ้นจากเครื่องผูกนั้น คือติดอยู่ในภายในเครื่องผูกนั้น เอง เหมือนปลาติดอยู่ที่ปากลอบดักปลา แห่งปลาที่ติดอยู่ที่ปากไซฉะนั้น.

อธิบายว่า เราทิ้งกามนั้น คือเห็นปานนั้น อันเป็นเสมือนเครื่องผูก คือละเสียด้วยการปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแล้ว ตัดเครื่องผูกแห่งกิเลสมาร แล้วใช้ศัสตรา คืออริยมรรค ตัดได้เด็ดขาดแล้ว รื้อถอนตัณหา มีกามตัณหาเป็นต้น พร้อมทั้งรากกล่าวคืออวิชชานั้นนั่นแล ชื่อว่าถอนตัณหาพร้อมทั้งราก เป็นผู้เย็นเพราะไม่มีความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง ดับสนิทด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาราหุลเถรคาถาที่ ๘