พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปทีปวิมาน ว่าด้วยปทีปวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40255
อ่าน  287

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 82

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรคที่ ๑

๙. ปทีปวิมาน

ว่าด้วยปทีปวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 82

๙. ปทีปวิมาน

ว่าด้วยปทีปวิมาน

[๙] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีรัศมีสุกใสรุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญอะไร ทุกทิศจึงสว่างไสวจากทุกส่วนร่างกายของท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และวรรณะ ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นถูกพระโมคคัลลานะซักถามแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 83

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ดีฉันได้จุดประทีปถวาย คราวที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด อันว่าผู้ใดจุดประทีปถวายคราวที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด วิมานอันมีรัศมีโชติช่วง มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีรัศมีสุกใสรุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย ทุกทิศจึงสว่างไสวจากทุกส่วนของร่างกายดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปทีปวิมาน

อรรถกถาปทีปวิมาน

ปทีปวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. ปทีปวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี วันอุโบสถ พวก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 84

อุบาสกเป็นจำนวนมาก รักษาอุโบสถก่อนอาหาร ถวายทานตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ กินอาหารแต่เช้า นุ่งผ้าสะอาด ห่มผ้าสะอาด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น หลังอาหารแล้วก็ไปวิหาร เข้าไปนั่งใกล้พวกภิกษุที่น่าสรรเสริญ เวลาเย็นก็ฟังธรรม. เมื่ออุบาสกเหล่านั้นซึ่งประสงค์จะอยู่ในวิหาร กำลังฟังธรรมอยู่นั่นแล ดวงอาทิตย์ตก ก็เกิดมืด ณ วิหารนั้น หญิงผู้หนึ่งคิดว่า สมควรทำแสงประทีปในบัดนี้ ก็ไปนำเครื่องประทีปมาจากเรือนของตน จุดประทีปขึ้นตั้งไว้หน้าธรรมาสน์ แล้วก็ฟังธรรม. ด้วยปทีปทานนั้น นางดีใจเกิดปีติโสมนัส ไหว้แล้วก็กลับบ้าน ต่อมา นางตาย ไปบังเกิดในวิมานโชติช่วง ณ ภพดาวดึงส์. ความงามแห่งเรือนร่างของนางมีรัศมีซ่านออกไปอย่างยิ่ง ส่องสว่างไปทั้งสิบทิศข่มเทวดาองค์อื่นๆ. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไป คำทั้งหมดดังว่ามานี้ พึงทราบนัยที่มาแล้วในหนหลังนั่นแล. แต่ในปทีปวิมานนี้ พระเถระถามด้วย ๔ คาถาว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงามส่องแสงสว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน. เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีรัศมีสุกใสรุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญอะไร ทุกทิศจึงสว่างไสวจากสรรพางค์กายของท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 85

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสร่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้.

เทวดากล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ในชาติก่อนในมนุษยโลก ดีฉันได้จุดประทีปถวายคราวที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด ผู้ใดจุดประทีปถวายคราวที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด วิมานที่โชติช่วง มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมากย่อมเกิดแก่ผู้นั้น.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีรัศมีสุกใส รุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย. เพราะบุญนั้น ทุกทิศจึงสว่างไสวจากสรรพางค์กายของดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึง สว่างไสวไปทุกทิศ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 86

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน นี้ อภิกกันตศัพท์ มาในอรรถว่าสิ้นไป ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ นิกฺขนฺโต ปโม ยาโม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามล่วงไปแล้ว. มาในอรรถว่าดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อยํ อิเมสํ จตุนฺนํ ปุคฺคลานํ อภิกฺกนฺตตโร จ ปณีตตโร จ บุคคลผู้นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้. มาในอรรถว่า ยินดีนักหนา ได้ในบาลี เป็นต้นว่า อภิกฺกนตํ ภนฺเต อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต ไพเราะจริง พระเจ้าข้า ไพเราะจริง พระเจ้าข้า. มาในอรรถว่างาม ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสยํ ทิสา มีวรรณะงาม ส่องสว่างไปทุกทิศ. แม้ในที่นี้พึงเห็นว่า มาในอรรถว่า งามอย่างเดียว. บทว่า วณฺเณน แปลว่า มีผิวพรรณ. บทว่า โอภาเสนฺติ ทิสา สพฺพา ได้แก่ ส่องแสงสิบทิศทั้งหมด ทำให้สว่างเป็นอันเดียวกัน. ถามว่า ท่านกล่าวว่าเหมือน อะไร. ตอบว่า เหมือนดาวประกายพรึก. ดวงดาวที่ได้ชื่อว่า โอสธี ประกายพรึก เพราะมีรัศมีหนา อันรัศมีนั้นตั้งไว้ หรือเพราะรัศมีเพิ่มพลังแก่ดาวประกายพรึกทั้งหลาย กระทำแสงสว่างโดยรอบตั้งอยู่ ฉันใด ท่านก็ส่องสว่างไปทุกทิศตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สพฺพคตฺเตหิ ได้แก่ จากอวัยวะของเรือนร่างทุกอวัยวะ. อธิบายว่า ส่องสว่าง เพราะทั่วอวัยวะน้อยใหญ่. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในเหตุ. บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ได้แก่ สิบทิศสว่างไปทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอภาสเร ดังนี้ก็มี. คำว่า เตสํ สพฺพา ทิสา นี้ พึงเห็นว่าเป็นพหุวจนะ.

บทว่า ปทีปกาลมฺหิ แปลว่า ในเวลาทำประทีป คือเวลาควรจุด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 87

ประทีป. อธิบายว่า เวลามืดค่ำ. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า โย อนฺธการมฺหิ ติมีสิกายํ อธิบายว่า ในเวลามืดมิดมาก. บทว่า ททาติ ทีปํ ได้แก่ ตามหรือไม่ตามประทีป ถวายเป็นปทีปทาน. บริจาคเครื่องอุปกรณ์ประทีปอุทิศพระทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุปฺปชฺชติ โชติรสํ วิมานํ ได้แก่ วิมานอันโชติช่วงย่อมเกิดขึ้นโดยการถือปฏิสนธิ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ครั้งนั้น เมื่อเทวดากล่าวตอบข้อความตามที่พระเถระถามแล้ว พระเถระนำถ้อยคำนั้นนั่นแล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง รู้ว่านางมีจิตเหมาะควรเป็นต้น เพราะกถาว่าด้วยทานเป็นอาทิ จึงประกาศสัจจะ ๔ จบสัจจะ เทวดาองค์นั้นกับบริวารก็ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระเถระกลับจากเทวโลกแล้ว ก็กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. และเพราะเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน. เทศนานั้นก็เกิดประโยชน์แก่มหาชน. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาชนก็ได้เคารพในปทีปทานแล.

จบอรรถกถาปทีปวิมาน