พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. จรสูตร ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40137
อ่าน  321

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 699

จตุกนิบาต

๑๑. จรสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 699

๑๑. จรสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมรับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่ทำให้ สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความ เพียรเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ ... ผู้นั่งอยู่ ... ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่า ภิกษุย่อมรับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่- บรรเทาเสีย ไม่กระทำให้สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่ ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์.

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่อย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล เป็นนิตย์ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ยืนอยู่ ... ผู้นั่งอยู่ ... ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 700

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย ให้ถึงความ ไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่ ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล เป็นนิตย์.

ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ย่อมตรึกถึงวิตกอันลามก อันอาศัยแล้วซึ่งเรือนไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่า ดำเนินไปตามทางผิดหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ภิกษุเช่นนั้น เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณ อันสูงสุด ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ สงบระงับวิตกได้แล้ว ยินดี ในธรรมเป็นที่สงบวิตก ภิกษุเช่นนั้น เป็นผู้ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณอัน สูงสุด.

จบจรสูตรที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 701

อรรถกถาจรสูตร

ในจรสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จรโต ได้แก่ กำลังเดินหรือกำลังจงกรมอยู่. บทว่า อปฺปชฺชติ กามวิตกฺโก วา ความว่า ถ้าว่า คือ ผิว่า วิตกที่ประกอบ ด้วยกามหรือ ... จะเกิดขึ้นในเพราะปัจจัยเช่นนั้น เพราะยังไม่ปราศจากราคะ ในวัตถุกามทั้งหลายไซร้. บทว่า พฺยาปาทวิตกโก วา วิหึสาวิตกฺโก วา มีการเชื่อมความว่า ถ้าหาก วิตกที่ประกอบด้วยความพยาบาทที่มีความอาฆาต เป็นนิมิต หรือวิตกที่ประกอบด้วยวิหิงสา ด้วยอำนาจแห่งการเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยก้อนดินและตะพดเป็นต้น เกิดขึ้นไซร้. บทว่า อธิวาเสติ ความว่า ถ้าให้กามวิตกตามที่กล่าวแล้วนั้น ที่เกิดขึ้นในจิตของตนคามปัจจัยพักอาศัยอยู่ คือ ยกจิ ของตนออกไปแล้ว ให้มัน พักอาศัยอยู่ เพราะไม่มีการพิจารณา โดยนัยมีอาทิว่า วิตกนี้ เป็นของเลวแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นอกุศลแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นสิ่งมีโทษแม้ด้วยเหตุนี้ ก็วิตกนั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ดังนี้ไซร้ และเมื่อให้มันพักอาศัยอยู่นั่นแหละก็ยังละมันไม่ได้ คือยังสลัดออก ไปไม่ได้ ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น เพราะสลัดออกไม่ได้นั้นนั่นแหละ ก็จะบรรเทาไม่ได้ คือกำจัดออกไป ได้แก่นำออกไปจากจิตสันดานไม่ได้ เพราะบรรเทาไม่ได้อย่างนั้น ก็จะทำให้สูญสิ้นไปไม่ได้ คือทำกามวิตกเป็นต้น นั้น ให้ปราศจากที่สุดไปไม่ได้. อธิบายว่า ผู้มีความเพียรส่งใจไปแล้ว (ไม่- อาลัยชีวิตแล้ว) จะทำโดยวิธีที่แม้ที่สุดของวิตกเหล่านั้น จะไปหรืออยู่โดยที่สุด แม้เพียงแต่ความแตกหักไป แต่ภิกษุนี้หาทำเหมือนอย่างนั้นไม่. ผู้ศึกษาควร ทราบเนื้อความโดยประกอบ เจ ศัพท์เข้าด้วยคำมีอาทิว่า วิตกที่เป็นอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 702

นั่นเอง จะไม่ถึงความไม่มีหามิได้ คือ จะไม่ถึงความไม่มีภายหลัง ถ้าหาก ยังละไม่ได้ไซร้. บทว่า จรํ ได้แก่ จรนฺโต (แปลว่าเดินไปอยู่). บทว่า เอวํภูโต ได้แก่ เป็นผู้พร้อมพรั่งด้วยวิตกที่เลวมีกามวิตกเป็นต้นอย่างนี้ บทว่า อนาตาปี อโนตฺตปฺปี ความว่า ผู้ชื่อว่าไม่มีความเพียร เพราะ ไม่มีความเพียรที่เป็นเหตุแผดเผากิเลส ชื่อว่า ไม่มีความเกรงกลัว เพราะไม่มี ความเกรงกลัว ที่มีลักษณะสะดุ้งกลัวต่อบาป ร้อนรนและรุ่มร้อนเพราะบาป. บทว่า สตตํ สมิตํ ความว่า ตลอดกาลทุกเมื่อเป็นนิจ. บทว่า กุสีโต หีนวีรีโย ความว่า ภิกษุนั้นเราตถาคตเรียก คือกล่าวว่า ชื่อว่า เป็นผู้เกียจ คร้าน. เพราะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จุ่มจมอยู่ในธรรมฝ่ายอกุศล และชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมจากความเพียรแล้ว คือ เว้นจากความเพียรแล้ว เพราะ ไม่มีความเพียร คือ สัมมัปปธาน. บทว่า ิตสฺส ความว่า ผู้ยืนอยู่เพราะ งดการเดิน เพื่อจะทรงแสดงวิธีที่วิตกทั้งหลายเกิดขึ้นอยู่แก่ผู้พร้อมมูลด้วย ความเกียจคร้านนั้น จึงได้ตรัสไว้ว่า ผู้ตื่นอยู่ เพราะทรงเพิ่มอิริยาบถนอน เข้าในความเกียจคร้านเป็นพิเศษ.

พึงทราบวินิจฉัย ในธรรมฝ่ายขาวต่อไป. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ นาธิวาเสติ ความว่า ถ้าหากกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้แม้ปรารภ ความเพียรแล้วพักอยู่ เพราะการประกอบพร้อมมูล ด้วยปัจจัยเช่นนั้นที่อบรม มาตลอดกาลนาน ในสงสารที่ไม่รู้เบื้องต้น หรือเพราะสติฟั่นเฟือนไซร้ คือ ถ้าหากภิกษุ ยกจิตของตนนั้นขึ้นแล้ว แต่ไม่ให้กามวิตกเป็นต้นนั้น ยับยั้งอยู่ ไซร้ อธิบายว่า ไม่ให้มันยับยั้ง อยู่ในภายในไซร้. เมื่อไม่ให้มันยับยั้งอยู่ จะทำอย่างไร? ละไป ทิ้งไป. ทิ้งไป เหมือนเทหยากเยื่อด้วยตะกร้าฉะนั้น หรือ? หามิได้. อีกอย่างหนึ่ง บรรเทา คือกำจัด ได้แก่ นำออกไป. นำออกไป (ไล่ไป) เหมือนนำโคพลิพัทธ์ออกไป ด้วยปฏักหรือ? หามิได้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 703

โดยที่แท้แล้ว ทำให้สิ้นสูญไป คือ ทำให้ปราศจากที่สุด ได้แก่ ทำกิเลส เหล่านั้น โดยวิธีที่ แม้แต่ที่สุด ของวิตกเหล่านั้นก็ไม่เหลืออยู่ โดยที่สุดแม้ แต่เพียงความแตกหักไป.

ก็เธอจะทำวิตกเหล่านั้น ให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร? (ได้) ให้ถึง ความไม่มี๑ คือ ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง. มีอธิบายว่า ไม่กระทำ โดยที่ กามวิตกเป็นต้น ถูกข่มไว้แล้วอย่างสบายด้วยวิกขัมภนปหาน. ในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า เอวํภูโต มีเนื้อความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ มีอาสยกิเลสหมดจดดีแล้ว เพราะกามวิตกเป็นต้น ไม่จอดอยู่ (ในใจ) และ ชื่อว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว เพราะอาสยสมบัตินั้นด้วย เพราะประโยคสมบัติ ที่มีอาสยสมบัตินั้น เป็นนิมิตด้วย เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วใน อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราตถาคตกล่าวว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีความเพียรที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน เพราะประกอบด้วยความเพียร มี ลักษณะเผาลนกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้มี โอตตัปปะ เพราะประกอบด้วยความสะดุ้งต่อบาปโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว เพราะความสำเร็จแห่งสัมมัปธาน ๔ อย่าง ด้วย สามารถแห่งการประนอบเนืองๆ ซึ่งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาติดต่อกัน คือทั้งคืนทั้งวันติดต่อกันไป เป็นนิจนิรันดร์ ชื่อว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว คือ เป็นผู้มีจิตส่งไปแล้วสู่พระนิพพาน. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. วัตถุกามตรัสเรียกว่า เคหะ ในคำว่า เคหนิสฺสิตํ นี้ เพราะผู้ครองเรือนทั้งหลายยังสละทิ้งไม่ได้


๑ ปาฐะว่า อนภาวํ เข้าใจว่าเป็น อภาวํ จึงได้แปล ตามที่เข้าใจ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 704

คือ เพราะเป็นสภาพของผู้ครองเรือนทั้งหลาย หรือเพราะเป็นธรรมเนียม ประจำเรือน. อีกอย่างหนึ่ง. กามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า เคหนิสสิตะ เพราะ เป็นสถานที่อาศัยอยู่ หรือเป็นที่ตั้งของกิเลสกามทั้งหลาย โดยที่เป็นสิ่งผูกพัน อยู่กับเรือน. บทว่า กุมฺมคฺคํ ปฏิปนฺโน ความว่า เพราะเหตุที่ อภิชฌา เป็นต้น และธรรมที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับอภิชฌาเป็นต้น เป็นทางที่ต่ำช้า เพราะนอกทางของอริยมรรค ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยกามวิตก ชื่อว่า ดำเนิน ไปสู่ทางต่ำช้า. บทว่า โมหเนยฺเยสุ มุจฺฉิโต ความว่า สยบ คือ มัวเมา ได้แก่ หมกมุ่นอยู่แล้ว ในรูปเป็นต้น ที่เป็นไปพร้อมเพื่อโมหะ. บทว่า สมฺโพธึ ได้แก่ อริยมรรคญาณ. บทว่า ผุฏฺฐุํ ได้สัมผัส คือ ถึงแล้ว. อธิบายว่า ผู้เช่นนั้น นั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร แต่ไหนแต่ไรมา จะไม่ บรรลุธรรมเป็นที่สงบวิตกนั้น.

บทว่า วิตกฺกํ สมยิตฺวาน ความว่า ระงับมิจฉาวิตก ตามที่กล่าว แล้ว ด้วยกำลังแห่งภาวนามีปฏิสังขานะเป็นอารมณ์. บทว่า วิตกฺกูปสเม รโต ความว่า ยินดีแล้ว คือยินดีเฉพาะแล้ว โดยอัธยาศัยในอรหัตผล หรือพระนิพพานนั่นเอง ที่เป็นธรรมระงับมหาวิตกทั้ง ๘ ประการ บทว่า ภพฺโพ โส ตาทิโส ความว่า บุคคลปฏิบัติชอบอยู่ ตามที่กล่าวมาแล้ว นั้น ระงับวิตกทุกอย่างได้ ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา ในส่วนเบื้องต้น โดยอำนาจของตทังคปหานเป็นต้น ตามสมควร ดำรงอยู่ ครั้นเลื่อนวิปัสสนา ให้สูงขึ้นไปแล้ว จะเป็นผู้ควร คือ สามารถ เพื่อสัมผัสคือบรรลุ สัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยม กล่าวคือ อรหัตมรรคญาณ และกล่าวคือพระนิพพาน ตามลำดับแห่งมรรค ดังนี้แล.

จบอรรถกถาจรสูตรที่ ๑๑