พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มลสูตร ว่าด้วยมลทินภายใน ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40113
อ่าน  326

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 539

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๙. มลสูตร

ว่าด้วยมลทินภายใน ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 539

๙. มลสูตร

ว่าด้วยมลทินภายใน ๓ ประการ

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ เป็นมลทิน ภายใน (มลทินของจิต) เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 540

ภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นเพชฌฆาต เป็นข้าศึกภายใน.

โลภะให้เกิดความฉิบหาย โลภะทำจิต ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโลภะนั้นอันเกิดแล้ว ในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้ ประโยชน์นี้ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อม ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้ ขาด ย่อมไม่โลภในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อมละ เสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำ ตกไปจากใบบัวฉะนั้น.

โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำ จิตให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิด ในภายในว่าเป็นภัย คนโกรธย่อมไม่รู้จัก ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะย่อม ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้ ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริยมรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบ เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 541

โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะ ทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอัน เกิดในภายในว่าเป็นภัย คนหลงย่อมไม่ รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ ย่อมมีในขณะนั้น บุคคลใดละโมทะ ได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความ หลงได้ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ อุทัยจัดมืดฉะนั้น.

จบมูลสูตรที่ ๙

อรรถกถามลสูตร

ในมลสูตรที่สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อนฺตรา ศัพท์ ในบทว่า อนฺตรามลา นี้ มาในเหตุ เช่นใน ประโยคมีอาทิว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนา กันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และ ในถนน ส่วนเราและท่าน มีอะไรเป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 542

มีมาในขณะเช่นในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญิง คนใดคนหนึ่ง กำลังล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์ในขณะฟ้าแลบ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง มีมาในช่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธารน้ำร้อน ไหลมาจาก ช่องนรกใหญ่ ๒ ขุม. มีมาในผ้าห่ม เช่นในประโยคมีอาทิว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่ม และธงอันล้วนแล้วแต่สีเหลือง ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการสีเหลือง เธอถึง จะไม่ได้ตกแต่งด้วยผ้าสีเหลืองเลยก็งดงาม ตามธรรมชาติ.

มีมาในจิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า จิตของผู้ใดไม่มีความกำเริบ ดังนี้. แม้ในที่นี้ พึงทราบว่า อันตราศัพท์ได้ความหมายว่า ในจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้น อกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนฺตรา เพราะมีอยู่ในภายใน คือจิต. ชื่อว่า เป็นมลทิน เพราะทำความมัวหมองให้แก่สันดานที่มันเกิดขึ้น.

ขึ้นชื่อว่า มลทิน ในบทว่า อนฺตรามลา นั้นมี ๒ อย่างคือ มลทินของร่างกาย ๑ มลทินของใจ ๑ ในมลทิน ๒ อย่างนั้น มลทินของ ร่างกาย ได้แก่ เหงื่อไคลเป็นต้น เกิดแล้วในร่างกาย และลอองธุลีที่ปลิวมา จับอยู่ในร่างกายนั้น มลทินนั้น จะนำออกไปได้ก็ด้วยน้ำ (แต่) สังกิเลส หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่ (เพราะ) สังกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เป็นมลทินของจิต จะนำออกไปได้ด้วยพระอริยมรรคเท่านั้น. สมจริงดังที่พระโบราณาจารย์กล่าว คำนี้ไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นมหาฤษี นี้ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมองแล้ว คน ทั้งหลายก็จะเศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 543

แล้ว คนทั้งหลายก็จะบริสุทธิ์ แต่พระผู้- แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ตรัสไว้ว่า เมื่อจิต เศร้าหมองแล้ว คนทั้งหลายจะเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว คนทั้งหลายก็จะ บริสุทธิ์.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง จะบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า พึงปฏิบัติเพื่อชำระ มลทินแห่งจิต จึงตรัสไว้ในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินแห่งจิต เหล่านี้มี ๓ อย่างดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า ก็อกุศลมลมีโลภะเป็นต้น เหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วในจิตของสัตว์ทั้งหลาย จะทำความเศร้าหมองให้ คือจะเสริมสร้าง ความเศร้าหมองนานัปการ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทินของใจ ฉันใด โลภะเป็นต้นเหล่านั้น ก็ฉันนั้น ครั้นเกิดขึ้นในสัตว์นั่นเอง จะนำอนัตถะ นานาชนิดมาให้ จะให้เกิดทุกข์นานัปการแก่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนอมิตร และ ศัตรู ที่กินร่วมกัน นอนร่วมกัน ก็คอยหาโอกาสอยู่ฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิ ไว้ว่า อนฺตรา อมิตฺตา ดังนี้.

ในบรรดาอมิตรเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า อมิตร เพราะตรงข้ามกับมิตร ชื่อว่าเป็นศัตรู เพราะทำหน้าที่ของศัตรู ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาต เพราะเบียดเบียน ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะเป็นข้าศึกโดยตรง. ในบทว่า อนฺตรา อมิตฺตา นั้น พึงทราบความที่กิเลสมีโลภะเป็นอาทิ เป็นอมิตรเป็นต้น โดยอาการ ๒ อย่าง อธิบายว่า บุคคลผู้มีเวร เมื่อได้โอกาสก็จะตัดศีรษะของคู่เวรด้วยศาสตราบ้าง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 544

ยังอนัตถะอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นโดยอุบายบ้าง. และโลภะเป็นต้นเหล่านี้ จะยังอนัตถะเช่นนั้น หรือมีกำลังมากกว่านั้นให้เกิดขึ้นโดยการตัดรอนศีรษะ คือปัญญา ๑ โดยการมอบกำเนิดให้ ๑. อย่างไร? อธิบายว่า เมื่ออิฏฐารมณ์ เป็นต้นมาสู่คลองในจักษุทวาร ความโลภเป็นต้นจะปรารภอิฏฐารมณ์เป็นต้น เหล่านั้นเกิดตามควร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ศีรษะคือปัญญาของเรา ก็จะชื่อว่า ถูกบั่นทอนแล้ว แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบความ คล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น โดยการบั่นทอนศีรษะคือปัญญา ด้วยประการ ดังพรรณนามานี้ก่อน. แต่โลภะเป็นต้น ที่เป็นอกุศลมีกรรมเป็นเหตุ จะนำ เข้าไปสู่กำเนิดทั้ง ๔ มีอัณฑชะกำเนิดเป็นต้นเป็นประเภท ภัยอย่างใหญ่หลวง ๒๕ ประการ ที่มีการเข้าไปสู่กำเนิดเป็นมูล และกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ จะมา ถึงเขาทีเดียว. ความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น ของกิเลสมีโลภะเป็นต้น เหล่านั้น พึงทราบแม้โดยการมอบกำเนิด ๔ ให้โดยประการอย่างนี้ ดังนั้นจึง เป็นอันว่า โลภะเป็นต้น พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ด้วยคำมีอาทิว่า อนฺตรา อมิตฺตา เพราะความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมที่ เกิดขึ้นในจิต. อีกอย่างหนึ่ง ความโลภเป็นต้น ย่อมกระทำได้ ซึ่งสิ่งที่อมิตร ไม่ลามารถจะกระทำได้ และความเป็นอมิตรเป็นต้นก็เกิดจากความโลภเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบความที่อกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นอมิตรเป็นต้น. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า

จอมโจร เห็นจอมโจร หรือคู่เวร เห็นคู่เวร แล้วพึงกระทำความพินาศอันใด ให้กัน จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเลวร้าย ไปยิ่งกว่านั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 545

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ ความโลภ ชื่อว่า อนตฺถชนโน เพราะยังอนัตถะให้เกิดขึ้นแก่ตนและผู้อื่น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า คน โลภ ก่อกรรมแม้ใดด้วยกายวาจาใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล คนโลภ ถูกความ โลภครอบงำแล้ว มีจิตถูกความโลภกลุ้มรุมแล้ว ย่อมก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการฆ่า ด้วยการจองจำ ด้วยการให้เสื่อมเสีย ด้วยการ ติเตียน หรือด้วยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ใน กำลัง แม้ใด แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอันมาก ที่เกิดจาก ความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้. แม้คำอื่นก็ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่กำหนัดแล้วแล ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม แล้ว คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นบ้าง ย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส แม้ทางใจ ดังนี้.

บทว่า จิตฺตปฺปโกธโน ความว่า ยังจิตให้สะเทือน อธิบายว่า ความโลภเมื่อเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ จะยังจิตให้สะเทือน ให้หวั่นไหว ให้เปลี่ยนแปลงไป ให้ถึงความพิการเกิดขึ้นไม่ให้เป็นไปด้วย สามารถแห่งความเลื่อมใสเป็นต้น. บทว่า ภยมนิตรโต ชาตํ ตํ ชโน นาวพุชฺฌติ ความว่า พาลมหาชนนี้ จะไม่รู้สึก คือไม่รู้จัก สิ่งนั้นกล่าวคือ โลภะ. ที่เกิดขึ้นในระหว่าง คือในภายใน ได้แก่ ในจิตของตนนั่นเอง ว่าเป็นภัย คือเป็นเหตุแห่งภัย มีการเกิดอนัตถะ และความกำเริบแห่งจิตเป็นต้น. บทว่า ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ความว่า คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่รู้อัตถะ คือ ประโยชน์เกื้อกูล มีประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น ตามความจริง. บทว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ ความว่า คนผู้โลภแล้ว คือถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตถูกความโลภกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่เห็น คือไม่รู้โดยประจักษ์ แม้ซึ่งธรรม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 546

อันเป็นทางแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะได้เห็นอุตตริมนุสสธรรม (ธรรมอันยอดเยี่ยมของมนุษย์). แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำมี อาทิไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนผู้กำหนัดแล้วแล อันราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูก ราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ตามความจริงบ้าง ย่อมไม่รู้ประโยชน์ ผู้อื่นตามความจริงบ้าง ย่อมไม่รู้ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นทั้งสอง อย่างตามความจริงบ้าง ดังนี้.

บทว่า อนฺธตมํ ได้แก่ ความมืดอันกระทำความบอด. บทว่า ยํ เท่ากับ ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด. จริงอยู่ ก็บทว่า ยํ นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่า ในเวลาใด ความโลภครอบงำ คือหุ้มห่อ นรชน ในเวลานั้น จะมีความมืดมน อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํ เป็นตติยาวิภัตติ มีการประกอบความว่า เพราะเหตุทีความโลภ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมครอบงำ คือ หุ้มห่อนรชน ฉะนั้นเมื่อนั้นจะมีความมืดมน ดังนี้ เพราะ ย ต ศัพท์ มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยส่วนเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํ เป็นกิริยาปรามาส. ในบทว่า โลโภ สหเต นี้มีความว่า การครอบงำ คือการเผชิญแห่งโลภะ นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว การครอบงำ คือการเผชิญนี้นั้น คือการดำเนินไป ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งความมืด อันกระทำความบอด. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ความโลภ ย่อมครอบงำ คือเผชิญ นรชนใด ในเวลานั้น ความมืดบอด ย่อมมีแก่นรชนนั้น และต่อแต่นั้น คนโลภแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม.

บทว่า โย จ โลภํ ปหนฺตฺวาน ความว่า ในชั้นต้น บุคคลผู้ใด ละโลภะได้ด้วยสมถวิปัสสนาตามสมควร ด้วยสามารถแห่งตทังคปหาน และ วิกขัมภนปหาน แล้วจะไม่โลภในรูปเป็นต้น ที่เป็นทิพย์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 547

โลภที่ปรากฏแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งวิปัสสนาที่มีกำลัง เพราะเหตุที่ละได้ อย่างนั้น. บทว่า โลโภ ปหียเต ตมฺหา ความว่า ความโลภอันอริยมรรค ละได้ คือสลัดไปได้ ได้แก่ สละไปโดยส่วนเดียวจากพระอริยบุคคลนั้น. เหมือนอะไร? บทว่า อุทพินฺทุว โปกฺขรา ความว่า เหมือนหยาดน้ำ ที่กลิ้งออกจากใบบัว. แม้บรรดาคาถาที่เหลือ ก็พึงทราบความตามนัยนี้.

อนึ่ง พึงทราบความที่โทสะให้เกิดอนัตถะ และความที่โทสะเป็นเหตุ แห่งความเสื่อมประโยชน์ ตามแนวแห่งสุตตบท ที่มาแล้วโดยนัย มีอาทิว่า ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ทำกรรมแม้ใดด้วยกาย วาจา และใจ แม้กรรมนั้นก็ เป็นอกุศล ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโทสะ กลุ้มรุมแล้ว ยังทุกข์แม้ใดให้เกิดแก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการฆ่า การจองจำ ด้วยการให้เสื่อมเสีย ด้วยการติเตียน หรือด้วยการขับไล่ว่า ฉัน มีกำลัง ฉันตั้งอยู่ในกำลังดังนี้ แม้ทุกข์นั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ลามก มากอย่างที่เกิดแต่โทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย มีโทสะ เป็นปัจจัยเหล่านี้ จะเกิดมีขึ้นแก่เขาดังนี้. อนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ ผู้อันโทสะ ประทุษร้ายแล้วแล อันโทสะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตอันโทสะหุ้มห่อแล้ว คิด เพื่อเบียดเบียนคนบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง เสวยทุกข์ โทมนัส ทางใจบ้าง ดังนี้ อนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วแล ถูกโทสะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตอันโทสะหุ้มห่อ แล้ว ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตนตามเป็นจริงบ้าง ไม่รู้ประโยชน์ผู้อื่นตามความ เป็นจริงบ้าง ไม่รู้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริงบ้าง ดังนี้.

อนึ่ง พึงทราบความที่โมหะ ให้เกิดอนัตถะ และความที่โมหะเป็น เหตุแห่งความเสื่อมจากประโยชน์ ตามแนวแห่งสุตตบท ที่มาแล้วโดยนัยมี

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 548

อาทิว่า ผู้หลงแล้ว ทำกรรมแม้ใดด้วย กาย วาจา ใจ ดังนี้ และโดยนัย มีอาทิว่า ดูก่อนพรหมณ์ ผู้หลงแล้วแล ถูกโมหะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตถูก โมหะหุ้มห่อแล้ว คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า ผู้หลงลืม ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ตามความเป็นจริงบ้าง ดังนี้.

บทว่า ตาลปกฺกํว พนฺธนา ความว่า โทสะอันพระโยคาวจร นั้นละได้ คือสลัดออกได้จากจิต เพราะการเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณที่ ๓ เหมือน ผลตาลหล่นจากขั้ว เพราะไออุ่นเกิดขึ้น. บทว่า โมหํ วิหนฺติ โส สพฺพํ ความว่า พระอริยบุคคลนั้น ฆ่า คือกำจัด ได้แก่ ตัดขาดซึ่งโมหะทั้งหมด คือไม่ให้เหลือด้วยมรรคที่ ๔. บทว่า อาทิจฺโจ วุทยํ ตมํ ความว่า เหมือนพระอาทิตย์ อุทัย คือโผล่ขึ้น กำจัดความมืด คือ อันธการ ฉะนั้น.

จบอรรถกถามลสูตรที่ ๙