พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โลกสูตร ว่าด้วยบุคคล ๓ จําพวกอุบัติขึ้นในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40109
อ่าน  352

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 513

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๕. โลกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จําพวกอุบัติขึ้นในโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 513

๕. โลกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวกอุบัติขึ้นในโลก

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคต พระองค์นั้นทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๑ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้บุคคลที่ ๒ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 514

เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่ออประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ ยังเป็น ผู้ศึกษาปฏิบัติอยู่ มีพระปริยัติธรรมสดับมามาก ประกอบด้วยศีลและวัตร แม้พระสาวกนั้นก็แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พรอัมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๓ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูล แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติเพื่อเกื้อกูล แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระศาสดาแล ผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่ เป็นบุคคลที่หนึ่ง ในโลก พระสาวกผู้ เกิดตามพระศาสดานั้น ผู้มีตนอันอบรม แล้ว ต่อมาพระสาวกอื่นอีกแม้ยังศึกษา ปฏิบัติอยู่ ได้สดับมามากประกอบด้วยศีล และวัตร บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น เป็น ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น ส่องแสงสว่าง แสดง ธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูแห่งอมตนิพพาน ย่อมช่วยปลดเปลื้องชนเป็นอันมากจาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 515

โยคะ ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามอริยมรรค ที่พระศาสดาผู้นำพวก ผู้ยอดเยี่ยมทรงแสดงดีแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา ของพระสุตะ ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่ง ทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แท้.

จบโลกสูตรที่ ๕

อรรถกถาโลกสูตร

ในโลกสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

โลกในบทว่า โลเก นี้ มี ๓ คือ สัตวโลก ๑ สังขารโลก ๑ โอกาสโลก ๑. ในโลกทั้ง ๓ นั้น หมู่สัตว์ทั้งหลายที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ที่เป็น ไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อ แห่งรูปธรรม อรูปธรรม และทั้งรูปธรรม และอรูปธรรม ชื่อว่า สัตวโลก. โลกที่แยกประเภทออกไปเป็น พื้นดิน และภูเขาเป็นต้น ชื่อว่า โอกาสโลก. ขันธ์ทั้งหลายในโลกทั้งสอง ชื่อว่า สังขารโลก. ในโลกทั้ง ๓ นั้น ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ประสงค์เอาสัตวโลก. เพราะฉะนั้น บทว่า โลเก จึงได้แก่ สัตวโลก. แม้ในโลกเหล่านั้น บุคคล ๓ ประเภท ไม่อุบัติในเทวโลก ไม่อุบัติในพรหมโลก (แต่) อุบัติในมนุษยโลก. ถึงในมนุษยโลกก็อุบัติในจักรวาลอื่น อุบัติขึ้น ในจักรวาลนี้เท่านั้น ถึงแม้ในจักรวาลนี้ ก็ไม่อุบัติขึ้นในที่ทั่วไป พระตถาคตเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศ (ที่มีอาณาเขต) ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ รอบด้าน ๙๐๐ โยชน์ ที่กำหนดไว้อย่างนี้ คือ ด้านทิศบูรพา มีนิคม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 516

ชื่อ กชังคละ ถัดจากนั้นไปมีบ้าน ชื่อว่า มหาสารคาม ถัดจากนั้นไป เป็น ปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ด้านทิศอีสาน มีแม่น้ำ ชื่อว่า สัลลวดี ถัดจากนั้น ไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ด้าน ทักษิณ มีนิคม ชื่อว่า เสตกัณณะ ถัดจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน เป็นมัชฌิมประเทศ ด้านทิศเหนือ มีภูเขาชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ. มิใช่แต่พระตถาคตเจ้าจะเสด็จ อุบัติขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติ- มหาเถระ พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ และพราหมณ์ คฤหบดีผู้มีหลักฐาน ย่อมบังเกิดในมัชฌิมประเทศนี้เหมือนกัน ก็ในพระสูตรนี้ ได้นัยนี้ในตถาคตวาระอย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งสัพพัตถกนัย ในพระสูตร นอกนี้ ได้นัยด้วยสามารถแห่งเอกเทศนัย.

ก็แม้คำทั้งสองว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ เป็นคำที่กล่าว ให้แปลกไปเท่านั้น พึงทราบอรรถาธิบายในคำนี้อย่างนี้ว่า บุคคล ๓ ประเภท เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน มิใช่เกิดขึ้นด้วยเหตุอื่น เพราะในคำว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ใครๆ ไม่สามารถจะเปลี่ยน (ห้าม) ลักษณะแห่งศัพท์แบบนี้โดยเป็นลักษณะแห่งศัพท์แบบอื่นไปได้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลประเภทนั้น ชื่อว่าจะอุบัติ ชื่อว่ากำลังอุบัติ ชื่อว่า อุบัติแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบความแตกต่างแห่งกาล ดังนี้.

พระตถาคตเจ้า เมื่อทรงบำเพ็ญมหาภินิหาร ทรงแสวงหาพุทธการกธรรม ทรงบำเพ็ญบารมี ทรงบริจาคมหาบริจาคทั้ง ๕ ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา ยังโลกัตถจริยา พุทธัตถจริยา ให้ถึงที่สุด แล้วบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย สถิตอยู่ในดุสิตพิภพ จุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในภพสุดท้าย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 517

ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบำเพ็ญความเพียร อย่างใหญ่หลวง มีพระญาณแก่กล้าเสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทรงกำจัดมารและ พลแห่งมาร ในปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยมาในก่อน ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาสังขารทั้งปวงโดยอเนกประการ ทรงแทงตลอดโสดาปัตติมรรค จนถึงกระทำให้แจ้งพระอนาคามิผล ชื่อว่าจะอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัตมรรคจิต ชื่อว่า กำลังอุบัติ. แต่ในขณะแห่งอรหัตผลจิต ชื่อว่า เสด็จอุบัติแล้ว. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกิจคือการยังอิทธิวิธีญาณเป็นต้นให้เกิดขึ้น ตามลำดับ เหมือนพระสาวกทั้งหลาย. แต่ว่า ประมวล (กอง) พระพุทธคุณ แม้ทั้งหมด ชื่อว่าหลั่งไหลมาแล้ว พร้อมด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. เพราะฉะนั้น บุคคลทั้ง ๓ ประเภทเหล่านั้น จึงชื่อว่า อุบัติขึ้นแล้วในขณะแห่งอรหัตผลจิต เพราะกิจทุกอย่างบังเกิดแล้ว. ในพระสูตรนี้ ตรัสว่า อุปฺปชฺชติ ทรงหมายถึง ขณะแห่งอรหัตผลจิต. นี้เป็นอรรถาธิบาย ในคำว่า อุปฺปนฺโน โหติ นี้.

ถึงพระสาวกผู้ขีณาสพ สร้างสมบุญสมภารที่เป็นเหตุแห่งสาวกโพธิ- ญาณ บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อันเป็นบุรพประโยค บุรพจริยา บังเกิดใน ภพสุดท้าย รู้เดียงสาตามลำดับแล้ว เห็นโทษในสงสาร จงใจบรรพชายังบรรพชา ให้ถึงสุดยอด บำเพ็ญศีลาทิคุณเป็นต้นอยู่ ประพฤติสมาทานธุดงคธรรม หมั่น ประกอบความเพียร เครื่องตื่น ยังญาณทั้งหลายให้เกิดแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา แม้เมื่อบรรลุซึ่งมรรคเบื้องต่ำ ชื่อว่าจะอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัตมรรคจิต จึงจะชื่อว่า กำลังอุบัติ. แต่ในขณะแห่งอรหัตผลจิต ชื่อว่า อุบัติแล้ว. ส่วนพระเสกขะตั้งแต่บุรพูปนิสัย จนถึงโคตรภูญาณ ชื่อว่าจะอุบัติ ในขณะแห่งปฐมมรรคจิต ชื่อว่ากำลังอุบัติ. จำเดิมแต่ขณะแห่งปฐมผล ชื่อว่า อุบัติแล้ว. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้า กล่าวเนื้อความแห่งบททั้งหลายว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 518

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ เมื่อจะอุบัติย่อมอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้ ไว้สมบูรณ์แล้ว.

บัดนี้ ข้าพเจ้าจะวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า พหุชนหิตาย ต่อไป. บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน. บทว่า พหุชนสุขาย ความว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า อาศัยความอนุเคราะห์สัตวโลก. ถามว่า สัตวโลก ประเภทไหน?. ตอบว่า ประเภทที่สดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคตเจ้าแล้ว แทงตลอดธรรม ดื่มน้ำอมฤต.

พรหม ๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุข แทงตลอดธรรม ด้วยการแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แทงตลอดธรรม จนถึงการทรงแนะนำสุภัททปริพพาชก (ให้ได้บรรลุ) ด้วยอาการอย่างนี้ นับไม่ถ้วน สัตว์ที่ได้บรรลุธัมมาภิสมัยในฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ในเวลา ทรงแสดงมหาสมยสูตร ในเวลาทรงแสดงมงคลสูตร จูฬราหุโลวาทสูตร และ สมจิตตสูตร ไม่มีกำหนดจำนวน. ทั้งนี้ก็ด้วยความอนุเคราะห์สัตวโลก หาประมาณมิได้นั้น. การบังเกิดขึ้น แห่งพระอรหันตสาวก และพระเสขบุคคล ก็เพื่อจะอนุเคราะห์สัตวโลก. พึงทราบอรรถาธิบายเช่นนี้ ด้วยสามารถแห่งสัตว์ ผู้บรรลุปฏิเวธ ด้วยเทศนา ที่พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น และพระเถระทั้งหลาย ผู้เป็นคลังแห่งพระธรรมแสดงแล้วบ้างด้วยสามารถแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้แทงตลอด ด้วยเทศนาที่พระมหินทเถระเป็นต้นแสดงแล้วในกาลต่อมาบ้าง ด้วยสามารถ แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยคำสอน ดำรงอยู่ในทางแห่งสวรรค์ และพระนิพพาน ในอนาคตกาลจนถึงวันนี้ คือต่อแต่นี้ไป.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่คนเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงชี้หิตสุขทั้งที่เป็นปัจจุบันและสัมปรายิกภพ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 519

แก่ชนเหล่านั้น ด้วยพระปัญญาสมบัติ. บทว่า พหุชนสุขาย ความว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่คนเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงมอบให้ซึ่งอุปกรณ์แห่ง ความสุขด้วยจาคสมบัติ. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์ แก่สัตวโลก. อธิบายว่า อันชาวโลกได้รับการรักษา คุ้มครอง ดุจมารดาบิดา ด้วยเมตตาสมบัติ และกรุณาสมบัติ. บทว่า อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ ความว่า ในพระสูตรนี้ วาระแรกทรงแสดงการอุบัติขึ้นแห่ง พระตถาคตเจ้า เพื่อการบรรลุนิพพาน มรรค และผล แห่งสัตวโลกเหล่านั้น โดยถือเอาเวไนยสัตว์ ที่เป็นภัพพบุคคลนั่นแหละ ด้วยเทวศัพท์และมนุสสศัพท์ แต่ในวาระที่ ๒ และที่ ๓ คำว่า อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ พึงประกอบด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ แลพระเสกขบุคคล. บรรดาบท เหล่านั้น ด้วยบทว่า อตฺถาย นี้ มีพุทธาธิบายว่า เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง คือเพื่อพระนิพพาน. ด้วยบทว่า หิตาย มีอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่มรรค ที่จะให้สำเร็จพระนิพพานนั้น. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าประโยชน์เกื้อกุลที่จะยิ่งไปกว่า มรรคที่เป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานนั้น เป็นไม่มี. ด้วยบทว่า สุขาย มี พุทธาธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ เพราะไม่มีความสุข (อื่น) ที่จะ ยิ่งไปกว่าผลสมาบัตินั้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า สมาธินี้ เป็นทั้งความสุขในปัจจุบัน และเป็นทั้งมีสุขเป็นผล ในกาลต่อไป. เนื้อความแห่งบททั้งหลาย มีอาทิว่า ตถาคโต ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสมบูรณ์ คือ ประกอบด้วยวิชชา ๓ ตามนัยที่มาแล้ว ในภยเภรวสูตรบ้าง วิชชา ๖ มาแล้วด้วยสามารถแห่งอภิญญา ๖ บ้าง วิชชา ๘ มาแล้วในอัตพัฏฐสูตรบ้าง และจรณธรรม ๑๕ ประการ มีศีลสังวรเป็นต้น ไม่สาธารณะทั่วไปแก่สาวกอื่น. เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า วิชฺชาจรณ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 520

สมฺปนฺโน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปงดงามบ้าง เพราะเสด็จไปสู่ที่ดีบ้าง เพราะเสด็จไปโดยชอบบ้าง เพราะตรัสโดยชอบบ้าง. ทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งโลกโดยประการทั้งปวง. ทรงพระนามว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้ยอดเยี่ยมกว่า. ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ เพราะยังบุรุษที่ควรฝึก คือบุรุษที่เป็นเวไนยสัตว์ ให้ระลึกได้ ได้แก่ทรงแนะนำ. ทรงพระนามว่า สตฺถา เพราะทรงพร่ำสอนตามสมควรด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้ด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นเองโดยอาการทั้งปวง เพื่อเวไนยสัตว์ ทั้งมวล. นี้เป็นความสังเขป ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นต้นนี้. ส่วนความพิสดาร ควรถือเอาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงทรงสละวิเวกสุขอันยอดเยี่ยม ทรงแสดงธรรม ก็แลเมื่อทรงแสดงธรรม นั้น น้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่า ทรงแสดธรรม มีความงามในเบื้องต้น เป็นอาทิประการเดียว. ข้อนี้อย่างไร? คือแม้พระคาถาๆ เดียว ก็ชื่อว่ามี ความงามในเบื้องต้น ด้วยบาทแรก ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยบาทที่สอง และบาทที่สาม ชื่อว่า มีงามในที่สุด ด้วยบาทสุดท้ายเพราะมีธรรมสละสลวย ไปทุกขั้นตอน พระสูตรตอนเดียว ชื่อว่า งามในเบื้องต้น ด้วยนิทาน (คำเริ่มต้น) ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยคำนิคม (คำลงท้าย) ชื่อว่างามในท่ามกลาง ด้วยคำที่เหลือ. พระสูตร มีอนุสนธิต่างๆ กัน (หลายตอน) ชื่อว่างามใน เบื้องต้น ด้วยอนุสนธิต้น ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยอนุสนธิปลาย ชื่อว่า งามในท่ามกลาง ด้วยอนุสนธิที่เหลือ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 521

อีกประการหนึ่ง ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่างามในเบื้องต้น ศีล อันเป็นประโยชน์ของตน ชื่อว่างามในท่ามกลาง ด้วยสมถวิปัสสนามรรค และผล ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยพระนิพพาน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น ด้วยศีลและสมาธิ ชื่อว่างามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่างามในที่สุดด้วยพระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้ว ชื่อว่างามในท่ามกลาง เพราะพระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ชื่อว่างามในปริโยสาน เพราะความ ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น ด้วยอภิสัมโพธิญาณ ชื่อว่างามในท่ามกลาง ด้วยปัจเจกโพธิญาณ ชื่อว่างามในที่สุด ด้วยสาวกโพธิญาณ ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงได้บรรลุ เพราะฟังแล้วก็เป็นอย่างนั้น. และพระ ธรรมนี้ ที่บุคคลฟังอยู่ ย่อมนำความดีนั้นแหละมาให้แม้ด้วยการฟัง เพราะข่ม นิวรณ์ใด. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องต้น เมื่อปฏิบัติอยู่ย่อมนำความสุข นั้นแหละมาให้โดยแท้แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะนำความสุขอันเกิดแต่สมถะและ วิปัสสนามาให้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า งามในท่ามกลาง และผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เมื่อผลแห่งการปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมนำความงามนั่นแหละมาให้ แม้ด้วยผล แห่งการปฏิบัติ เพราะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีความ งามในปริโยสาน. อนึ่ง สารธรรมนั้น ชื่อว่า มีความงามในเบื้องต้น ด้วย ความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะเป็นแดนเกิดแห่งที่พึ่ง ชื่อว่า มีความงาม ในท่ามกลาง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งประโยชน์. ชื่อว่ามีความงามในปริโยสาน ด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 522

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันใด ย่อมทรงประกาศ ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์ ทรงแสดงโดยนัยต่างๆ กัน พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะสมบูรณ์ด้วยอรรถ ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะสมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ตามฐานานุรูป. ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะประกอบ ไปด้วยสังกาส (ทำให้รู้ชัด) ประกาศ การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ ง่าย บัญญัติ และอรรถ บท ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะสมบูรณ์ด้วย อักขระ บท พยัญชนะ อาการ นิรุกติ และนิเทศ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะเป็นของลึกซึ้งโดยอรรถ และลึกซึ้งโดยการแทงตลอด ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะเป็นของลึกซึ้งโดยธรรม และลึกซึ้งโดยเทศนา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะเป็นวิสัยของ ธรรมปฏิสัมภภทา และนิรุตติ- ปฏิสัมภิทา. พรหมจรรย์ ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของ ปริกขกชน (ปัญญาชน) เพราะเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงซ่องเสพ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สาตฺถํ พรหมจรรย์เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของโลกิยชน เพราะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อถือ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สพฺยญฺชนํ. ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะมีคำอธิบายลึกซึ้ง ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะมีบทตื้น.

พรหมจรรย์ ชื่อว่า เกวลปริปุณฺณํ เพราะบริบูรณ์ไปทั้งหมด เหตุไม่มีข้อที่จะต้องนำเข้าไปเพิ่มเติม. ชื่อว่า ปริสุทฺธํ เพราะไม่มีโทษ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องนำออกไป. อีกอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ ชื่อว่า สาตฺถํ เพราะมีความช่ำชองอันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่า สพฺยญฺชนํ เพราะมีความฉลาดในอธิบายด้วยปริยัติ. ชื่อว่า ปริปุณฺณํ เพราะบริบูรณ์ไป ด้วยธรรมขันธ์ทั้ง ๕ มีศีลเป็นต้น ชื่อว่า ปริสุทฺธํ เพราะปราศจากอุปกิเลส เพราะประพฤติเพื่อรื้อถอนกิเลส และเพราะไม่มุ่งโลกามิส. ชื่อว่า พรหมจรรย์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 523

เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติกำหนดด้วยสิกขา ๓ เพราะผู้เป็นพรหม คือผู้ประเสริฐ ที่สุด จะต้องประพฤติ และเป็นจริยาของผู้เป็นพรหมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ ฯเปฯ ปกาเสติ ดังนี้

บทว่า ปโม ได้แก่ บุคคลผู้ชื่อว่า ที่ ๑ เพราะเป็นไปตามลำดับ แห่งการนับ และเพราะเป็นผู้สูงกว่าชาวโลกทั้งปวง. บทว่า ตสฺเสว สตฺถุ สารโก ได้แก่ พระสงฆ์เช่นกับพระธรรมเสนาบดี ผู้เกิดแล้วในที่สุดแห่งการ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณตาม ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ มิใช่เป็นสาวกของพระศาสดา ด้วยเหตุแห่งการปฏิญญา เหมือนพระปูรณกัสสปเป็นต้น. บทว่า ปาฏิปโท ความว่า ชื่อว่า ปาฏิบท เพราะเกิด คือเป็นโดยอริยชาติ ด้วยอริยมรรคอันกล่าวถึงข้อปฏิบัติ อธิบายว่า มีกิจด้วยการปฏิบัติยังไม่สำเร็จ คือกำลังปฏิบัติอยู่. พระอริยบุคคล ชื่อว่า พหุสฺสุโต เพราะมีปริยัติธรรม มี สุตะ และเคยยะ เป็นต้น อันสดับ แล้วมาก. ชื่อว่า สีลวตูปปนฺโน เพราะเข้าถึง คือสมบูรณ์ ได้แก่ ประกอบ ไปด้วยศีล มีปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้น และด้วยธุดงควัตร มีการอยู่ป่า เป็นวัตรเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระธรรมเทศนา ชื่อว่า เป็น เทศนานุเคราะห์แก่ชาวโลก เพราะอัธยาศัยเกื้อกูล และพระธรรมเทศนา นั้น เนื่องในบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ข้อความที่เหลือ รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ตสฺสนฺวโย ความว่า สาวกชื่อว่าผู้ตามเสด็จ คือเกิดภายหลังพระองค์ ด้วยการคล้อยตาม ข้อปฏิบัติ และพระธรรมเทศนาของพระศาสดาพระองค์นั้น. ชื่อว่า ส่องแสงสว่าง เพราะกำจัดความมืดคืออวิชชา ส่องแสงสว่างกล่าวคือ แสงสว่างแห่ง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 524

พระธรรมในสันดานของตน และสันดานของผู้อื่น. บทว่า ธมฺมมุทีรยนฺตา ได้แก่ กล่าวจตุราริยสัจจธรรม. บทว่า อปราปุรนฺติ ความว่า ย่อมเปิด ประตูแห่งอมตะ คือ พระนิพพาน ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า โยคาความว่า จากกามโยคะเป็นต้น. บทว่า สตฺถวาเหน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่า สัตถวาหะ (ผู้นำหมู่) เพราะนำหมู่ คือ เวไนยสัตว์ คือ ขนสัตว์ ออกจากกันดาร คือ ภพ. ด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำหมู่พระองค์นั้น. บทว่า สุเทสิตํ มคฺคมนุกฺกมนฺติ ความว่า เวไนยสัตว์ย่อมคล้อยตาม คือ ปฏิบัติ อริยมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงแล้วโดยชอบ ตามแนว ทางแห่งเทศนาของพระองค์. บทว่า อิเธว ความว่า ในอัตภาพนี้เอง. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๕