พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าถึงนรก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40093
อ่าน  309

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 421

ติกนิบาต

วรรคที่ ๓

๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าถึงนรก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 421

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๓

๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าถึงนรก

[๒๔๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวคำนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายทุจริต ... เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ ได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์อื่นก็หามิได้ ก็แต่ว่า เราตถาคตรู้มาเอง เห็น มาเอง ทราบมาเอง จึงกล่าวคำนั้นแลว่า เราตถาคตเห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ผิด กล่าว วาจาผิด กระทำการงานผิดด้วยกาย ผู้มี การสดับน้อย ทำกรรมอันไม่เป็นบุญไว้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 422

ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้ เขาผู้มีปัญญาทราม เมื่อตายไป ย่อมเข้า ถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑

วรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตร

ในมิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏา มยา ความว่า สัตว์ทั้งหลายอันเราตถาคตเห็นแล้ว คือ อันเราตถาคตเห็นแล้ว ได้แก่รู้ประจักษ์แล้ว ด้วยสมันตจักษุ และทิพยจักษุ. ด้วยคำว่า ทิฏฺา มยา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคัดค้านการ ได้ฟังตามๆ กันมาเป็นต้น และความข้อนี้จักมีมาในพระบาลี ในบัดนี้แหละ. บทว่า กายทุจฺจริเตน สมนฺ นาคตา ความว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย กายทุจริต. บทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า เป็นผู้ว่าร้ายคือด่า ได้แก่ ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยที่สุดแม้พระโสดาบัน ผู้เป็นคฤหัสถ์ โดยการกล่าวตู่ที่ไม่เป็นจริง อันเป็นเหตุกำจัดคุณความดี (ของท่าน). บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา ได้แก่ ผู้มีความเห็นผิด. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานา ความว่า ผู้ได้สมาทานกรรมนานาชนิด เหตุที่มีความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 423

เห็นผิดนั่นแหละ จะสมาทานกรรมแม้อย่างอื่นอีก มีกายกรรมเป็นต้น ที่มี มิจฉาทิฏฐิเป็นมูลฐาน.

ก็เมื่ออริยุปวาทกรรม และมิจฉาทิฏฐิ พระองค์ทรงถือเอาแล้ว ด้วย ศัพท์วจีทุจริต และมโนทุจริตนั่นแหละ ในที่นี้แล้ว การตรัสซ้ำอีก ก็เพื่อจะ ทรงแสดงว่า อริยุปวาทกรรม และมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก ด้วยว่า บรรดา ๒ อย่างนั้น อริยุปวาทมีโทษมาก เท่ากับอนันตริยกรรม. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มพระอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อน สารีบุตร ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราตถาคตกล่าวว่า ผู้นั้นไม่ละวาจา นั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังนี้.

กรรมอื่นที่ชื่อว่า จะมีโทษมากว่ามิจฉาทิฏฐิ ไม่มี. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น ที่เป็นธรรม อย่างเอก ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภคำมีอาทิว่า ตํ โข ปน ไว้เพื่อ ทรงแสดงยืนยันเนื้อความตามที่ตรัสไว้ ว่าเป็นธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์เอง คำนั้นเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า มิจฺฉา มนํ ปณิธาย ความว่า ตั้งจิตไว้โดยไม่แยบคาย ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า มิจฺฉาวาจํ อภาสิย ความว่า กล่าววาจาผิด ด้วยสามารถแห่งมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า มิจฺฉา กมฺมานิ กตฺวาน ความว่า ทำกายกรรม ด้วยสามารถแห่งปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 424

มิจฺฉา มนํ ปณิธาย ความว่า ตั้งจิตไว้พลาด ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิ. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงถึงเหตุ ในการประพฤติทุจริตอย่างนั้น ของเขา.

บทว่า อปฺปสฺสุโต มีอธิบายว่า เว้นจากสุตะที่จะนำประโยชน์เกื้อกูล มาให้ตนและผู้อื่น. บทว่า อปุญฺกโร ความว่า ต่อนั้นไปนั่นเอง จะทำ ความผิด คือจะมีความชั่วเป็นธรรมดา เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรม. บทว่า อิมสฺมึ อิธ ชีวิเต ความว่า ในชีวิตอันนิดหน่อย ในโลกนี้คือ มนุษยโลก. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นาน ก็อยู่ได้เพียงร้อยปี หรือ เกินไปเล็กน้อย. และตรัสว่า มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย เพราะฉะนั้น ผู้ที่ เป็นพหูสูต มีปัญญา เร่งรีบทำบุญ แล้วจะได้ไปสวรรค์ หรือดำรงอยู่ใน พระนิพพาน. ส่วนผู้ใดศึกษาน้อย ไม่บำเพ็ญบุญ ผู้นั้นจะเป็นคนมีปัญญาทราม เข้าถึงนรก เพราะกายแตกสลายไป.

จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑