พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ตัณหาสูตร ว่าด้วยตัณหา ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40081
อ่าน  953

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 376

ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหา ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 376

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหา ๓ ประการ

[๒๓๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 377

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยตัณหา เครื่องประกอบสัตว์ไว้ มีจิตยินดีแล้วใน ภพน้อยและภพใหญ่ ชนเหล่านั้นประกอบ แล้วด้วยโยคะ คือ บ่วงแห่งมาร เป็นผู้ ไม่มีความเกษมจากโยคะ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึง ชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ส่วนสัตว์ เหล่าใดละตัณหาได้ขาด ปราศจากตัณหา ในภพน้อยและภพใหญ่ ถึงแล้วซึ่งความ สิ้นไปแห่งอาสวะ สัตว์เหล่านั้นแล ถึงฝั่ง แล้วในโลก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบตัณหาสูตรที่ ๙

อรรถกถาตัณหาสูตร

ในตัณหาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

กิเลสชาติ ชื่อว่า ตัณหา เพราะหมายความว่าทะยานอยาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าตัณหา เพราะหวั่นไหวอารมณ์มีรูปเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงแยก ตัณหานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กามตัณหา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 378

บรรดาตัณหาทั้ง ๓ นั้น ราคะที่ประกอบไปด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามตัณหา. ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะที่ สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ และความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งภวราคะ ชื่อว่า ภวตัณหา. ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาที่เหลือแม้ทั้งหมด เว้นตัณหาสองอย่างข้างหลัง ชื่อว่า กามตัณหา ทั้งนั้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ในตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหา คืออะไร? คือความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัด กล้าแห่งจิต อันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวตัณหา. ในตัณหาเหล่านั้น วิภวตัณหาคืออะไร? คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดกล้าแห่ง จิต นี้เราตถาคตเรียกว่า วิภวตัณหา. ตัณหาที่เหลือเรียกว่า กามตัณหา. ก็ตัณหาทั้ง ๓ เหล่านี้ แยกแต่ละอย่างออกเป็น ๖ โดยประเภทอารมณ์ คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา จึงเป็นตัณหา ๑๘ อย่าง ตัณหาเหล่านั้น รวมเป็น ๓๖ คือ ตัณหาในรูปภายในเป็นต้น ๑๘ ตัณหาในรูปภายนอก เป็นต้น ๑๘ ดังนั้น จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘ โดยแยกเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ (แต่) ตัณหานั้น เมื่อทำการสงเคราะห์อีก จัดโดยไม่เกี่ยวกับ การแยกประเภทตามกาล (ทั้ง ๓) ก็มี ๓๖ เท่านั้นเอง เมื่อไม่ทำการจำแนก รูป (ตัณหา) เป็นต้น ออกเป็นภายใน ภายนอก ก็จะมี ๑๘ เท่านั้น เมื่อ กระทำเพียงการจำแนกตามอารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เหลือ ๖ เท่านั้น ตัณหา เหล่านั้น เมื่อจัดโดยไม่ทำการจำแนกไปตามอารมณ์ ก็มีเพียง ๓ เท่านั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ตณฺหาโยเคน ความว่า ด้วยเครื่องผูกคือตัณหา เชื่อมความว่า ประกอบด้วยกามโยคะ และ ภวโยคะ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถูกประกอบไว้ในภพเป็นต้น เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า รตฺตจิตฺตา ภวาภเว มีจิตยินดีแล้วในภพน้อย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 379

และภพใหญ่ อธิบายว่า มีจิตข้องอยู่แล้ว ในภพน้อย และภพใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภโว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อภโว ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีจิตติดข้องอยู่ในภวาภวะ คือสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิทั้งหลาย ด้วยคำว่าภวาภวะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ภวตัณหา และวิภวตัณหา. ในธรรมฝ่ายนี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกามตัณหาอย่างเดียวไว้ ด้วยบทนี้ว่า ตณฺหาโยเคน ดังนี้. บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นอย่างที่ว่ามานี้ ถูกประกอบแล้ว คือถูกผูกไว้แล้วด้วยเครื่องผูกกล่าวคือบ่วงแห่งมาร เพราะว่า ราคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นเครื่องผูกของมาร เป็นบ่วงของมาร. สมดังที่มารกราบทูลว่า

บ่วงนี้ใดที่มีอยู่ในใจ เที่ยวไปได้ใน อากาศสัญจรไปอยู่ เราจักผูกท่านด้วยบ่วง นั้น ดูก่อนสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา ดังนี้.

เหล่าสัตว์ชื่อว่าผู้ไม่เกษมจากโยคะ เพราะยังไม่ได้บรรลุนิพพาน และ พระอรหัตที่ชื่อว่าเป็นแดนเกษมจากโยคะ เพราะถูกโยคะทั้ง ๔ ขัดขวาง ชื่อว่าชน เพราะเป็นที่เกิดกิเลส และอภิสังขารทั้งหลายติดต่อกัน ไป ชื่อว่าสัตว์ เพราะติดคือข้องอยู่ในรูปเป็นต้น จะไปสู่สงสาร กล่าวคือการ เกิดขึ้นต่อๆ แห่งขันธ์เป็นต้น ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย เรียกว่า สงสาร

คือ จะไม่พ้นไปจากสงสารนั้น. เพราะเหตุไร เพราะประกอบด้วย เครื่องผูกคือ ตัณหา. สัตว์ทั้งหลายผู้มีปกติไปสู่ความเกิดความตาย คือเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 380

ผู้มีปกติเข้าถึงความเกิด ความตายบ่อยๆ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงวัฏฏะด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึง ตรัสคาถาว่า เย จ ตณฺหํ ปหนฺตฺวาน ดังนี้. พระคาถานั้น เข้าใจง่าย อยู่แล้วเพราะนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙