พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ทุติยนกุหนาสูตร ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกําจัดจัญไร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40059
อ่าน  291

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 218

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๙. ทุติยนกุหนาสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกําจัดจัญไร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 218

๙. ทุติยนกุหนาสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร

[๒๑๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้ จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุอยู่ ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อกำหนดรู้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 219

ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์นี้ใหญ่ ผู้แสวงหา คุณใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่าใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล. จบทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยนกุหนาสูตร

ในทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อภิญฺตฺถํ ได้แก่ เพื่อความรู้ธรรมทั้งปวง โดยจำแนกมี กุศลเป็นต้น และโดยจำแนกมีขันธ์เป็นต้น โดยไม่วิปริตด้วยความรู้อันวิเศษยิ่ง. บทว่า ปริญฺตฺถํ ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้และเพื่อก้าวล่วงธรรมอันเป็นไปใน ภูมิ ๓ โดยนัยมีอาทิว่า อิทํ ทุกฺขํ นี้เป็นทุกข์ ดังนี้.

ในบทนั้น ความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เป็นวิสัยของอริยสัจ ๔. ก็การ รู้รอบ คือ การกำหนดรู้. ผิว่า การกำหนดรู้เป็นวิสัยของทุกข์สัจไซร้ พรหมจรรย์เว้นจากการตรัสรู้ด้วยปหานะ สัจฉิกิริยา และภาวนาย่อมเป็นไป ไม่ได้. พึงทราบว่า ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปหานะเป็นต้น. บทที่เหลือมีเนื้อ ความได้กล่าวไว้แล้วในสูตรตามลำดับ.

จบอรรถกถาทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙