พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ตปนียสูตร ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างเป็นเหตุให้เดือดร้อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40053
อ่าน  342

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 194

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๓. ตปนียสูตร

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างเป็นเหตุให้เดือดร้อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 194

๓. ตปนียสูตร

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างเป็นเหตุให้เดือดร้อน

[๒๐๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นเหตุให้เดือดร้อน ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ได้ ทำความดีงามไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต่อต้านความ ขลาดกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ทำอกุศลกรรมอันกล้าแข็ง บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำกรรมงามดังนี้บ้าง ย่อมเดือดร้อนว่า เราทำแต่บาปดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นเหตุ ให้เดือดร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญาทราม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และอกุศลธรรมอย่างอื่น อันประกอบด้วยโทษ ไม่ กระทำกุศลธรรม กระทำแต่อกุศลธรรม เป็นอันมาก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบตปนียสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 195

อรรถกถาตปนียสูตร

ในตปนียสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตปนียา ความว่า ธรรมชื่อว่า เป็นเหตุให้เดือดร้อน เพราะเดือดร้อน เบียดเบียน รบกวน ทั้งในโลกนี้แสะโลกหน้า. อีกอย่าง หนึ่ง ธรรมชื่อเป็นเหตุให้เดือดร้อน เพราะความเดือดร้อนเป็นทุกข์ ธรรม ทั้งหลายหนุนให้ทุกข์นั้นเกิด และให้ทุกข์นั้นเกิดกำลังทั้งในปัจจุบัน และ สัมปรายภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตปนะ เพราะเป็นเครื่องเดือดร้อน อธิบายว่า ความเดือดร้อนตามแผดเผาในภายหลัง. ชื่อว่า ตปนียา เพราะ หนุนโดยความเป็นเหตุแห่งความเดือดร้อนนั้น. บทว่า อกตกลฺยาโณ ชื่อว่า อกตกลฺยาโณ เพราะไม่ทำความดี ความเจริญ คือ บุญไว้. สอง บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทว่า อกตกลฺยาโณ นั้น. จริงอยู่ บุญท่าน เรียกว่า กัลยาณะ เพราะอรรถว่าเจริญ เพราะเกื้อกูลความเป็นอยู่ และ เพราะเป็นสุขต่อไป เรียกว่า กุศล เพราะอรรถว่า กำจัดความน่าเกลียด และความชั่วเป็นต้น เรียกว่า ต่อต้านความกลัว เพราะอรรถว่า ป้องกัน ความกลัวทุกข์ และความกลัวสงสาร. บทว่า กตปาโป ชื่อว่า ทำบาป เพราะทำ คือสั่งสมแต่ความชั่ว. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทว่า กตปาโป นั่นเอง. ก็อกุศลกรรมท่านเรียกว่า บาป เพราะอรรถว่า ลามก เรียกว่า ลุทฺธ (หยาบูชา) เพราะเป็นสภาวะร้ายกาจทั้งในขณะที่ตนยังเป็น ไปอยู่ ทั้งในขณะให้ผล และเรียกว่า กิพฺพิส (กล้าแข็ง) เพราะถูกกิเลส ประทุษร้าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโดยธัมมาธิฏฐานว่า เทฺว ธมฺมา ตปนียา ธรรม ๒ ประการเป็นเหตุให้เดือดร้อนดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงกุศลธรรมที่ยังมิได้ทำ และอกุศลธรรมที่ทำแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 196

ธรรมเหล่านั้นเป็นเหตุให้เดือดร้อน จึงตรัสว่า บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีดังนี้บ้าง ย่อมเตือนว่า เราทำแต่บาปดังนี้บ้าง ด้วยประการ ฉะนี้.

อธิบายว่า เขาย่อมเดือดร้อน ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ย่อมเศร้า โศกในภายหลัง ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ทุจริต เพราะ ประพฤติน่าเกลียด หรือประพฤติความชั่วเพราะเน่าด้วยกิเลส. ประพฤติชั่ว ทางกาย หรือประพฤติชั่วเป็นไปทางกาย ชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต มโนทุจริต ก็พึงเห็นอย่างนี้. อนึ่ง กายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ท่านประสงค์ เอากรรมบถ. บทว่า ยญฺจญฺํ โทสสณฺหิตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายถึง อกุศลกรรมอันไม่ถึงเป็นกรรมบถ. บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ และอกุศลกรรมอย่างอื่น ย่อมนับว่าเป็นกายกรรมเป็นต้น ไม่ได้โดยตรงเพราะ ยังไม่ถึงความเป็นกรรมบถ ชื่อว่าประกอบด้วยโทษ เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลส มีราคะเป็นต้น กระทำอกุศลกรรมแม้นั้น.

บทว่า นิรยํ ได้แก่ทุคติแม้ทั้งหมดที่ได้ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่า ไม่มีความยินดี หรือเพราะอรรถว่าไม่มีความพอใจ หรือนิรยทุกข์ในสุคติทั้ง หมดเพราะห้ามสุข คือ ความเจริญ. พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า บุคคล นั้น คือ บุคคลเช่นนั้นย่อมเข้าถึงเช่นนี้.

อนึ่ง ในสูตรนี้ ควรกล่าวถึงเรื่องของบุคคลเหล่านี้ คือ นันทโคฆาตกะ สองพี่น้อง คนหนึ่งชื่อ นันทยักษ์ คนหนึ่งชื่อ นันทมาณพ โดยเป็นเหตุที่ให้ เดือดร้อน เพราะกายทุจริต.

เรื่องมีอยู่ว่า สองพี่น้องนั้นฆ่าแม่โคแล้วแบ่งเนื้อออกเป็นสองส่วน. แต่นั้นคนน้องพูดกะคนพี่ว่า ฉันมีลูกมาก พี่จงให้ไส้ใหญ่เหล่าเหล่านี้แก่ฉันเถิด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 197

ทีนั้น พี่ชายพูดกะน้องชายนั้นว่า เนื้อทั้งหมดแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้ว เจ้าจะ เอาอะไรอีกเล่า จึงตีน้องชายตาย. พี่ชายหันกลับดูน้องชายเห็นตายแล้ว เกิดเสีย ใจว่าเราทำกรรมหนักนักเราฆ่าน้องชายโดยไม่ใช่เหตุเลย. พี่ชายเกิดความเดือด ร้อนอย่างแรงกล้า. เขานึกถึงกรรมนั้นทั้งในที่ยืนทั้งในที่นั่ง ย่อมไม่ได้ความ ผ่องใสใจเลย. แม้การกิน การดื่ม การเคี้ยวของเขาก็มิได้แผ่ความอร่อยไปใน ร่างกายเลย ได้ปรากฏเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น. ลำดับนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านซูบซีดเหลือเกินมีเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ท่านเป็นโรคอะไร หรือมีกรรมอะไรที่ทำให้ท่านเดือดร้อน. เขาได้สารภาพ เรื่องราวทั้งหมด. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวแก่เขาว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านทำ กรรมผิดในที่ไม่น่าจะผิดไว้หนักมาก. ด้วยกรรมนั่นแลเขาตายไปเกิดในนรก.

เดือดร้อนเพราะวจีทุจริตควรกล่าวถึงเรื่อง สุปปพุทธสักกะ โกกาลิกะ และนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น. เดือดร้อนเพราะมโนทุจริต ควรกล่าวถึงเรื่อง จุกกณะและวัสสัคคัญญะเป็นต้น.

จบอรรถกถาตปนียสูตรที่ ๓