พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มานสูตร ว่าด้วยละมานะไม่ได้ ไม่พ้นความทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40029
อ่าน  384

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 98

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๘. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะไม่ได้ ไม่พ้นความทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 98

๘. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะไม่ได้ ไม่พ้นความทุกข์

[๑๘๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้มานะ ไม่ยังจิต ให้คลายกำหนัดในมานะนั้น ยังละมานะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ ความสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้มานะ ยังจิตให้ คลายกำหนัดในมานะนั้น ละมานะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มี มานะเป็นเครื่องร้อยรัด ยินดีแล้วในภพ ไม้กำหนดรู้มานะ ต้องเป็นผู้มาสู่ภพอีก ส่วนสัตว์เหล่าใดละมานะได้แล้ว น้อมไป ในธรรมที่เป็นสิ้นนานะ สัตว์เหล่านั้น ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัดคือมานะเสียได้ ก้าวล่วงได้แล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมานสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 99

อรรถกถามานสูตร

ในมานสูตรที่ ๘ ไม่มีเรื่องที่ไม่เคยกล่าว เทศนาเป็นไปด้วยมานะล้วน.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า มานูเปตา อยํ ปชา ความว่า สัตว์เหล่านี้ได้ชื่อว่า ปชา เพราะเกิดด้วยกรรมกิเลส ประกอบด้วย มานะอันมีการคือตัวเป็นลักษณะ. บทว่า มานคณฺา ภเว รตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายถูกมานะร้อยรัด คือ ประกอบด้วยมานสังโยชน์ อบรมมาจาก มานะนั้นเป็นเวลานาน ยินดีในกามภพเป็นต้น ด้วยเหตุผิดในสังขารนั้นว่า เที่ยง เป็นสุข มีตัวตน เป็นต้น เพราะมัวหมกมุ่นในสังขารทั้งหลายว่า นี้ของเราด้วยความถือตัว. บทว่า มานํ อปริชานนฺตา ความว่า ไม่กำหนด รู้มานะนั้นด้วยปริญญา ๓ หรือไม่พ้นมานะนั้นด้วยอรหัตมรรคญาณ. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า มานํ อปริญฺาย ดังนี้. บทว่า อาคนฺตาโร ปุนพฺภวํ ความว่า เป็นผู้ต้องไปคือต้องเข้าไปสู่ภพอันจะต้องเกิดต่อไปอีก หรือสู่สงสาร อันได้แก่ภพใหม่ จากที่เกิดบ่อยๆ ด้วยการหมุนเวียนไปๆ มาๆ. อธิบายว่า ไม่พ้นไปจากภพ.

บทว่า เย จ มานํ ปหนฺตฺวาน วิมุตฺตา มานสํสเย แปลว่า ก็สัตว์เหล่าใดละมานะได้แล้ว น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นมานะ อธิบายว่า ก็สัตว์เหล่าใดละมานะเสียด้วยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรคแล้ว น้อมไป คือ น้อมไปด้วยดีในอรหัตผล หรือในนิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดมานะด้วยการ หลุดพ้นกิเลสทั้งมวล อันมีมานะนั้นเป็นตัวเอก.

บทว่า เต มานคณฺาภิภูตา สพฺพํ คณฺํ อุปจฺจคุํ แปลว่า สัตว์เหล่านั้น ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ มานะเสียไค้ ก้าวล่วงกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง ความว่า สัตว์เหล่านั้น คือ พระอรหันต์ผู้มีสังโยชน์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 100

คือ ภพสิ้นไปแล้ว ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัดคือมานะ กิเลสเครื่องผูกสัตว์ คือ มานะ ได้โดยประการทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทปหาน ตั้งอยู่ ก้าวล่วงวัฏทุกข์ได้โดย ไม่มีส่วนเหลือ.

ในสูตรนี้และในสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวถึงพระอรหัต.

จบอรรถกถามานสูตรที่ ๘