คำกล่าวทักทายของพระภิกษุที่เหมาะสม

 
Tawin
วันที่  12 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3985
อ่าน  54,848

ผมอยากจะขอความรู้ในเรื่อง ในกรณีพระภิกษุเมื่อรับไหว้ญาติโยม พระภิกษุควรจะกล่าวรับไหว้อย่างไรสำหรับญาติโยมผู้ใหญ่ สำหรับญาติโยมทั่วๆ ไป และสำหรับญาติโยมที่อ่อนอาวุโส ช่วยให้ความรู้ที่เหมาะสมด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

ตามพระวินัยบัญญัติของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อคฤหัสถ์กราบไหว้พระภิกษุไม่จำเป็นต้องรับไหว้ คือ เพียงแสดงอาการนิ่งก็พอ แต่เท่าที่เคยพบเห็นพระภิกษุบางท่านกล่าวว่า เจริญพร หรือเจริญสุข ดูแล้วไม่น่าเกลียดอะไร แต่บางท่านเมื่อคฤหัถ์ไหว้ก็ยิ้มแล้วกล่าวว่า "สวัสดีโยม" อย่างนี้ไม่เหมาะแก่สมณะสารูป พระภิกษุควรสำรวมกายวาจา จะกล่าวทักทายเหมือนคฤหัสถ์ทักทายกัน ไม่สมควร

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

ข้าพเจ้าเคยเจอพระภิกษุมาทักทายว่า " เป็นยังไง สบายดีหรือ" อกุศลจิตเกิดทันทีแต่ไม่ได้แสดงออก แต่ก็ตอบว่าสบายดี ในใจอยากถามว่าธุระอะไรของท่าน (ขณะนั้นข้าพเจ้ากำลังอยู่ในที่สาธารณะและไม่ได้ป่วย) ควรพิจารณาอย่างไร และปฎิบัติตัวอย่างไรจึงจะถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 229

๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม [๑๓๗]

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่มรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หีน ธมฺม " เป็นต้น.

ภิกษุทะเลาะกับหลานสาวนางวิสาขา

ได้ยินว่า พระเถระรูปใดรูปหนึ่งพร้อมทั้งภิกษุหนุ่ม ได้ไปสู่เรือนของนางวิสาขาแต่เช้าตรู่ ข้าวต้มประจำย่อมเป็นของอันเขาตกแต่งไว้เป็นนิตย์ เพื่อภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรือนของนางวิสาขา. พระเถระฉันข้าวต้มแล้ว ให้ภิกษุหนุ่มนั่งอยู่บนเรือนของนางวิสาขานั้น ส่วนตนได้ไปเรือนหลังอื่น. ก็โดยสมัยนั้น ธิดาของบุตรของนางวิสาขาตั้งอยู่ในฐานะของย่า ๑ ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลาย.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

นางกรองน้ำเพื่อภิกษุหนุ่มนั้น เห็นเงาหน้าของตนในตุ่ม จึงหัวเราะ. แม้ภิกษุหนุ่มมองดูนางก็หัวเราะ. นางเห็นภิกษุหนุ่มนั้นหัวเราะอยู่ จึงกล่าวว่า "คนหัวขาดย่อมหัวเราะ" ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มด่านางว่า " เธอก็หัวขาด. ถึงมารดาบิดาของเธอก็หัวขาด." นางร้องไห้ไปสู่สำนักของย่าในโรงครัวใหญ่. เมื่อนางวิสาขากล่าวว่า "นี้อะไร? แม่ " จึงบอกเนื้อความนั้น.

นางวิสาขานั้นมาสู่สำนักของภิกษุหนุ่มแล้ว พูดว่า " ท่านเจ้าข้า อย่าโกรธแล้ว. คำนั้นเป็นคำไม่หนักนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและเล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา. "

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

ภิกษุหนุ่มพูดว่า " เออ อุบาสิกา ท่านย่อมทราบความที่อาตมาเป็นผู้มีผมอันตัดแล้วเป็นต้น." การที่หลานของท่านนี้ด่าทำอาตมาว่า ' ผู้มีหัวขาด ' ดังนี้ จักควรหรือ.? " นางวิสาขาไม่ได้อาจ เพื่อให้ภิกษุหนุ่มยินยอมเลย (ทั้ง) ไม่ได้อาจเพื่อให้นางทาริกายินยอม.

ขณะนั้น พระเถระมาแล้ว ถามว่า " นี้ อะไรกัน? อุบาสิกา "ฟังความนั้นแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุหนุ่ม จึงพูดว่า " ผู้มีอายุ เธอจงหลีกไป, หญิงนี้ไม่ได้ด่าต่อเธอผู้มีผมเล็บและผ้าอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัดในท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา, เธอจงเป็นผู้นิ่งเสีย. "

ภิกษุหนุ่ม. อย่างนั้นขอรับ ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จักคุกคามกระผมทำไม? การที่นางด่ากระผมว่า ' ผู้มีหัวขาด ' จักควรหรือ?

ขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " นี้อะไรกัน? " นางวิสาขากราบทูลประพฤติเหตุนั้นตั้งแต่ต้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

พระศาสดาประทานโอวาทแก่ภิกษุหนุ่ม

พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของภิกษุหนุ่มนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า " เราคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้จะควร " ดังนี้แล้ว จึงตรัสกะนางวิสาขาว่า " วิสาขา ก็ทาริกาของท่านด่าทำสาวกทั้งหลายของเราให้เป็นผู้มีศีรษะขาด ด้วยเหตุสักว่ามีผมอันตัดแล้วเป็นต้นนั้นแล ควรหรือ? "

ภิกษุหนุ่ม ลุกขึ้นประคองอัญชลีในทันใดนั่นแล กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี. อุปัชฌาย์ของข้าพระองค์และมหาอุบาสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี. "

พระศาสดา ทรงทราบความที่พระองค์เป็นผู้อนุกูลแก่ภิกษุหนุ่มแล้ว ตรัสว่า " ชื่อว่าความเป็นคือ การหัวเราะปรารภกามคุณเป็นธรรมอันเลว. อนึ่งการเสพธรรมที่ชื่อว่าเลว และการอยู่ร่วมกับความประมาทย่อมไม่ควร " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว, ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท, ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึงเป็นคนรกโลก. "

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 14 มิ.ย. 2550

อ่านแล้วไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าใครเป็นพระโสดาบัน แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบ ทุกวันนี้ พบเห็นภิกษุทุศีลมาก แม้ในการสังฆทานหรือร่วมพิธีกรรมทางศาสนาก็พยายามระลึกถึงสงฆ์ (ไม่ใช่ภิกษุบุคคล) เพื่อไม่ให้เสื่อมศรัทธาต่อรัตนตรัยที่ ๓ ไปมากกว่านี้ ผิดถูกประการใด สหายธรรมท่านอื่นกรุณาชี้แจง

จักขอบพระคุณอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า ใครมีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จึงทรงแสดงเทศนาโดยนัยต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคลนั้นครับ อย่างที่คุณนึกถึงสงฆ์ ถูกต้องแล้วครับไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ทุศีล แต่เมื่อเป็นตัวแทนของสงฆ์ เราก็สามารถน้อมระลึกด้วยความเป็นสังฆรัตนะได้ แต่ต้องมีปัญญาและการน้อมนึกถึงสังฆรัตนะก็เป็นสิ่งที่ยากครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

พระพุทธเจ้าทรงรู้ทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่พระองค์ไม่รู้ เป็นสัพพัญญู ทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์โลกที่มีอินทรีย์อ่อน เลว ประณีต ต่างกันค่ะ ในอดีตชาติพระพุทธเจ้าเราเคยเกิดเป็นพญาช้าง จะฆ่านายพราน เห็นผ้ากาสาวะที่นายพรานห่มคิดถึงสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ฯลฯ ก็เลยไม่ฆ่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ