พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อัสสาทสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39465
อ่าน  310

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 836

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ติกวรรคที่ ๑

๖. อัสสาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 836

๖. อัสสาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละ และควรเจริญ

[๓๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อัสสาททิฏฐิ (สัสสตทิฏฐิ) ๑ อัตตานุทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ) ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการ เหล่านี้ ๓ ประการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 837

เป็นไฉน? คือ อนิจจสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละอัสสาททิฏฐิ ๑ อนัตตสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ ๑ สัมมาทิฏฐิ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการ นี้แล.

จบอัสสาทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัสสาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอัสสาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสฺสาททิฏิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อตฺตานุทิฏฺิ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ที่คล้อยตามอาตมัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง. บทว่า สมฺมาทิฏิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในองค์มรรค. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย มีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ. กัมมสกตาญาณ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

จบอรรถกถา อัสสาทสูตรที่ ๖