พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปหาตัพพสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุทิฏฐิสัมปทา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39439
อ่าน  305

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 817

ทุติยปัณณาสก์

สีติวรรคที่ ๔

๕. ปหาตัพพสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรบรรลุ ทิฏฐิสัมปทา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 817

๕. ปหาตัพพสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรบรรลุ ทิฏฐิสัมปทา

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ และโมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ ธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

จบปหาตัพพสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 818

อรรถกถาปหาตัพพสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปหาตัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏฺิสมฺปทํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค.

จบอรรถกถา ปหาตัพพสูตรที่ ๕