พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. พลสูตร ว่าด้วยกําลังพระตถาคต ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39411
อ่าน  349

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 776

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๑๐. พลสูตร

ว่าด้วยกําลังพระตถาคต ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 776

๑๐. พลสูตร

ว่าด้วยกำลังพระตถาคต ๖ ประการ

[๓๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้ ที่พระตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๖ ประการเป็นไฉน คือ ตถาคต ย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะ โดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ โดยความเป็นเหตุ มิใช่ฐานะในโลกนี้ แม้การที่ตถาคต ย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะ โดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะนี้ ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัด ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุนี้ ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัด ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ แม้การที่ตถาคต ย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตินี้ ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 777

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคต ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ แม้การที่ตถาคต ย่อมระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมพิจารณา เห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ แม้การที่ตถาคต ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่ง ตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้การที่ตถาคต ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการ นี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 778

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกำลังของตถาคต ๖ ประการเหล่านั้น หากว่าชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ. และเหตุที่มิใช่ฐานะ โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ อันตถาคตทราบชัด ด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุไซร้ ความรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันอันตถาคตทราบชัด ด้วยประการใดๆ ตถาคต ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ อันตถาคตทราบชัดด้วย ประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ อันตถาคตทราบชัด ด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 779

ย่อมพยากรณ์ ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่น ย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคต ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว แม้ซึ่งความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะ โดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าว เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตินั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้นั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ และอุบัติของสัตว์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 780

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มี ใจไม่ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่นเป็นทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล.

จบพลสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอรรถกถาพลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาสภํ านํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐสุด คือ ฐานะอันไม่หวั่นไหว. บทว่า สีหนาทํ ได้แก่ การบันลืออย่างไม่เกรงกลัว คือ บันลือในฐานะเป็นประมุข. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ ได้แก่ จักร คือญาณอันประเสริฐ คือปฏิเวธญาณ และญาณที่เหลือ. บทว่า านญฺจ านโต ได้แก่ รู้เหตุ โดยความเป็นเหตุ. บทว่า ยมฺปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ ตถาคตสฺส ความว่า ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระตถาคต. แม้ในบททั้งปวง ก็พึงทราบความอย่างนี้.

บทว่า กมฺมสมาทานานํ ได้แก่ กุศลกรรม และอกุศลกรรม ที่บุคคลตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นเอง ชื่อว่า กรรมสมาทาน. บทว่า านโส เหตุโส ความว่า ทั้งโดยปัจจัย ทั้งโดยเหตุ. บรรดาฐานะ และเหตุ ทั้งสองอย่างนั้น คติ (กำเนิดมีนรก เป็นต้น) อุปธิ (อัตตภาพ) กาล (เวลา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 781

ที่กรรมให้ผล) ปโยค (การประกอบกรรม) เป็นฐานะของวิบาก กรรมเป็นเหตุของวิบาก. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ ได้แก่ ฌาน ๔ วิโมกข์ ๘ สมาธิ ๓ อนุปุพพสมาบัติ ๙. บทว่า สงฺกิเลสํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นไป ในส่วนแห่งความเสื่อม. บทว่า โวทานํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งคุณพิเศษ. บทว่า วุฏฺานํ ได้แก่ ฌานที่คล่องแคล่วที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า แม้โวทานะ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ แม้การออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ ๑ ภวังค์ และผลสมาบัติ ๑ เพราะว่าฌานที่คล่องแคล่วชั้นต่ำๆ เป็นพื้นฐานของฌานชั้นสูงๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้น แม้โวทานะ จึงตรัสว่า เป็นวุฏฐานะ ส่วนการออกจากฌานทั้งปวง ย่อมมีได้ด้วยภวังค์. การออกจากนิโรธสมาบัติ มีได้ด้วยผลสมาบัติ. พระพุทธพจน์ว่า แม้การออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ ดังนี้ ตรัสไว้ทรงหมายการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น.

บทว่า อเนกวิหิตํ เป็นต้น ได้พรรณนาไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค. อาสวักขยญาณ ก็มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง นั่นแล ผู้ประสงค์จะทราบข้อความ อย่างพิสดาร ของญาณทั้ง ๓ แม้ข้างต้น พึงตรวจดูข้อความที่พรรณนาไว้ ในมหาสีหนาทสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย. บทว่า สมาหิตสฺส แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สมาธิ มคฺโค ความว่า สมาธิเป็นอุบาย เพื่อบรรลุฌานเหล่านี้. ความไม่มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า อสมาธิ. ทางที่ผิด ชื่อว่า กุมมัคคะ. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง กำลังพระญาณของพระตถาคต.

จบอรรถกถา พลสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรควรรณนาที่ * ๑


* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๖

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 782

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. ผัคคุณสูตร ๓. ฉฬาภิชาติยสูตร ๔. อาสวสูตร ๕. ทารุกัมมิกสูตร ๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร ๗. ปรายนสูตร ๘. อุทกสูตร ๙. นิพเพธิกสูตร ๑๐. พลสูตร และอรรถกถา.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. อนาคามิสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. มิตตสูตร ๔. ฐานสูตร ๕. เทวตาสูตร ๖. สติสูตร ๗. สักขิสูตร ๘. พลสูตร ๙. ปฐมฌานสูตร ๑๐. ทุติยฌานสูตร และอรรถกถา.