พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อุทกสูตร ว่าด้วยบุคคล ๖ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39409
อ่าน  341

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 756

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๘. อุทกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 756

๘. อุทกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก

[๓๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไป ในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวโกศล ชื่อ ทัณฑกัปปกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันเข้าไปสู่นิคม ชื่อ ทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป ได้ไปที่แม่น้ำอจิรวดี เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้ว ก็ขึ้นมา นุ่งอันตรวาสกผืนเดียว ยืนผึ่งตัวอยู่.

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถามว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวง ด้วยพระหฤทัยแล้ว หรือหนอ จึงพยากรณ์พระเทวทัตว่า พระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำหนดรู้โดยปริยาย บางประการเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ดังนี้ ท่านพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 757

อานนท์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพยากรณ์อย่าง นั้นแล.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์กับภิกษุหลายรูป ได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงเสร็จแล้ว ก็ขึ้นมา นุ่งอันตรวาสกผืนเดียว ยืนผึ่งตัวอยู่ ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ แล้วถามว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวง ด้วยพระหฤทัยแล้ว หรือหนอ จึงได้ทรงพยากรณ์ พระเทวทัตว่า พระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำหนดรู้ โดยปริยาย บางประการเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ ได้กล่าวกับภิกษุนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพยากรณ์ อย่างนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุรูปนั้น จักเป็นภิกษุใหม่บวชไม่นาน หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด เพราะว่า ข้อที่เราพยากรณ์แล้ว โดยส่วนเดียว จักเป็นสองได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณา เห็นบุคคลอื่น แม้คนหนึ่ง ที่เราได้กำหนดรู้เหตุทั้งปวง ด้วยใจแล้วพยากรณ์อย่างนี้ เหมือนพระเทวทัตเลย ก็เราได้เห็นธรรมขาว ของพระเทวทัต (ส่วนดี) แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออก จากปลายขนทรายเพียงใด เราก็ยังไม่พยากรณ์ พระเทวทัตเพียงนั้นว่า พระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ แต่ว่าเมื่อใด เราไม่ได้เห็นธรรมขาว ของพระเทวทัต แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออก จากปลายขนทราย เมื่อนั้น เราจึงได้พยากรณ์ พระเทวทัตนั้นว่า พระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 758

ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถ เป็นที่ถ่ายอุจจาระ ลึกชั่วบุรุษ เต็มด้วยคูถ เสมอขอบปากหลุม บุรุษพึงตกลงไป ที่หลุมคูถนั้น จมมิดศีรษะ บุรุษบางคน ผู้ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ปรารถนาความเกษม จากการตกหลุมคูถของบุรุษนั้น ใคร่จะยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น พึงมา เขาเดินรอบหลุมคูถนั้นอยู่ ก็ไม่พึงเห็นอวัยวะ ที่ไม่เปื้อนคูถ ซึ่งพอจะจับเขา ยกขึ้นมาได้ แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออก จากปลายขนทราย ของบุรุษนั้น ฉันใด เราก็ไม่ได้เห็นธรรมขาว ของพระเทวทัต แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออก จากปลายขนทราย ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อนั้น เราจึงได้พยากรณ์ พระเทวทัตว่า พระเทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ถ้าว่าเธอทั้งหลาย จะพึงฟังตถาคตจำแนกญาณ เครื่องกำหนดรู้ อินทรีย์ของบุรุษไซร้.

อา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลควร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงทรงจำแนกญาณ เครื่องกำหนดรู้ อินทรีย์ของบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับจาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจ บุคคลนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคล นี้แล หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้น เฉพาะหน้า กุศลมูลที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะกุศลมูลนั้น กุศลอย่างอื่นของเขา จักปรากฏด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนเมล็ดพืช ที่ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลม และแดดเผา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 759

เกิดในต้นฤดูหนาว เก็บไว้ดีแล้ว อันบุคคลปลูก ณ ที่ดิน อันพรวนดีแล้ว ในที่นาดี เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชเหล่านี้ จักถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคนโนโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจ บุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้น เฉพาะหน้า แต่กุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะกุศลมูลนั้น กุศลอื่นของเขา จักปรากฏ ด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษ ด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะอกุศลมูลนั้น อกุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลม และแดดเผา เกิดในต้นฤดูหนาว เก็บไว้ดีแล้ว อันบุคคลปลูก ณ ที่ศิลาแท่งทึบ เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชเหล่านี้ จักไม่ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 760

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะอกุศลมูลนั้น อกุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา ฉันนั้น เหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจ กำหนดรู้ญาณ เป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า ธรรมขาวของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออกจากปลายขนทราย ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วย อกุศลธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนเมล็ดพืช ที่หักเน่า ถูกลม และแดดแผดเผา อันบุคคลปลูก ณ ที่ดิน ซึ่งพรวนดีแล้ว ในนาดี เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชนี้ จักไม่ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า ธรรมขาวของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วย อกุศลธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจ กำหนดรู้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 761

ญาณ เป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการ อย่างนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสามารถบัญญัติบุคคล ๓ จำพวก นี้ออกเป็นส่วนละ ๓ อีกหรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้น เฉพาะหน้า แต่กุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ กุศลมูลนั้น ก็ถึงความถอนขึ้น โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนถ่านไฟ ที่ไฟติดทั่วแล้ว ลุกโพลงสว่างไสว อันบุคคลเก็บไว้บนศิลาทึบ เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้ จักไม่ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือน เมื่อพระอาทิตย์ตกไป ในเวลาเย็น เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างจักหายไป ความมืดจักปรากฏ.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือน ในเวลาเสวยพระกระยาหาร ของราชสกุลในเวลาเที่ยงคืน เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างหายไปหมดแล้ว ความมืดได้ปรากฏแล้ว.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 762

อกุศลธรรมปรากฏขึ้น เฉพาะหน้า แต่กุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาด มีอยู่ กุศลมูล แม้นั้น ก็ถึงความถอนขึ้น โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา ฉันนั้น เหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจ บุคคลด้วยใจ แม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณ เป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการ อย่างนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาด มีอยู่ อกุศลมูลแม้นั้น ก็ถึงความเพิกถอนขึ้น โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักไม่เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนถ่านไฟ ที่ไฟติดทั่ว แล้วลุกโพลง สว่างไสว อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้ จักถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือน เมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมา ในเวลารุ่งอรุณ เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดจักหายไป แสงสว่างจักปรากฏ.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือน ในเวลาเสวยพระกระยาหาร ของราชสกุลในเวลาเที่ยงวัน เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดหายไปหมดแล้ว แสงสว่างได้ปรากฏแล้ว.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 763

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ หายไป กุศลธรรม ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูล ที่เขายังตัดไม่ขาด มีอยู่ อกุศลมูล แม้นั้น ก็ถึงความเพิกถอนขึ้น โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้ จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไป เป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจ แม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณ เป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษด้วยใจ แม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการ ฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจ บุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้ มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจ อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออกจากปลายขนทราย ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรม ที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพาน ในปัจจุบันทีเดียว เปรียบเหมือนถ่านไฟ ที่เย็น มีไฟดับแล้ว อันบุคคลเก็บไว้ บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้ จักไม่ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคล บางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้ประมาณเท่าน้ำ ที่สลัดออกจากปลายขนทราย ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรม ที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพาน ในปัจจุบันทีเดียว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 764

ฉันนั้น เหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจ แม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณ เป็นเครื่องทราบอินทรีย์ ของบุรุษด้วยใจ แม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป ด้วยใจ แม้ด้วยประการ ฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างต้น คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เกิดในอบาย ตกนรก ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างหลัง คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา.

จบอุทกสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอุทกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อญฺตโร ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต. บทว่า สมนฺนาหริตฺวา ได้แก่ น้อมนึก. ภิกษุนั้น ถามเรื่องนี้ ก็ด้วยความประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเพราะทรงทราบ หรือไม่ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เป็นเอกังสิกพยากรณ์ (ตรัสตอนโดยส่วนเดียว) หรือว่า ตรัสเป็นวิภัชชพยากรณ์ (จำแนกตอบ).

บทว่า อปายิโก ได้แก่ บังเกิดในอบาย. บทว่า เนรยิโก ได้แก่ ไปสู่นรก. บทว่า กปฺปฏฺโ ได้แก่ จักดำรงอยู่ (ในนรก) ตลอดกัป เพราะได้ทำกรรม ที่เป็นเหตุให้ดำรงอยู่ ตลอดกัปไว้. บทว่า อเตกิจฺโฉ ได้แก่ ไม่สามารถจะแก้ไขได้. บทว่า เทฺวชฺฌํ ได้แก่ ภาวะเป็นสอง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 765

บทว่า วาลคฺคโกฏิ นิตฺตุทนมตฺตํ ได้แก่ ความดีที่พอจะแสดงได้ ด้วยปลายขนทราย หรือความดีเพียงที่เอาปลายขนทราย จดลง.

บทว่า ปุริสินฺทฺริยญาณานิ ได้แก่ ญาณ เป็นเครื่องรู้ความยิ่ง และความหย่อนแห่งอินทรีย์ ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย อธิบายว่า ญาณ เป็นเครื่องน้อมนึกถึง ความที่อินทรีย์ทั้งหมด แก่กล้า และอ่อน.

บทว่า วิชฺชมานา กุสลาปิ ธมฺมา อกุสลาปิ ธมฺมา ความว่า เราตถาคตรู้อยู่ว่า กุศลธรรม (ของบุคคลนี้) มีอยู่เท่านี้ อกุศลธรรมมีอยู่เท่านี้. บทว่า อนฺตรหิตา ได้แก่ ถึงการมองไม่เห็น. บทว่า สมฺมุขีภูตา ได้แก่ เกิดปรากฏ ด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น. บทว่า กุสลมูลํ ได้แก่ อัธยาศัยที่เป็นกุศล. บทว่า กุสลา มูลา กุสลํ ความว่า กุศลแม้ อย่างอื่น ก็จักบังเกิดจากอัธยาศัย ที่เป็นกุศลนั้น. บทว่า สาราทานิ ได้แก่ ถือเอาสาระได้ คือ มีสาระบุคคลถือเอาได้ หรือ บังเกิดในเดือนสารท. บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ รวมเก็บไว้ดี. บทว่า สุกฺเขตฺเต ได้แก่ ในนาที่สมบูรณ์ด้วยปุ๋ย. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ที่หว่านลง. บทว่า สปฺปฏิภาคา ได้แก่ ที่เห็นสม. บทว่า อภิโทสอฑฺฒรตฺตํ ได้แก่ ในเวลาใกล้กึ่งราตรี คือ เมื่อเที่ยงคืน ปรากฏเฉพาะหน้า. บทว่า ภตฺตกาลสมเย ได้แก่ ในสมัย กล่าวคือ เวลาเสวยพระกระยาหาร ของราชตระกูลทั้งหลาย.

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความเสื่อม เป็นธรรมดา.

ตอบว่า พระเจ้าอชาตศัตรู เพราะว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงเสื่อมจากมรรคผล เพราะอาศัยบาปมิตร ฝ่ายบุคคลผู้อื่น มีพระเจ้าสุปปพุทธะ และสุนักขัตตะ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบ เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 766

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา.

ตอบว่า สุสิมะปริพพาชก และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็นเช่นนี้.

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอย่างนี้ว่า จักปรินิพพาน.

ตอบว่า สันตติมหาอำมาตย์ และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็นเช่นนี้.

จบอรรถกถา อุทกสูตรที่ ๘