พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร ว่าด้วยเหตุให้ลาสิกขา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39407
อ่าน  313

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 741

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๖. จิตตหัตถิสารีปุตตสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ลาสิกขา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 741

๖. จิตตหัตถิสารีปุตตสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ลาสิกขา

[๓๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น ภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ที่ โรงกลม ได้ทราบว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 742

ในที่ประชุมนั้น ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เมื่อพวกภิกษุผู้เถระ กำลังสนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เมื่อภิกษุผู้เถระกล่าวสนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นระหว่าง ขอท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร จงรอคอยจนกว่า ภิกษุผุ้เถระสนทนากัน ให้จบเสียก่อน.

เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าว อย่างนี้แล พวกภิกษุผู้เป็นสหายของ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิตะว่า แม้ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ย่อมรุกราน ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร (เพราะว่า) ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นบัณฑิต ย่อมสามารถกล่าว สนทนาอภิธรรมกถา กับพวกภิกษุผู้เถระได้ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบ วาระจิตของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นดุจสงบเสงี่ยม เป็นดุจอ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัย พระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใด เขาหลีกออกไปจากพระศาสดา หลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวน ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนโค ที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ด้วยเชือก หรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคเคยกินข้าวกล้าตัวนี้จักไม่ลงกินข้าวกล้าอีก ณ บัดนี้ ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ โคที่เคยกินข้าวกล้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 743

ตัวนั้น พึงดึงเชือกขาด หรือแหกคอกแล้ว ลงไปกินข้าวกล้าอีกทีเดียว ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจสงบเสงี่ยม เป็นดุจอ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อยตลอดเวลา ที่อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่า เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา หรือหลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวน ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เขากล่าวว่า เราได้ปฐมฌาน (แต่) คลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่. (ลูกเห็บ) ตกลงที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พึงยังฝุ่นให้หายไป ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า บัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์ หรือโค และสัตว์เลี้ยง พึงเหยียบย่ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งแห่งโน้น หรือลม และแดด พึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝุ่นพึงปรากฏอีกทีเดียว ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึก มาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 744

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้ได้ทุติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ ตกลงที่สระใหญ่ใกล้บ้าน หรือนิคม พึงยังทั้งหอยกาบ และหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวด และกระเบื้องให้หายไป ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ หอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด และกระเบื้อง จักไม่ปรากฏในสระโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบ หรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์ หรือโค และสัตว์เลี้ยง พึงดื่มที่สระแห่งโน้น หรือลม และแดด พึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ทั้งหอยกาบ และหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวด และกระเบื้อง พึงปรากฏได้อีกทีเดียว ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ย่อมสาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เขาย่อมกล่าวว่า เราไค้ตติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนอาหารค้างคืน ไม่พึงชอบใจแก่บุรุษ ผู้บริโภคอาหารประณีต ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ อาหารจักไม่ชอบใจแก่บุรุษ ชื่อโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบ หรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ อาหารอื่นจักไม่ชอบใจแก่บุรุษผู้โน้น ผู้บริโภคอาหารประณีต ตลอดเวลาที่โอชารสแห่งอาหารนั้น จักดำรงอยู่ในร่างกายของเขา แต่เมื่อใด โอชารสแห่งอาหารนั้น จักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้น พึงเป็นที่ชอบใจเขาอีก ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 745

ในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีอุเบกขา เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่า เราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยังคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำ ในที่ไม่ถูกลม ปราศจากคลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ คลื่นจักไม่มีปรากฏ ที่ห้วงน้ำแห่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ ลมฝนที่แรงกล้า พึงพัดมาจากทิศตะวันออก ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้น ที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ลมฝนที่แรงกล้า พึงพัดมาจากทิศตะวันตก... จากทิศเหนือ... จากทิศใต้ ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้น ที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่า เราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยังคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขา มาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราได้เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต แต่ยังคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลีด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา หรือมหาอมาตย์ของพระราชา มีจตุรงคเสนา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 746

เดินทางไกล ไปพักแรมคืน อยู่ที่ป่าทึบแห่งหนึ่ง ในป่าทึบแห่งนั้น เสียงจักจั่น เรไร พึงหายไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ ที่ป่าทึบแห่งโน้น เสียงจักจั่นเรไร จักไม่มีปรากฏอีก ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ เมื่อใดพระราชา หรือมหาอมาตย์ของพระราชา พ้นไปจากป่าทึบแห่งนั้น เมื่อนั้น เสียงจักจั่น เรไร พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตสมาธิ อัน ไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขากล่าวว่า เราได้เจโตสมาธิอัน ไม่มีนิมิตแล้ว แต่ยังคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลี ด้วยหมู่ ปล่อยจิตไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์.

สมัยต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น พวกภิกษุ ผู้เป็นสหายของบุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ ถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขา มาเป็นคฤหัสถ์ หรือเทวดาทั้งหลาย ได้แจ้งเนื้อความนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร ด้วยใจว่า เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ แม้เทวดา ก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ลำดับนั้น พวกภิกษุ ผู้เป็นสหายของบุรุษ ชื่อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 747

จิตตหัตถิสารีบุตร ได้พากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และได้ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร จักระลึกถึงคุณ แห่งเนกขัมมะได้.

ครั้งนั้น ไม่นานเท่าไร บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ก็ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้ ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเทียวเข้าถึงอยู่ ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ก็แหละ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบจิตตหัตถิสารีปุตตสูตรที่ ๖

อรรถกถาจิตตหัตถิสารีปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในจิตตหัตถิสารีปุตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิธมฺมกถํ ได้แก่ กถาเจือด้วยอภิธรรม. บทว่า กถํ โอปาเตติ ความว่า (พระจิตตหัตถิสารีบุตร) กล่าวถ้อยคำของตนตัดคำพูด ของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า เถรานํ ภิกฺขูนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมาย แห่งตติยาวิภัตติ. มีความหมายว่า กับด้วยภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระเถระ. อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 748

มีความหมายว่า อภิธรรมกถาของพระเถระทั้งหลาย อันใด แม้พระจิตตหัตถิสารีบุตรนี้ ก็สามารถกล่าว อภิธรรมกถานั้นได้. บทว่า เจโตปริยายํ ได้แก่ วาระจิต. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า โสรตโสรโต คือ เป็นผู้สงบเสงี่ยม เหมือนบุคคลผู้สงบเสงี่ยม อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคล ผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า นิวาตนิวาโต คือ เป็นผู้ถ่อมตน เหมือนบุคคลผู้ถ่อมตน อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประพฤติถ่อมตน. บทว่า อุปสนฺตุปสนฺโต คือ เป็นผู้สงบระงับ เหมือนบุคคลผู้สงบระงับ.

บทว่า วปกสฺสเตว สตฺถารา ได้แก่ หลีกไปจากสำนักพระศาสดา. บทว่า สํสฏฺสฺส ได้แก่ คลุกคลี ด้วยการคลุกคลี ๕ อย่าง. บทว่า วิสฏฺสฺส ได้แก่ ถูกปล่อย. บทว่า ปากฏสฺส ได้แก่ มีอินทรีย์ปรากฏ. บทว่า กิฏฺาโท ได้แก่ กินข้าวกล้า. บทว่า อนฺตรธาเปยฺย ได้แก่ พึงให้ฉิบหาย. บทว่า โคปสู ได้แก่ โค และแพะ. บทว่า สิปฺปิสมฺพุกํ ได้แก่ หอยนางรม และหอยโข่ง. บทว่า สกฺขรกถลํ ได้แก่ ก้อนกรวด และกระเบื้อง. บทว่า อาภิโทสิกํ ได้แก่ ของกินปรุงด้วยหญ้า กับแก้ อันมีโทษปรากฏ แล้ว. บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่พึงชอบใจ. บททุติยาวิภัตติที่ว่า ปุริสํ ภุตฺตาวึ นั้นใดในสูตรนั้น บทนั้น พึงเห็นว่า ใช้ในความหมาย แห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า อมุญฺหาวุโส ปุริสํ ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุรุษโน้น.

บทว่า สพฺพนิมุตฺตานํ ได้แก่ นิมิตว่าเที่ยงทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธึ ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนา ที่มีพลัง. บทว่า จีริฬิยสทฺโท ได้แก่ เสียงจิ้งหรีด. บทว่า สริสฺสติ เนกฺขมฺมสฺส ได้แก่ จักระลึกถึงคุณของบรรพชา. บทว่า อรหตํ อโหสิ ได้แก่ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในระหว่างพระอรหันต์ ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 749

แท้จริง พระเถระนี้ เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง. เพราะเหตุไร? ได้ยินว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้กล่าว สรรเสริญคุณ ในความเป็นคฤหัสถ์ แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เพราะกรรมนั้น นั่นแล ทั้งที่เมื่ออุปนิสัยของอรหัตผล มีอยู่แท้ๆ ท่านก็เร่ร่อนไป ในความเป็นคฤหัสถ์ และการบรรพชา (บวชแล้วสึก) ถึง ๗ ครั้ง บวชในครั้งที่ ๗ จึงได้บรรลุอรหัตผลแล

จบอรรถกถา จิตตหัตถิสารีปุตตสูตรที่ ๖