พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทานสูตร ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39384
อ่าน  318

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 628

ปฐมปัณณาสก์

เสขปริหานิยวรรคที่ ๔

๗. ทานสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 628

๗. ทานสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ

[๓๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกา ชื่อ นันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเป็นประมุข พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นอุบาสิกา ชื่อ นันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะถวาย ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา ชื่อ นันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑ กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้ เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑ นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทักษิณาทาน ที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล การถือประมาณ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 629

บุญแห่งทักษิณาทาน ที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า หวังบุญห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล ที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือน การถือเอาประมาณ แห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะ เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะ หรือเท่านี้แสนอาฬหกะ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทร ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำ ที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียว ฉะนั้น.

ทายกก่อนแต่จะให้ทาน เป็นผู้ดีใจ กำลังให้ทานอยู่ ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ครั้น ให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ นี้เป็นยัญสมบัติ ปฏิคาหก ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตถึงพร้อม แห่งยัญ ทายกต้อนรับปฏิคาหก ด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้น ย่อมมีผลมาก เพราะตน (ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก) ทายกผู้มีปัญญา มีศรัทธาเป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุข ไม่มีความเบียดเบียน.

จบทานสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 630

อรรถกถาทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ เป็นชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ. บทว่า ฉฬงฺคสมนฺนาคตํ ความว่า ประกอบไปด้วยองค์คุณ ๖ ประการ. บทว่า ทกฺขิณํ ปติฏาเปติ ความว่า ถวายทาน. บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัส ตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน. อธิบายว่า บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สฺมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทาน ด้วยข้าวกล้า ที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิด ความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน. ส่วนมุญจนเจตนา (ความตั้งใจสละ) ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ ย่อมยังจิตให้ผ่องใส ดังนี้ ย่อมมีได้ ในเวลาให้ทานเท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ ว่า ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตปลาบปลื้ม ดังนี้ ย่อมมีแก่ ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อๆ มา.

บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ. บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทา ที่เป็นเหตุนำราคะออกไป. และเทศนานี้ เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพ อย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุด แม้สามเณรผู้ถือภัณฑะ บวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้ว ย่อมชื่อว่า ประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวช เพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.

ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา. บทว่า สญฺตา ความว่า สำรวมแล้ว ด้วยความสำรวม คือ ศีล. บทว่า สยํ อาจมยิตฺวาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 631

ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า. บทว่า สเกหิ ปาณิภิ ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี. บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจาก ความตระหนี่ในลาภ เป็นต้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ เทวโลก ที่ปราศจากทุกข์ มีแต่สุข และโสมนัสอันโอฬาร.

จบอรรถกถา ทานสูตรที่ ๗