พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยอนุสติ ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39372
อ่าน  317

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 587

ปฐมปัณณาสก์

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๕. อนุสสติฏฐานสูตร

ว่าด้วยอนุสสติ ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 587

๕. อนุสสติฏฐานสูตร

ว่าด้วยอนุสสติ ๖ ประการ

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไป จากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยากนี้ เป็นชื่อของ เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 588

นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสสตินี้ให้ เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ทำสีลานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้น แม้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 589

ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยากนี้ เป็นชื่อของ เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล.

จบอนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนุสสติฏฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุสฺสติฏฺานานิ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งอนุสติ. บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าได้ให้พิสดาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทั้งนั้น. บทว่า อิทมฺปิ โข ภิกฺขเว อารมฺมณํ กริตฺวา ความว่า กระทำพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ให้เป็นอารมณ์. บทว่า วิสุชฺฌนฺติ ความว่า ถึงพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ข้อความที่เหลือ ในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น. ก็ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุสสติกัมมัฏฐาน ๖ อย่างไว้คละกัน.

จบอรรถกถา อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕