พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ตติยอาชานิยสูตร ว่าด้วยองค์ธรรมของม้าอาชาไนยและของภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39352
อ่าน  321

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 525

ปฐมปัณณาสก์

อาหุเนยยวรรคที่ ๑

๗. ตติยอาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมของม้าอาชาไนย และของภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 525

๗. ตติยอาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมของม้าอาชาไนย และของภิกษุ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ของพระราชาในโลกนี้ ย่อมอดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ถึงพร้อมด้วยฝีเท้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ นี้แล ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ อดทนต่อธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบตติยอาชานิยสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 526

อรรถกถาตติยอาชานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในตติยอาชานิยสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า.

จบอรรถกถา ตติยอาชานิยสูตรที่ ๗