พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สีวถิกาสูตร ว่าด้วยโทษของป่าช้าและคนเหมือนป่าช้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39340
อ่าน  304

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 500

ปัญจมปัณณาสก์

ทุจริตวรรคที่ ๕

๙. สีวถิกาสูตร

ว่าด้วยโทษของป่าช้า และคนเหมือนป่าช้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 500

๙. สีวถิกาสูตร

ว่าด้วยโทษของป่าช้า และคนเหมือนป่าช้า

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในป่าช้า ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นที่ไม่สะอาด ๑ มีกลิ่นเหม็น ๑ มีภัยเฉพาะหน้า ๑ เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ร้าย ๑ เป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในป่าช้า ๕ ประการ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นผู้ไม่สะอาด ป่าช้านั้นเป็นที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

กิตติศัพท์ที่ชั่วของเขา ผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมฟุ้งไป เรากล่าวข้อนี้ เพราะเขาเป็นผู้มีกลิ่นเหม็น ป่าช้ามีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบฉันนั้น.

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเว้นไกลซึ่งบุคคลนั้น ผู้ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด เรากล่าวข้อนี้ เพราะเขามีภัยเฉพาะหน้า ป่าช้ามีภัยเฉพาะหน้า แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบฉันนั้น.

เขาประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกับบุคคลผู้เสมอกัน เรากล่าวข้อนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 501

เพราะเขาเป็นที่อยู่ของสิ่งร้าย ป่าช้าเป็นที่อยู่ของมนุษย์ร้าย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก เห็นเขา ผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาดแล้ว ย่อมรำพันทุกข์ว่า โอ เป็นทุกข์ของพวกเรา ผู้อยู่ร่วมกับบุคคลเห็นปานนี้ เรากล่าวข้อนี้ เพราะเขาเป็นที่รำพันทุกข์ ป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการ นี้แล.

จบสีวถิกาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสีวถิกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสีวถิกาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีวถิกาย คือ ในป่าช้า. บทว่า อาโรทนา คือ สถานที่ร่ำไห้. บทว่า อสุจินา คือ น่าเกลียดชัง.

จบอรรถกถา สีวถิกาสูตรที่ ๙