พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ทุจริตสูตร ว่าด้วยโทษแห่งทุจริตและคุณแห่งสุจริต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39331
อ่าน  302

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 495

ปัญจมปัณณาสก์

ทุจริตวรรคที่ ๕

๑. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งทุจริต และคุณแห่งสุจริต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 495

ทุจริตวรรคที่ ๕

๑. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งทุจริต และคุณแห่งสุจริต

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียนได้ ๑ กิตติศัพท์อันชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมไม่เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการ นี้แล.

จบทุจริตสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 496

ทุจริตวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาทุจริตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุจริตสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุจฺจริเต นี้ ท่านกล่าวไม่แยกประเภท. บทเป็นต้นว่า กายทุจฺจริเต ท่านกล่าวแยกประเภท โดยเป็นกายทวาร เป็นต้น. บทว่า สทฺธมฺมา ได้แก่ จากกรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า อสทฺธมฺเม ได้แก่ ในอสัทธรรม คือ อกุศลกรรมบถ.

จบอรรถกถา ทุจริตสูตรที่ ๑