พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. พหุปการสูตร ว่าด้วยอุปการธรรมของเจ้าอาวาส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39323
อ่าน  316

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 488

ปัญจมปัณณาสก์

อาวาสกวรรควรรณนาที่ ๔

๔. พหุปการสูตร

ว่าด้วยอุปการธรรมของเจ้าอาวาส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 488

๔. พหุปการสูตร

ว่าด้วยอุปการธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่หักพัง ๑ ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญ เป็นสมัยทำบุญ ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส.

จบพหุปการสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 489

อรรถกถาพหุปการสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในพหุปการสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขณฺฑผุลฺลํ ได้แก่ สถานที่ชำรุดหักพัง. บทว่า ปฏิสงฺขโรติ ได้แก่ ทำให้เป็นปกติดังเดิม. บทว่า อาโรเจติ นี้ ท่านกล่าวโดยตระกูล ที่เขาปวารณาไว้แล้ว.

จบอรรถกถา พหุปการสูตรที่ ๔