พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยสัปปสูตร ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39317
อ่าน  310

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 483

ปัญจมปัณณาสก์

ทีฆจาริกวรรควรรรนาที่ ๓

๑๐. ทุติยสัปปสูตร

ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 483

๑๐. ทุติยสัปปสูตร

ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นสัตว์มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ มีสองลิ้น ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ มีสองลิ้น ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโทษ ๕ ประการนั้น ความที่มาตุคามเป็นผู้มีพิษร้าย คือ โดยมากมาตุคามมีราคะจัด ความที่มาตุคามเป็นผู้มีสองสิ้น คือ โดยมากมาตุคามมีวาจาส่อเสียด ความที่มาตุคาม เป็นผู้มักประทุษร้ายมิตร คือ โดยมากมาตุคาม มักประพฤตินอกใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐

จบทีฆจาริกวรรคที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 484

อรรถกถา ทุติยสัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โฆรวิโส คือ มีพิษร้ายกาจ. บทว่า ทุชิวฺโห คือ มีลิ้น สองแฉก. บทว่า โฆรวิสตา คือ เพราะเป็นสัตว์มีพิษร้าย. แม้ในสองบท ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถา ทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐

จบทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร ๓. อภินิวาสสูตร ๔. มัจฉรสูตร ๕. ปฐมกุลุปกสูตร ๖. ทุติยกุลุปกสูตร ๗. โภคสูตร ๘. ภัตตสูตร ๙. ปฐมสัปปสูตร ๑๐. ทุติยสัปปสูตร และอรรถกถา.