พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทันตกัฏฐสูตร ว่าด้วยคุณและโทษการใช้และไม้ใช้ไม้สีฟัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39291
อ่าน  309

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 457

ปัญจมปัณณาสก์

กิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑

๘. ทันตกัฏฐสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษ การใช้และไม่ใช้ไม่สีฟัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 457

๘. ทันตกัฏฐสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษ การใช้และไม่ใช้ไม่สีฟัน

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ตาฟาง ๑ ปากเหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี ๑ เสมหะย่อมหุ้มห่ออาหาร ๑ อาหารย่อมไม่อร่อยแก่เขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ตาสว่าง ๑ ปากไม่เหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี เสมหะย่อมไม่หุ้มห่ออาหาร ๑ อาหารย่อมอร่อยแก่เขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม่สีฟัน ๕ ประการ นี้แล.

จบทันตกัฏฐสูตรที่ ๘

อรรถกถาทันตกัฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทันตกัฏฐสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจกฺขุสฺสํ ได้แก่ ไม่ทำการเกื้อกูลแก่จักษุ คือ ไม่ทำจักษุให้ใส.

จบอรรถกถา ทันตกัฏฐสูตรที่ ๘