พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. วินิพันธสูตร ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39289
อ่าน  336

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 453

ปัญจมปัณณาสก์

กิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑

๖. วินิพันธสูตร

ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 453

๖. วินิพันธสูตร

ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 454

กระหาย ผู้ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกใจ ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุใด ฉันอาหารจนอิ่มตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 455

ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใด หมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้แล.

จบวินิพันธสูตรที่ ๖

อรรถกถาวินิพันธสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในวินิพันธสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เจตโส วินิพนฺธา ได้แก่ กิเลสชื่อว่า เจตโสวินิพันธะ เพราะผูกจิตยึดไว้ ดุจทำไว้ในกำมือ. บทว่า กาเม ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. บทว่า รูเป คือ ในรูปภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถํ ได้แก่ เท่าที่ตนปรารถนา. บทว่า อุทราวเทหกํ ได้แก่ อาหารที่เต็มท้อง อาหารที่เต็มท้องนั้น เรียกกันว่า อุทราวเทหกํ เพราะบรรจุเต็มท้องนั้น. บทว่า เสยฺยสุขํ ได้แก่ ความสุขโดยการนอน บนเตียง หรือตั่ง หรือความสุขตามอุตุ [อุณหภูมิ]. บทว่า ปสฺสสุขํ ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้น เหมือนความสุขของบุคคล ผู้นอนพลิกไปรอบๆ ทั้งข้างขวา ทั้งข้างซ้าย ฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุขํ คือ ความสุขในการหลับ. บทว่า อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบขวนขวายอยู่. บทว่า ปณิธาย แปลว่า ปรารถนาแล้ว. จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ศีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน. การสมาทาน คือถือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 456

วัตร ชื่อว่าวัตร. การประพฤติตบะ ชื่อว่า ตบะ การงดเว้นเมถุน ชื่อว่า พรหมจรรย์. บทว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็นเทพผู้ใหญ่ หรือ. บทว่า เทวญฺตโร วา ความว่า หรือจักเป็นเทพผู้น้อยองค์ใด องค์หนึ่ง.

จบอรรถกถา วินิพันธสูตรที่ ๖